พระสมเด็จ เนื้อปูนเพชร สีแดง ว่านสบู่เลือด 003
รายละเอียด :
พระสมเด็จเนื้อปูนเพชรสร้างขึ้นหลายวาระ มีทั้งเนื้อปูนเพชรล้วนๆ(มีผงพุทธคุณของหลวงปูโตด้วย) เนื้อปูนดิบ เนื้อปูนสุกและเนื้อปูนเพชร และเนื้อปูนดิบผสมเนื้อปูนเพชร เนื้อปูนเพชรนำมาจากเมืองจีนเพื่อมาสร้างถ้วยชามเบญจรงค์ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญเห็นว่าปูนเพชรมีความแข็งแกร่งเลยนำมาสร้างพระสมเด็จด้วย
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ ด้านหลังกดพิมพ์เจดีย์
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ หลังเจดีย์
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ ด้านหลังเป็นรูปเจดีย์ พุทธลักษณ์ทรงพิมพ์งดงามมาก...เรื่องประวัติ แต่ว่ามีผู้สนใจใคร่รู้ถึงประวัติพระองค์นี้
พระสมเด็จที่มีความงดงาม และเป็นที่นิยมมากที่สุด เป็นพิมพ์ที่แกะโดยหลวงวิจารเจียรนัย ซึ่งเป็นช่างทองวังหลวง จัดสร้างถวาย เริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2408 เริ่มแรกมี 2 พิมพ์ (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพิมพ์ใหญ่) และสร้างเพิ่มเติมอีก 4 พิมพ์ ได้แก่
◾พิมพ์เจดีย์ 1 พิมพ์
◾พิมพ์ใหญ่ ชายจีวรบาง ฐานแซม 1 พิมพ์ (มีผ้าทิพย์)
◾พิมพ์ใหญ่ ชายจีวรเส้นลวด 1 พิมพ์
◾พิมพ์ใหญ่ ชายจีวรหนา 1 พิมพ์
ในปี พ.ศ. 2410 เมื่อสมเด็จโตทำบุญอายุครบ 80 ปี ได้ถวายแม่พิมพ์เพิ่มอีกคือ
◾พิมพ์เส้นด้าย 1 พิมพ์
◾พิมพ์เจดีย์ 1 พิมพ์
◾พิมพ์ใหญ่ ชายจีวรบาง 1 พิมพ์
รวมแล้วแม่พิมพ์พระสมเด็จที่หลวงวิจารเจียรนัยแกะถวายสมเด็จโต ที่บันทึกไว้มี 9 แม่พิมพ์ (พิมพ์ใหญ่ 6 พิมพ์ พิมพ์เจดีย์ 2 พิมพ์ และพิมพ์เส้นด้าย 1 พิมพ์) ไม่รวมพิมพ์ปรกโพธิ์ ที่แกะแม่พิมพ์ถวายในปี พ.ศ. 2412 (ใบโพธิ์เลื้อยข้างละ 9 ใบ) และนำไปพิมพ์พระบางขุนพรหมอีกด้วย อาจจะมีเอกสารอื่นที่สามารถระบุยืนยันพิมพ์พระสมเด็จ ที่หลวงวิจารเจียรนัยแกะถวายมากกว่านี้อีก
วัสดุที่ใช้ในการสร้างพิมพ์
ดินเผา ไม้จันทน์ หินอ่อน หินลับมีดโกน ปูนขาว โลหะ ฯลฯ ในปัจจุบันพิมพ์แม่แบบเหล่านี้หาดูไม่ได้แล้ว จากคำบอกเล่าของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) ว่า “ เมื่อท่านสิ้น พิมพ์พระสมเด็จส่วนหนึ่งจะอยู่ที่วัดระฆัง อีกส่วนก็กระจัดกระจายไปอยู่กับลูกศิษย์บ้าง ชาวบ้านในละแวกนั้นบ้าง ไม่ได้เก็บรักษาไว้ตามที่ควร ภายหลังทราบว่าวัดได้ทำลายพิมพ์เหล่านั้นจนสิ้น ด้วยเหตุแห่งมีการปลอมแปลงกันมาก ”
การพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง วัดบางขุนพรหม และวัดไชโย นอกจากการพิจารณาพิมพ์พระที่ถูกต้องตรงกับแม่พิมพ์เป็นหลักแล้ว จะต้องพิจารณามวลสาร และสีขององค์พระที่สอดคล้องกับพิมพ์พระ อายุความเก่าแก่ของเนื้อพระ และองค์ประกอบอื่น ๆเช่น รอยตัดขอบพระ (พระสมเด็จวัดระฆังจะตัดขอบหลังจากแกะพระออกจากพิมพ์แล้ว จึงตัดจากด้านหน้าไปด้านหลังเป็นหลัก ส่วนพระสมเด็จบางขุนพรหม จะตัดขอบขณะพระยังอยู่ในแม่พิมพ์ จึงตัดจากด้านหลังไปด้านหน้า แต่จะมีบ้างที่ตัดจากด้านหน้ามาด้านหลังเป็นส่วนน้อย พิมพ์เกศไชโยจะตัดขอบจากด้านหน้า และมีการลูบขอบพระหลังการตัดให้มน) การยุบหดตัวของมวลสารและเนื้อพระ ที่ทำให้เกิดร่องรอยบนผิวพระ ความตื้นลึกของระดับพื้นผิวพระ ความหนาและน้ำหนักขององค์พระ โดยเฉพาะพระสมเด็จบางขุนพรหม จะต้องพิจารณาสภาพผิวและธรรมชาติของคราบกรุด้วย องค์ประกอบทั้งหมดจะต้องถูกต้องครบถ้วนเป็นความสมบูรณ์ของพระสมเด็จ จึงจะถือว่าเป็นพระสมเด็จที่แท้จริง
มวลสารที่เป็นส่วนประกอบหลัก
มวลสารที่ใช้ผสมเป็นเนื้อพระของพระสมเด็จโต ประกอบด้วย
◾ผงพุทธคุณทั้ง ๕ อันได้แก่
◾ผงอทธิเจ มีอานุภาพในทางเมตตา มหานิยม
◾ผงปัตถมัง มีอานุภาพในทางคงกระพันชาตรี
◾ผงตรีนิสิงเห มีอานุภาพในทางมหาเสน่ห์
◾ผงพุทธคุณ มีอานุภาพในทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยม
◾ผงมหาราช มีอานุภาพในทางมหาอำนาจ เสริมบารมี
ผงเหล่านี้สมเด็จโตเก็บรวบรวมจากผงปูนดินสอ (ดินสอพอง) ที่ท่านเขียนอักขระ ยันต์คาถาลงบนแผ่นกระดานชนวน และได้บริกรรมท่องคาถาในขณะที่ท่านเขียนจนจบแล้ว ก็จะลบอักขระ เลขยันต์ต่างๆ แล้วเริ่มต้นเขียนใหม่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ ผงปูนที่ได้จากการลบกระดานชนวน จะเก็บสะสมไว้จนมากพอ ก็จะนำมาเป็นมวลสารหลักของการสร้างพระสมเด็จ
◾ไม้มงคลและว่านต่างๆ (ในบางพิมพ์) ได้แก่ ดอกสวาท ดอกกาหลง ดอกรักซ้อน ดอกกาฝากรัก ดอกชัยพฤกษ์ ดอกว่านนกคุ้ม ดอกว่านนางล้อม ดอกว่านเสน่ห์จันทน์ขาว , เสน่ห์จันทน์แดง ดอกว่านนางกวัก ว่านพระพุทธเจ้าหลวง ใบพลูร่วมใจ ใบพลูสองหาง ผงเกสรบัวทั้ง ๕ และเกษร ๑o๘◾ดินอาถรรพ์ ได้แก่ดินเจ็ดโป่ง ดินเจ็ดป่า ดินเจ็ดท่า ดินเจ็ดสระ ดินหลักเมือง ดินตะไคร่เจดีย์ ดินตะไคร่รอบโบสถ์ ดินตะไคร่ใบเสมา ดินกระแจะปรุงหอม
◾เปลือกหอย นำมาเผาและตำบดเป็นผงเนื้อปูน และผงเปลือกหอยที่ไม่ผ่านการเผา
◾ใบลานคัมภีร์ที่ชำรุด นำมาเผาและตำบดเป็นผง
◾อาหารและข้าวสุกที่แบ่งมาจากการฉัน ท่านจะนำไปตากแห้ง แล้วนำมาตำจนเป็นเม็ดเล็กๆ กล้วยน้ำหว้าสุก กล้วยหอมจันทน์ (รวมถึงผลขนุนสุก ที่ทำให้เนื้อพระมีสีอมเหลือง) ซึ่งจะนำมาตำรวมกับมวลสารต่าง ๆ เพื่อให้เนื้อพระมีความเหนียวเกาะติดกันในขณะที่กดพิมพ์พระ
◾น้ำพุทธมนต์จากแหล่งต่างๆ
◾น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเคี่ยวจนเหนียว หรือน้ำมันตังอิ๊วในการสร้างพระสมเด็จยุคหลัง
◾เกสรและดอกไม้บูชาตากแห้ง นำมาตำบดเป็นผง
◾ผงถ่านที่ได้จากการเผาแม่พิมพ์ไม้ที่แตกชำรุด ผงถ่านก้านธูปและเถ้าธูปบูชาพระ
◾ผงตะไบพระรูปหล่อต่างๆ (ทองแดง เงิน ทอง) ผงเหล็กไหล
◾ผงที่ได้จากการตำบดพระดินเผา จากกรุกำแพงเพชรที่ชำรุดแตกหัก
◾พระธาตุแก้ว ขนาดเม็ดเล็กและเป็นผงพระธาตุ มีทั้งเนื้อแก้วใส สีขาวขุ่น สีอำพัน สีแดงใส สีแดงเข้ม
เนื้อพระสมเด็จ
เนื้อพระสมเด็จ หมายถึงส่วนประกอบหลัก และสีขององค์พระ (นอกเหนือจากผงวิเศษทั้ง ๕ และผงปูนเปลือกหอยเผา ที่ต้องมีทุกองค์) จัดแบ่งได้ดังนี้
◾เนื้อสีเขียวก้านมะลิ (ขาวอมเขียว) ซึ่งมีส่วนผสมของตะไคร่จากใบเสมา ผงใบลาน
◾เนื้อสีขาวอมเหลือง (สีดอกจำปา) ซึ่งมีส่วนผสมของข้าวสุก ผงเกสร อาจจะมีกล้วยหอมจันทน์ ขนุนเพิ่มด้วย
◾เนื้อสีขาวตุ่น (ขาวอมเทา) ซึ่งมีส่วนผสมของข้าวสุก ผงเกสร ผงเถ้าใบลาน
◾เนื้อสีขาวด้าน ซึ่งมีส่วนผสมของผงปูนเปลือกหอยที่ไม่เผา ทำให้เห็นเป็นจุดวาวทั่วองค์พระ
◾เนื้อสีขาวนวล ซึ่งมีส่วนผสมอื่น ๆ ที่ไม่ทำให้เนื้อปูนเปลี่ยนสีไปจากเดิม (รวมถึงเนื้อพระบางขุนพรหม ที่แก่ปูนเปลือกหอย และมีมวลสารน้อย)
◾เนื้อสีน้ำตาลไหม้ ผิวมะกอกสุก ซึ่งมีส่วนผสมของผงใบลานไหม้ และเกสร ๑o๘ จำนวนมาก ทำขึ้นครั้งเดียวขณะเป็นพระราชปัญญาภรณ์
◾เนื้อสีน้ำตาลอ่อน มีส่วนผสมของน้ำผึ้งเพิ่ม (พิมพ์ฐานแซม)
◾เนื้อผงใบลาน สีเทาดำ และสีน้ำตาลดำ ซึ่งมีขี้เถ้าใบลานทำให้เกิดสีเทา และผงใบลานที่ไหม้ทำให้เกิดสีน้ำตาล
◾เนื้อสีแดงกวนอู ซึ่งมีส่วนผสมของว่านสบู่เลือดเพิ่ม ทำครั้งเดียวเพื่อแจกทหารไปปราบเงี้ยว พ.ศ. ๒๔o๒ สีชมพูแดง มีเม็ดขาวกระจายทั่วทั้งองค์
◾เนื้อสีผงแป้งกระแจะเจิมหน้า ซึ่งมีส่วนผสมของเนื้อว่านต่าง ๆ และเพิ่มน้ำอ้อยเคี่ยว สีขาวอมเทา
◾เนื้อผงดำ ซึ่งใช้ถ่านที่ได้จากการเผาแม่พิมพ์ไม้ที่ชำรุดตำผสมเป็นหลัก จะเห็นเม็ดขาวกระจายทั่วทั้งองค์ (พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ฐานแซม)
◾เนื้อเศษอาหาร จะใช้ข้าวสุกตำผสมกับกล้วยและน้ำอ้อยเคี่ยว ทำขึ้นสองครั้ง( หลายพิมพ์) มีสีดอกจำปา
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ จัดแบ่งประเภทตามแม่พิมพ์ได้ ดังนี้
◾พิมพ์ชายจีวรบาง ชายจีวรเส้นเล็ก เป็นผืนบางระหว่างข้อศอก และหัวเข่าด้านซ้าย
◾พิมพ์ชายจีวรหนา ชายจีวรเส้นหนา ระหว่างข้อศอกและหัวเข่า ด้านซ้าย
◾พิมพ์ชายจีวรเส้นลวด ชายจีวรเส้นนูนเล็ก (เล็กกว่าเส้นบาง) ระหว่างข้อศอกและหัวเข่า ด้านซ้าย
ส่วนพิมพ์ที่มีเส้นผ้าทิพย์แซมอยู่ใต้ตัก ปัจจุบันจะเรียกว่า พิมพ์ใหญ่พระประธาน
บทความ ธรรมมณี แห่งเสน่ห์
2015-06-30
โทร:
ราคา: 3 บาท
สถานะ: เปิดขาย