จำนวนคนอ่านล่าสุด 1069 คน

His Majesty Temple bell back to second form / form Mehswr. / Sprinkle filings goldพระสมเด็จ วัดระฆัง แบบพิมพ์ 2หน้า ไป กลับ/แบบมเหศวร /โรยผงตะไบทอง


His Majesty Temple bell back to second form / form Mehswr. / Sprinkle filings goldพระสมเด็จ วัดระฆัง แบบพิมพ์ 2หน้า ไป กลับ/แบบมเหศวร /โรยผงตะไบทอง

His Majesty Temple bell back to second form / form Mehswr. / Sprinkle filings goldพระสมเด็จ วัดระฆัง แบบพิมพ์ 2หน้า ไป กลับ/แบบมเหศวร /โรยผงตะไบทอง

His Majesty Temple bell back to second form / form Mehswr. / Sprinkle filings goldพระสมเด็จ วัดระฆัง แบบพิมพ์ 2หน้า ไป กลับ/แบบมเหศวร /โรยผงตะไบทอง

His Majesty Temple bell back to second form / form Mehswr. / Sprinkle filings goldพระสมเด็จ วัดระฆัง แบบพิมพ์ 2หน้า ไป กลับ/แบบมเหศวร /โรยผงตะไบทอง


รายละเอียด :

พระสมเด็จ2หน้า แบบสวน His Majesty Temple bell back to second form / form Mehswr. / Sprinkle filings gold

***

ธรรมมณีแห่งเสน่ห์

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์มเหศวร พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ หรือพิมพ์สองหน้า
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์มเหศวร
หมายถึง พระอิศวร พระเจ้าแผ่นดิน.
สืบค้นพุทธพิมพ์ พุทธลักษณ์ พุทธศิลป์ สรุปได้ความ
" พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์มเหศวร หมายถึง พระอิศวร พระเจ้าแผ่นดิน.
สันนิษฐาน พระมเหศวร ซึ่งแปลว่า เทวดา ดังนั้น ผู้บูชา พระมเหศวร ก็เท่ากับ บูชาเทวดา นั่นเอง เทวดาย่อมคุ้มครองผองภัยให้แก่ผู้บูชา
มเหศวร[มะ-เห-สวน] ผู้เป็นใหญ่, เทพเจ้าผู้ใหญ่ มักหมายถึง พระอิศวร, พระเจ้าแผ่นดิน, "
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ หรือ "พระพิมพ์สองหน้า พิมพ์มเหศวร" ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นพิมพ์ที่หายากมากๆ 
พระสมเด็จพิมพ์มเหศวรพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย"ชื่อพิมพ์ของพระนั้น เรียกตาม พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พรรณบุรี คือ ด้านหน้ากับด้านหลังนั่งสวนทางกัน หรือ ด้านหน้ากับด้านหลังนั่งตรงทางกัน มีคนจำนวนไม่น้อยสนใจการสืบค้นสะสมเก็บรักษาพระสมเด็จพิมพ์มเหศวรพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ แท้ที่จริงแล้วพระสมเด็จมีอยู่ทั้งหมดกี่พิมพ์ เพราะต่างคนต่างเกิดไม่ทันทั้งสิ้น อาศัยจากการศึกษาจากหนังสือและการบอกต่อเท่านั้น 

สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรสี) บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2350 อายุ 20 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ พระภิกษุโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระภิกษุโตอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของพระภิกษุโต ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" 
สรุปข้อสัณนิษฐาน ว่า 
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์มเหศวร มีการสร้างในระหว่าง เหตุการณ์ ดังนี้ " เหตุการณ์สำคัญ 2 ปี พ.ศ.2358 ท่านโตได้ออกธุดงค์ครั้งแรก ถึงอยุธยาแวะที่วัดพิตเพียนมอบตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์คง เรียนวิชาในทางคงกระพันชาตรี ก่อนจำพรรษา ท่านจะลากลับกรุงเทพฯ เพื่อมาจำพรรษาที่วัดเดิมทุกปี ต่อมาอีก 3 ปี คือ พ.ศ.2361 ท่านโตได้เรียนวิชาอาคมจากอาจารย์แสง แห่งลพบุรี และได้เรียนวิชาจากอาจารย์ขอม แห่งนครสวรรค์ ท่านอาจารย์ขอมเก่งกล้าในทางอาคมขลัง มีวาจาสิทธิ์ ท่านได้จำพรรษาอยู่กับอาจารย์ขอม 1 พรรษา ได้เรียนรู็ต่างๆจนหมด 
การธุดงค์เรียนวิชาอาคมของท่านโตรวมแล้วหลายปี จึกกลับมาเป็นครูสอนนักธรรมตามเดิม
เหตุการณ์สำคัญ 3 ปี พ.ศ.2384 ท่านโตมีอายุ 54 ปี โยมมารดาได้ถึงแก่อนิจกรรมท่านโตได้แบ่งทรัพย์มรดกของโยมมารดาให้แก่บรรดาญาติและหลานๆทั่วกัน ส่วนที่เหลือเป็นเงินทองก็ได้เอาทรัพย์นั้นมาถึง อ.ป่าโมก ณ วัดขุนอินทร์ประมูล ท่านก็เอาทรัพย์นั้นสร้างพระนอนไว้หนึ่งองค์ มีลักษณะพุทธศิลป์อย่างงดงาม
เหตุการณ์สำคัญ 4 ปี พ.ศ.2386 อายุ 56 ปี ได้รับโปรดฯเกล้าสมณศักดิ์เป็นพระราชปัญญาภรณ์ ปี พ.ศ.2390 อายุ 60 ปี ได้เป็นพระเทพกวีศรีวิสุทธินายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) ปี พ.ศ.2395 อายุ 65 ปี ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติโสภณ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม 
(รัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.4) และต่อมา ปี พ.ศ.2407 อายุ 77 ปีท่านพระธรรมกิติโสภณ (โต) ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพุฒาจารย์ "
พระมเหศวร พิมพ์ แปลกกว่าทุกๆ พิมพ์ เป็นพระสองหน้า พระเศียรกลับกัน ผู้ใหญ่สมัยโน้นบอกว่า ก่อนนี้เขาเรียกว่า พระสวน เนื่องจาก พระเศียรสองหน้า สวนกลับกันไปมา ถามว่าแล้วใครเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น พระมเหศวร ตอบไม่ได้ สันนิษฐานว่าผู้บูชา พระสวน ไปประสบกับเหตุการณ์อันตรายแล้วไม่เป็นอะไร แคล้วคลาด ปลอดภัย ตลอดจน อยู่ยงคงกระพัน 
จึงเปลี่ยนชื่อเป็น พระมเหศวร ซึ่งแปลว่า เทวดา ดังนั้น ผู้บูชา พระมเหศวร ก็เท่ากับ บูชาเทวดา นั่นเอง เทวดาย่อมคุ้มครองผองภัยให้แก่ผู้บูชา อันเป็นความประสงค์ของทุกๆ ท่าน มากกว่าจะไปพะบู๊ตีรันฟันแทงกับนักเลงก็หาไม่ %%%@ จังหวัด สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งทางภูมิภาคตะวันตก เป็นเมืองโบราณมาตั้งแต่ สมัยอู่ทองเป็นราชธานี 
แต่ก็ยังอยู่ในอาณัติของ กรุงสุโขทัย เมื่อ พ.ศ.1873 เมืองทวายและตะนาวศรี ซึ่งเป็นหัวเมืองมอญขึ้นอยู่กับกรุงสุโขทัย พอเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครใหม่เป็นเจ้าแสนเมืองมิ่ง ไม่ยอมขึ้นกับกรุงสุโขทัย พระเจ้าเลอไทย กษัตริย์กรุงสุโขทัย รัชกาลที่ 4 ยกกองทัพไปตี เมืองทวายและตะนาวศรี พ่ายแพ้กลับมา
ขณะนั้น พระเจ้าอู่ทอง รัชกาลที่ 3 ครองราชย์อยู่ที่ เมืองอู่ทอง จึงยกกองทัพไปตี เมืองทวายและตะนาวศรี ได้ชัยชนะกลับมา เป็นการกู้เกียรติให้กับกรุงสุโขทัย ในการรบครั้งนี้เชื่อว่า ขุนหลวงพงั่ว คงจะไปร่วมรบด้วย ทำให้เมืองอู่ทองเป็นที่หวั่นเกรงแก่เมืองต่างๆ ตลอดจนกษัตริย์ทางเมืองเหนือ
พระเจ้าอู่ทอง (3) หรือ พระยาศรีธรรมโศกราช ทรงสร้างพระปรางค์ขึ้นที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กำหนดเฉลิมฉลองพระปรางค์ พร้อมกับประจุ พระเครื่อง - พระบูชา ไว้ในองค์พระปรางค์ เพื่อพุทธบูชา อุทิศแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทางเมืองเหนือทราบเรื่องราวนี้เข้า ฤาษี 11 ตน อันมี ฤาษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธาน กล่าวแก่ฤาษีทั้งหลายว่า เราจะเอาอะไรไปให้ พระยาศรีธรรมโศกราช ปรึกษากันแล้วสร้างพระขึ้นแล้วนำเอามาร่วมบรรจุใน องค์พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งก็ปรากฏเป็นความจริงว่า พระตระกูลทางเหนือ เช่น พระตระกูลกำแพง พระร่วงยืน พระชินราชใบเสมา พระยอดขุนพล ฯลฯ และอีกหลายพิมพ์มาอยู่ใน กรุพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
นอกจากพระทางเหนือแล้ว ยังมี ศิลปะลพบุรี ก็มาบรรจุร่วมด้วย พิจารณาได้ 2 สถาน คือ 
พระเจ้าราม พระราชโอรสกษัตริย์ผู้ครอง เมืองลพบุรี มาอภิเษกสมรสกับ พระราชธิดาของ พระเจ้าอู่ทอง (3) เมื่อมีความเกี่ยวดองกัน กษัตริย์เมืองลพบุรี อาจจะเอาพระสมัยลพบุรีมาร่วมประจุด้วย
อีกสถานหนึ่ง เมือง สุพรรณบุรี ขอมมาปกครองอยู่นานถึง 2-3 ร้อยปี เมื่อ พ.ศ.1800 กรุงสุโขทัย ลุกขึ้นขับไล่ขอม แล้วสถาปนาเป็น อาณาจักรสุโขทัยขึ้น ปรากฏว่าขอมหายไปไหนหมด รวมทั้งที่ สุพรรณบุรี ด้วย บางส่วนอาจกลับ กรุงกัมพูชา บางส่วนอาจจะกลายเป็น คนไทย ไปโดยปริยาย คนเหล่านี้สร้างพระในศิลปะของขอมขึ้น แล้วร่วมประจุใน องค์พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ก็เป็นได้
ในส่วนของทางอู่ทอง พระเจ้าอู่ทอง (3) ก็สร้างพระใน ศิลปะอู่ทอง ขึ้นเช่นกัน เช่น พระผงสุพรรณ พระมเหศวร พระสุพรรณหลังผาล พระปทุมมาศ พระขุนแผนเรือนแก้ว พระสุพรรณขาโต๊ะ ฯลฯ
บรรดาพระที่กล่าวมาแล้วนั้น พระมเหศวร พิมพ์ แปลกกว่าทุกๆ พิมพ์ เป็นพระสองหน้า พระเศียรกลับกัน ผู้ใหญ่สมัยโน้นบอกว่า ก่อนนี้เขาเรียกว่า พระสวน เนื่องจาก พระเศียรสองหน้า สวนกลับกันไปมา ถามว่าแล้วใครเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น พระมเหศวร ตอบไม่ได้ สันนิษฐานว่าผู้บูชา พระสวน ไปประสบกับเหตุการณ์อันตรายแล้วไม่เป็นอะไร แคล้วคลาด ปลอดภัย ตลอดจน อยู่ยงคงกระพัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น พระมเหศวร ซึ่งแปลว่า เทวดา ดังนั้น ผู้บูชา พระมเหศวร ก็เท่ากับ บูชาเทวดา นั่นเอง เทวดาย่อมคุ้มครองผองภัยให้แก่ผู้บูชา 
อันเป็นความประสงค์ของทุกๆ ท่าน มากกว่าจะไปพะบู๊ตีรันฟันแทงกับนักเลงก็หาไม่@%%%%
ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ยังเป็นข้อถกเถียง และโต้แย้งกันอยู่ว่า สร้างขึ้นในสมัยใดกันแน่ แม้จะปรากฏหลักฐานเป็นแผ่นลานทองจารึกประวัติการสร้าง ที่พบเมื่อครั้งเปิดกรุในปี ๒๔๕๖ แต่ก็ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากแผ่นลานทองสูญหายและชำรุดไปเป็นจำนวนมาก จากหลักฐานเอกสารแผ่นจารึกต่างๆ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าสร้างในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑) และบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระสมเด็จพิมพ์สองหน้าในหนังสือวัดระฆัง

"ทำเนียบพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี" เป็นหนังสือที่โดย "ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม" ซึ่งมี นายกล้า เกษสุรินทร์ชัย หรือ "เสี่ยกล้า" เป็นประธานชมรม มีความหนากว่า ๔๐๐ หน้า สี่สีทั้งเล่ม เข้าเล่มเย็บกี่อย่างดี 

แม้ว่าเซียนพระของสมาคมพระเครื่องจะระบุว่าเป็นการเล่นพระผิดทาง รูปพระสมเด็จที่จัดพิมพ์ในหนังสือเป็นพระที่วงการไม่เล่นกัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยสนใจการเล่นพระและซื้อหนังสือในแนวของชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม ทั้งนี้ ถ้าอ่านเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาพระสมเด็จโดยไม่มีอคติใดๆ บางส่วนของข้อมูลในหนังสือก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย

เนื้อหาในหนังสือได้มีการตั้งข้อสงสัยไว้หลายประการ โดยเฉพาะกรณีที่ท่านเจ้าคุณ ได้รับโปรดเกล้าฯ สมณศักดิ์เป็น พระธรรมกิติโสภณ พร้อมทั้งเป็นเจ้าอาวาสมาปกครองวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ ขณะมีอายุ ๖๕ ปี จนถึง พ.ศ.๒๔๐๗ อายุ ๗๗ ปี รวม๑๒ ปี พระที่ท่านสร้างในช่วงนี้ สมควรเรียกว่า พระของพระธรรมกิติโสภณ (โต) วัดระฆัง หรือน่าจะเรียกว่า พระสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สำหรับพระองค์ครูวันนี้เป็นภาพ "พระสมเด็จวัดระฆัง (สมเด็จโต) โดยได้ระบุว่า "เนื้อหาพิมพ์ตรงมาตรฐานสากลยอดนิยมอันดับ ๑" โดยเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีความเชื่อว่ามี "พระสมเด็จพิมพ์สองหน้า" น่าจะมาจากพระพิมพ์สองหน้าที่เลื่องชื่อของวงการพระ เช่น พระหลวงพ่อโสธรพิมพ์สามเหลี่ยมสองหน้า พ.ศ.๒๕๙๗ พระลีลาสองหน้า หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี พระสิบทัศน์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม พิมพ์สองหน้า นครปฐมเหรียญหล่อสองหน้าหลวงพ่อทบ วัดชนแดนและหลวงพ่อเขียน พ.ศ.๒๕๐๕

ในจำนวนพระพิมพ์สองหน้าที่เลื่อชื่อสุด มากทั้งพุทธคุณและค่านิยม คือ พระมเหศวร พุทธศิลป์ขององค์พระที่ทำเป็นพระ ๒ หน้าสวนทางกันเป็นพระเนื้อชินยอดนิยม วงการพระจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของ “ชุดพระยอดขุนพลเนื้อชิน” แห่งสยามประเทศ เป็นพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่มีจากกรุอื่นๆ นักสะสมต่างยกย่องว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาอุดแคล้วคลาด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

เมื่อครั้งที่ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามพิมพ์หนังสือเล่มแรกออกวางจำหน่าย มีเสียงสวดจากคนวงการพระเครื่องว่า ภาพพระสมเด็จในหนังสือไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่พระที่คนในวงการพระเครื่องยอมรับกัน ไม่ใช่พิมพ์ที่นิยม แต่ข้อคิดอย่างหนึ่งที่วงการพระเครื่องต้องเก็บไปคิด คือ คำพูดของเสี่ยกล้าที่ว่า

"วงการพระเครื่องจะยอมรับ หรือไม่ยอมรับนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า พระเครื่ององค์เดียวกันแท้ๆ ตาเซียนพระเครื่องแต่ละตาแต่ละคนยังมีมุมมองที่ต่างกัน เซียนกลุ่มหนึ่งที่เสียงดังกว่าอาจจะมองว่าปลอม แต่เซียนอีกกลุ่มหนึ่งมองว่าแท้ แต่เผอิญว่า เซียนกลุ่มแรกเสียงดังกว่า พระที่แท้ก็กลายเป็นพระปลอมได้ ขณะเดียวกันพระที่ปลอมก็กลายเป็นพระแท้ได้เช่นกัน"

บทความ คม ชัด ลึก

โทร: 0971297060

ราคา: 0 บาท

สถานะ: เปิดขาย