จำนวนคนอ่านล่าสุด 957 คน

หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ Phra Kring Pawareth book


หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ Phra Kring Pawareth book

หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ Phra Kring Pawareth book

หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ Phra Kring Pawareth book

หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ Phra Kring Pawareth book

หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ Phra Kring Pawareth book

หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ Phra Kring Pawareth book

หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ Phra Kring Pawareth book


รายละเอียด :

หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศ Phra Kring Pawareth book

     หนังสือเกี่ยวกับพระกริ่งตระกูลปวเรศและพระชัยวัฒน์องค์เล็กนี้ผู้เขียนจะนำข้อมูลจากประสบการณ์ในการศึกษาและแสวงหาพระกริ่งตระกูลนี้เพื่อเผยแพร่ความจริงแก่ผู้ที่สนใจสะสมพระกริ่งปวเรศอันเป็นการศึกษาและแสวงหาข้อมูลด้วยตนเองพร้อมๆกับกลุ่มผู้นิยมสะสมจำนวนหนึ่งในหลายภาคของประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  โบราณคดี จดหมายเหตุ ราชกิจจานุเบกษา และหลักฐานจากตัวพระกริ่งเองที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันทั้งในทางศิลปวิทยา วิวัฒนาการสร้าง วิวัฒนาการการออกแบบ การตบแต่งต่างๆ รวมถึงเนื้อหามวลสารที่ใช้หล่อพระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์องค์เล็ก นำมาผ่านกระบวนการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ตามหลักฐานเท่าที่พอมีอยู่และอ้างอิงได้นำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลประกอบเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ หนังสือพระกริ่งตระกูลปวเรศเล่มนี้ถือได้ว่าเป็นหนังสือเล่มแรกในเมืองไทยที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระกริ่งปวเรศมากที่สุด มีจำนวนภาพประกอบมากที่สุด ภาพประกอบหลายๆภาพไม่เคยปรากฎในหนังสือเล่มใดมาก่อน อนึ่งเนื่องจากพระกริ่งตระกูลปวเรศเป็นพระกริ่งที่สร้างโดยราชสำนักสยาม จัดสร้างเป็นการภายใน และมอบให้แก่บุคคลชั้นสูงเท่านั้น ข้อมูลต่างๆ จึงไม่มีการเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปให้ได้รับทราบมาเป็นเวลานานนับร้อยปี อีกทั้งมีหลากหลายพิมพ์ทรง มีการสร้างหลายปีและหลายวาระติดต่อกันมาก ภาพและประวัติที่ยังไม่ถูกเปิดเผยบางส่วนยังคงมีอีก ยังคงต้องทำการค้นคว้าและศึกษากันต่อไป ในส่วนแรกของหนังสือจะกล่าวถึงพระกริ่งปวเรศ ในส่วนต่อมาจะกล่าวถึงพระชัยวัฒน์องค์เล็ก ภาพและเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้อาจจะยังไม่สมบูรณ์ที่สุดแต่ก็พอจะเป็นแนวทางสำหรับการสะสมและศึกษาต่อไปได้
      พระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์องค์เล็ก มีการสร้างหลากหลายพิมพ์ทรงจนเรียกได้ว่าเป็นตระกูลปวเรศ พระกริ่งปวเรศเป็นพระกริ่งที่จัดสร้างโดยช่างสิบหมู่ตั้งแต่ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงปลายรัชกาลที่ 5 ( พ.ศ.2393 – พ.ศ. 2445 ) ความเข้าใจในเรื่องพระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์องค์เล็กนั้นพึงเข้าใจว่าเป็นพระกริ่งในราชสำนัก  เป็นพระกริ่งที่เกิดขึ้นมาในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ในสมัยนั้นยังมีการแบ่งเป็นวังหลวง อันเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน วังหลวงทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมือง เก็บภาษีอากร ดูแลกิจการค้า การต่างประเทศ ดูแลหัวเมืองประเทศราชต่างๆ และแบ่งเป็นวังหน้า ที่ประทับของมหาอุปราช ในตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล วังหน้ามีหน้าที่ออกรบเป็นทัพหน้า มีบทบาททางการทหารมาอย่างยาวนาน วังหน้ามีรายได้ถึงหนึ่งในสามของรายได้แผ่นดิน อนึ่งวังหน้ายังมีช่างสิบหมู่จำนวนมาก และมีความชำนาญในการหล่อพระพุทธรูป หล่ออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ  ในสมัยที่สยามประเทศยังมีประเทศราชและมีเมืองขึ้นที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยราชอาณาจักรสยามมากมาย แผ่นดินสยามตอนนั้นกว้างขวางใหญ่โตกว่าปัจจุบันมาก กินดินแดนไปจนถึง  เชียงตุง แคว้นสิบสองปันนา ดินแดนตอนใต้ของจีน แผ่นดินลาว เขมร มลายูบางส่วน สมัยนั้นยังคงมีการส่งบรรณาการจากหัวเมืองและประเทศราชเหล่านั้นเป็นประจำ มีการติดต่อกับชาวต่างชาติและมีชาวต่างชาติเข้ามารับราชการทั้งในวังหลวงและวังหน้ามากมาย มีการรับเทคโนโลยีมาจากชาวตะวันตก เช่น การหล่อปืนใหญ่ การทำเหรียญกษาปณ์ การต่อเรือ  และอื่นๆ ดังนั้นกล่าวได้ว่าความเจริญทางเทคโนโลยีมีมากแล้ว มีการติดต่อระหว่างกันและกันระหว่างเจ้านายหรือขุนนางชั้นสูงในเมืองหลวงกับเจ้านายหรือขุนนางตามหัวเมืองเป็นประจำและมีการติดต่อกับประเทศราชต่างๆ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 จากข้อมูลในจดหมายเหตุหรือราชกิจจานุเบกษามีข้อมูลบันทึกการติดต่อระหว่างหัวเมืองต่างๆ การไปมาหาสู่กันและกันระหว่างเจ้าเมืองประเทศราชกับพระเจ้าแผ่นดินหรือขุนนางชั้นสูงเป็นประจำ ทำให้พระกริ่งปวเรศ และพระชัยวัฒน์องค์เล็ก กระจายไปอยู่ในความครอบครองตามหัวเมืองต่างๆเป็นคำรบแรก  และในสมัยรัชกาลที่ 5 ยังมีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชพิธีมากมายซึ่งหลาย
 
     พระราชพิธีก็ไม่เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน  มีพระราชพิธีหรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์และพระมหากษัตริย์มากมาย เจ้านายในสมัยนั้นก็มีจำนวนมากทั้งมาจากสายราชตระกูล ราชนิกูล วังหลวง วังหน้า วังหลัง มีจำนวนเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในสมัยนั้นนับร้อยพระองค์ ในพระราชพิธีเหล่านั้น มีการใช้พระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ในพระราชพิธีต่างๆด้วย บ่งบอกได้ว่า พระกริ่งและพระไชยวัฒน์มีความสำคัญและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อนึ่งหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2475 พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในประเทศไทย เป็นอีกช่วงหนึ่งที่พระกริ่งปวเรศ พระชัยวัฒน์องค์เล็ก กระจายไปอยู่ในส่วนต่างๆของประเทศเป็นคำรบสอง  จากการที่เจ้านาย ขุนนาง ที่เคยมีอยู่ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ถูกลดบทบาทลงหรือหมดหน้าที่ มีการโยกย้าย เดินทางออกไปอยู่ต่างจังหวัด ตามหัวเมืองต่างๆ  เชื้อสายเจ้านาย ขุนนาง ที่สืบต่อกันมาจนถึงลูกหลานในหัวเมืองใหญ่ต่างๆ ได้ครอบครองพระเครื่อง พระกริ่งปวเรศ หรือพระชัยวัฒน์เหล่านั้น โดยไม่ทราบประวัติความเป็นมา และหลุดออกมาสู่สาธารณชน  นอกจากนี้ยังมีพระกริ่งปวเรศ พระชัยวัฒน์องค์เล็กบางส่วนที่หลุดออกมาจากกรุต่างๆ เมื่อมีการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์โบสถ์หรือวังเจ้านายต่างๆที่ผ่านมาในอดีต บริบทเหล่านี้มีส่วนสำคัญยิ่งที่จะเข้าใจถึงความเป็นมาของพระกริ่งปวเศและพระชัยวัฒน์องค์เล็ก อันมีปรากฎในปัจจุบันว่ามีผู้ครอบครองหรือมีแหล่งที่มาจากหลายภาคของประเทศไทยอันจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป

  This book is about Phra Kring Pawareth family ( Ringing Amulet )  and Phra Chaiwat ( Ringing  Amulet  but smaller dimension than Phra Kring ) in the new study, the author will bring his experience in studying and seeking to spread the truth to general reader  who interested in Phra Kring Pawareth for accumulation purpose, Normally the story of Phra Kring Pawareth not found in textbook. This  study sought  information  from the author himself  together with the group of people who accumulated Phra Kring Pawareth in many regions of the country.The new study of Phra Kring Pavareth and Phra Chaiwat studied from amount of historical evidence, archaeological ,archives gazette,government gazette and evidence from the ringing  amulet  itself is closely linked to both the evolution created ,evolution designed and various refurbishment.Include content  material of Phra Kring Pawareth and Phra Chaiwat had been proved from the validation process, as well as scientific evidence available and had analyzed the data to wrote content  of this book. This book  is regarded as the first book  in Thailand to provide information about  Phra Kring Pawareth family and Phra Chaiwat.There are many illustrations and many pictures that never appeared in any book before.Furthermore,Phra Kring Pawareth family and Phra Chaiwat  are created by the Royal craftsman of Siam ( created internally purpose ) and  presented to aristocracy level only.Therefore,there is no information or dissemination to the public for over a hundred of years. Phra Kring Pawareth and Phra Chaiwat has variety of types ( Type = Pim ) and also created  in several times. All the history of Phra Kring Pawareth and Phra Chaiwat has not yet to be revealed.Thus, it needs to be researched more in the future.
 
             Phra Kring Pawareth  was created  in basis of making holy water for Buddism ceremony  by the will of Somdejkromprapawarethwariyalongkorn ( the 8th pope of Thailand ) which designed and created by the royal craftsman of viceroy.Thus, the implementation design and creation  was made from viceroy only.Therefore,the data of casting  process or details of creating do not appear in the archives gazette or in the government gazette  and no official record for any given query. Only some of the text that appears in the gazette or archives related with  Phra  Kring is holy water cover or holy water pot only.Creating Phra Kring Pawareth was early from the year 2394 B.E , performed by skilled technicians  from the viceroy among the royal palace craftsman by using casting  texts to create Phra Kring Pawareth and using specific tools to make and refurbishment. The talisman of Phra Kring Pawareth also used the same family with the earlier built  Phra Chaiwat  which created  by royal palace craftsman. After the year 2408 B.E to the year 2434 B.E Wat Borwornniweth began to participate in the creation of Phra Kring Pawareth with viceroy. Phra Kring Pawareth which created after year 2408 B.E. is considered to be a complete formula of bronze casting. The complete formula makes a beautiful surface.There are 3 kinds of bronze skin color. 1 ; Skin color is out of the red or ruby.It so called Samritdej. 2 ; Skin color is yellow to amber.It so calledSamritchok. 3 ;Skin color is off white or silver.It so called Sumritsak.Phra Kring Pawareth had been participated Phutthaphisek ceremony by the famous monks, through Buddha’s  grace into Phra Kring and all the ceremony under the patron of the vinceroy.Therefore,Phra Kring Pawareth became strong  Buddha’s grace.Phra Kring Pawareth looks beautiful outside and the inside filled  with grace. So, Phra Kring Pawareth is worth for accommulation.
 
           Phra Chaiwat was created  by the royal palace craftsman under the will of the King,especially the King Rama 5,His majesty had the will to make small souvenirs for prince or princess  who went to study abroad as a memorial worship.Therefore,the detail of creating was recorded clearly in the government gazette. Phra Chaiwat also had been participated  Phutthaphisek ceremony by the famous monks, through Buddha’s  grace into Phra Chaiwat  and all the ceremony under the patron of  the King.Eventhrough Phra Chaiwat is amaller than Phra Kring but same Budda’s grace and it  is also worth for accommulation.
 
袍瓦烈与拍猜
拍劲袍瓦烈药师佛(Phra Kring Pawareth)与拍猜越(Phra Chaiwat)的这本书,作者先引入两尊佛的经历和研究。为了把这两尊佛的来历分享给有兴趣者以及全泰国的各个部落的收藏家们,本书从历史、考古学、泰国国家档案、政府公报等相关资料以及跟拍劲(Phra Kring)本身有关的资料联系到文艺、艺术、创建演变、进化设计、装饰等方面甚至包括铸造此尊佛的原料含量(圣物)。根据所有的资料与参考文件通过科学调查的过程而得到的结果将作为这本书的有力背景材料。
关于介绍拍劲的书,此书算是泰国全国开篇之作,内容丰富,图像生动,其中有几张是从来没对外展示过的。由于袍瓦烈佛是泰国皇室铸造的拍劲,是宫廷内部所铸造的佛,因此当时只提供给皇家的皇亲皇族,贵族,大臣们等人佩戴,所以这百多年来都一直没有把拍劲的来历分享给平民百姓。另外此尊佛有几期的款式,古时有几年的铸造,其中在几次的重大时刻来铸造的拍劲的图案和来历到目前为止还是保密的,但是作者还是竭力把此尊佛详细地介绍给读者。这本书的第一部分是介绍拍劲袍瓦烈(Phra Kring Pawareth);第二部分是拍猜越(Phra Chaiwat),虽然这本书的内容与图案不能算是最丰富生动,但是对兴趣者和收藏家是有重大意义的。
拍劲袍瓦烈与拍猜越(小药师佛)的佛像有众多款式,甚至可以把它们称为袍瓦烈家族佛像。拍劲袍瓦烈是由宫廷十大技术匠师所铸造的。在于曼谷节基王朝的第三世王末期一直到第五世王末期时代,大约公元2380-2445年(1837-2391年)关于拍劲袍瓦烈与拍猜越的在百姓的心目中普遍的认识,就是此两尊佛是由皇室铸造出来的佛像。而当时的泰国是专制主义的政权,皇宫可分为:1)大皇宫;这部分是国王住的宫殿,大皇宫的责任有:治理国家、征收国税、管理贸易、外交事务及附属国等,2)外朝(前宫)是督抚住的地方,则为管理殿前的事情:保护国家、作为国家的军事力量,独立管理国家的军队,外朝的收入是全国收入的三分之一,而其中外朝有很多手艺精湛的十大技术匠师,他们对铸造佛像和军械非常得专业。当时的泰国还叫“暹罗”时拥有许多附属国,而当时泰国的面积比现在的泰国的两倍。以前的泰国包含景栋(Chiang Dung)、西双版纳、老挝、柬埔寨、中国南边以及马来西亚,那时候所有的附属国经常向泰国进贡,便开始有了外交。无论是大皇宫、外朝都有西方人在朝廷为官,所以泰国当时就受到西方的影响,吸收西方的科学技术,比如:铸造大炮、火炮、硬币、造船。除了吸收技术方面,大臣、贵族也有交流、首都与附属国也有交流,尤其在第五世王时代有国家档案和政府公报的资料记录了当时曾有泰国的国王、贵族、大臣和附属国的交流,因此拍劲袍瓦烈与拍猜越才会传到附属国。另外在第五世王时期还记录有很多皇家仪式,但是这些皇家仪式现代的泰国人都不太理解,其中仪式包括皇家的仪式,国王的仪式,特别是古代的皇亲皇族特别多,历史上的记录就超过一百多位。当时在重要的皇家仪式都一定会恭请拍劲袍瓦烈与拍猜越当佛祖,这就证明此两尊佛的重要性和意义非凡。
在公元2475年(1932年)泰国发生政治巨变,颁布了第一版宪法,国王也受到宪法的制约,泰国的各个方面都有很大的变化,这个时候拍劲与拍猜越又再次流传到泰国的各个部落,传到其他附属国,较大的附属国的后代也开始祭拜拍劲与拍猜越,后来拍劲与拍猜越的佛像甚至流传到平民百姓的手中,但是他们根本不理解此佛的来源和意义。
拍劲与拍猜越传到宫廷外的原因,除了上面讲的原因之外,另一个原因是因为泰国古代有修缮寺庙的习俗,在修缮寺庙的大雄宝殿、贵族的宫殿的过程中工作人员发现此佛。这些资料记录对拍劲与拍猜越的研究有很大的贡献,可以帮助后代的人去了解与研究此佛。甚至通过这些资料记录使得拥有此佛像的人知道此佛源自泰国的哪个部落,这一部分接下来会在本书后面做详细的介绍。
 

 

โทร: 

ราคา: 0 บาท

สถานะ: เปิดขาย