จำนวนคนอ่านล่าสุด 3331 คน

พระสมเด็จ เนื้อปูนเพชร ดำ 陛下灰泥质感的黑色一年2411。 His Majesty stucco texture black year in 2411.


พระสมเด็จ เนื้อปูนเพชร ดำ 陛下灰泥质感的黑色一年2411。  His Majesty stucco texture black year in 2411.

พระสมเด็จ เนื้อปูนเพชร ดำ 陛下灰泥质感的黑色一年2411。  His Majesty stucco texture black year in 2411.

พระสมเด็จ เนื้อปูนเพชร ดำ 陛下灰泥质感的黑色一年2411。  His Majesty stucco texture black year in 2411.


รายละเอียด :

นข1003***อยู่ระหว่างศึกษา เนื้อปูนเพชร หรือ เนื้อผงคัมภีร์ ใบลาน

พระสมเด็จ เนื้อปูนเพชร ดำ 

 陛下灰泥质感的黑色一年2411。

His Majesty stucco texture black year in 2411.

----------------------------------------------------------------

chok Permpool

1 กันยายน · มีการแก้ไข · 

***พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงคัมภีร์ใบลาน..พระในตำนาน
พระสมเด็จผงใบลาน
“ การสร้างพระของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี หนึ่ง เนื้อผงใบลานเผา ทำน้อยมากเพราะเปลืองผงใบลาน เจ้าพระคุณจะนั่งจานใบลานตลอดเวลา พอมากๆ เข้าก็เอามาสุมไฟ เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ มีทั้งโพธิ์เมล็ด และโพธิ์ใบ ท่านใช้ผสมในพระเนื้อปูนปั้นด้วย สอง เนื้อชานหมาก พระอาจารย์ขวัญ กล่าวว่า ท่านสร้างพระเนื้อชานหมาก คู่กับเนื้อใบลานเผา แต่เนื้อชานหมาก เป็นพิมพ์ทรงพระประธาน (ทั้งสองเนื้อ
เจ้าพระคุณได้ถวายรัชกาลที่ ๕ และได้ทรงแจกข้าราชการในปี ๒๔๑๖ ปีระกาป่วงใหญ่ หลังสมเด็จมรณะ ๑ ปี) สาม เนื้อปูนน้ำมัน เหมือนพิมพ์ทรงนิยม แต่เนื้อฉ่ำคล้ายมีน้ำมันอยู่ แต่หาหลักฐานการสร้างไม่ได้ ” ทั้งหมดนี้ถือเป็นคำบอกเล่าถึงพระพิมพ์ต่าง ๆ นอกจากพิมพ์นิยมในปัจจุบัน เพราะยังมีครูบาอาจารย์ และนักนิยมพระสมเด็จในสมัยโบราณหลายท่านแย้งว่าท่านได้สร้างพระผงใบลานพิมพ์ใหญ่ด้วย ประกอบกับพระสมเด็จผงใบลานที่เป็นตัวอย่างในข้อเขียนนี้เป็นพระสมเด็จผงใบลานพิมพ์ใหญ่เช่นกันที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ข้อมูล ต่าง ๆ เหล่านี้ที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการศึกษา และค้นคว้า
พระสมเด็จเนื้อผงใบลานสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้จัดสร้างประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๐๖ ในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
(ก่อนที่ท่านจะได้สมณศักดิ์เป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ในปี พ.ศ.๒๔๐๗) ท่านได้จัดสร้างพร้อมกับพระสมเด็จเนื้อชานหมากที่วัดระฆังโฆษิตาราม การจัดสร้างในครั้งนั้นจัดสร้างพระสมเด็จเนื้อผงใบลาน และเนื้อชานหมากได้ไม่ถึงร้อยองค์และได้มอบให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และศิษย์ผู้ใกล้ชิดเพียงไม่กี่คน พระสมเด็จชุดนี้ไม่ได้บรรจุกรุอันเนื่องจากจัดสร้างเป็นการเฉพาะและมีปริมาณน้อยนั่นเอง
พุทธศิลปที่พบจะเป็นแม่พิมพ์สมัยใหม่ในยุคแรก ๆ ที่เรียกว่าพิมพ์ประธาน (พิมพ์ใหญ่) และพิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์อื่น ๆ ไม่พบเห็น การสร้างพระผงใบลานของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เริ่มจากการที่ท่านนำพระคัมภีร์ใบลานเก่าที่ชำรุด และได้คัดลอกอักขระพระสูตรคาถาแล้ว รวมกับใบลานที่ท่านได้เจียรไว้ นำมาเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียด นำมากรองจนเป็นผงฝุ่น ต่อจากนั้นจึงผสมตามสูตรการสร้างพระสมเด็จของท่านตามสูตรโบราณ อันได้แก่ ปูนเปลือกหอย มวลสาร ผงวิเศษ น้ำมันทัง น้ำผึ้ง กล่าวกันว่าพระสมเด็จผงใบลานซึ่งสร้างพร้อมกับเนื้อชานหมากรวมกันนั้นสร้างได้ไม่ถึงร้อยองค์เพราะเนื่องจากใบลานมีจำนวนไม่มากเมื่อนำมาเผาบดแล้วจะเหลือเพียงจำนวนน้อย
การพิจารณาและวิเคราะห์พุทธศิลป์ และเนื้อมวลสาร
วรรณะองค์พระจะเป็น สีเทาดำ เนื่องจากผสมกับปูนเปลือกหอย และอีกประการความเข้มของสีมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นสำคัญ เนื้อพระแห้งสนิท จุดที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษได้แก่ เนื้อของพระจะมีความละเอียดมากเนื่องจากผงใบลานผ่านการกรองจนเป็นฝุ่น ปูนที่นำมาผสมถูกบด ตำ อย่างละเอียด ปรากฏเห็นก้อนมวลสารสีเหลืองนวล หินสีน้ำตาลออกส้ม หินอ่อนศักดิ์สิทธิ์สีขาวจากประเทศจีน ทั้งหยาบและละเอียด รวมทั้งปรากฏผงทอง และผงทรายทองกระจายทั่วองค์ถือเป็นหลักสำคัญ คาบไขสีขาวหม่น ๆ ซึ่งจะปรากฏเป็นหย่อม ๆ กระจายอยู่ทั่วไปทางด้านหน้า และมีความชัดเจนมากกว่าด้านหลังนั้นเกิดจากปฏิกิริยาทางธรรมชาติของมวลสารกับน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าวที่ใช้ทาพิมพ์ผ่านกาลเวลามิใช่เกิดจากคราบแป้งโรยพิมพ์ดังที่หลายท่านเข้าใจ คราบดังกล่าวนี้จะค่อย ๆ ผุดออกมาเป็นไขเคลือบผิว หรือมีลักษณะเป็นขลุยหรือเป็นเกร็ดเล็ก ๆ บาง ๆ หลุดล่อนเองตามธรรมชาติก็ปรากฏ 
การยุบตัว และการหดตัวต่างจากพระสมเด็จเนื้อมวลสารโดยทั่วไปด้วยเหตุแห่งเนื้อผงใบลานที่มีความละเอียด น้ำมันทัง และน้ำผึ้งที่เป็นตัวประสาร จึงทำให้มีการเกาะยึดได้ดีจึงมีความแกร่งกว่า ด้านหลังที่พบส่วนใหญ่จะค่อนข้างเรียบหรือมีลักษณะคล้ายสิ่งที่รองรับในขณะผึ่ง ตาก มีรอยปูไต่ หรือรอยหนอนด้นแต่ไม่ค่อยชัดเจนมากนัก
พุทธศิลปจัดได้ว่าเป็นพิมพ์แบบสมัยใหม่ในยุคแรก ๆ ที่ค่อนข้างมีความสวยงามใกล้เคียงกับพิมพ์ของพระสมเด็จวัดพระแก้ว องค์พระสมส่วนสง่างาม เส้นสายรายละเอียดชัดเจน การตัดขอบทั้งสี่ด้านค่อนข้างประณีต สิ่งที่น่าพิจารณาอีกประการ
ก็คือการได้พบว่าการจัดสร้างพระสมเด็จเนื้อชานหมากกับเนื้อผงใบลานเป็นการสร้างในคราวเดียวกันแต่พิมพ์ที่ใช้มีลักษณะต่างกัน อันเป็นการบ่งบอกถึงอัจฉริยะที่มีความเป็นอิสระในวิธีคิด ไม่ยึดติด แต่คงไว้ซึ่งการเผยแพร่พุทธศิลปในหลายแนวทาง และหลายรูปแบบของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี นั่นเอง
ท้ายสุดขอให้พยายามพิจารณาจากของจริง และเปรียบเทียบกับหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นสำคัญ ขอให้ท่านผู้ที่มีความศรัทธาได้โปรดสืบค้นกันต่อไป ด้วยจิตใจที่มั่นคงในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
ธรรมชาติของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง มองทางกายภาพ 
จากเลนส์ขยายในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังเท่าที่ได้สัมผัสมา มวลสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าประกอบด้วย มวลสารดังต่อไปนี้
1. จุดสีขาวขุ่น มีทั้งขนาดใหม่และเล็ก ขนาดเล็กตั้งแต่ปลายเข็มหมุดขนานใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเขียวก็เคยพบ มีปรากฏอยู่ทั่วไปในเนื้อพระละเอียดแน่นนอน และ เนื้อพระชนิดหยาบเนื้อไม่แน่นนอน สันนิษฐานว่าคือ เม็ดพระธาตุ และเปลือกหอย
2. จุดสีแดงหรือสีแดงอิฐ ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเศษพระเครื่องหักของ กำแพงเมืองเพรช สมัยที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ได้ไปเดินธุดงค์พบพระเนื้อดินหัก แต่ยังเต็มเปี่ยมไป ด้วยพระพุทธคุณ จึงนำมาสร้างพระเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และความขลังแก่พระสมเด็จ
3. จุดสีดำ มีขนาดเล็กก็คือ เกสรดอกไม้ เม็ดกล้วย ถ้าเป็นขนาดกลาง สันนิษฐานว่าเป็นผงถ่านใบลาน และถ้าเป็นลักษณะยาว สันนิษฐานว่าเป็นกานธูป
4. จุดสีเขียวคล้ายสีคราม มีลักษณะใหญ่เล็กแล้วแต่จะพบในองค์พระ สันนิษฐานว่าเป็นหินเขียวหรือ ตะไคร่ ใบเสมา
5. จุดสีน้ำตาลอ่อน และ น้ำตาลแก่ สันนิษฐานว่า คือเกสรดอกไม้แห้งนานาชนิด อาจเป็นดอกไม้108 (ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระ)
6. เม็ดทรายเสกขนาดกลาง และขนาดเล็ก พบในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
7. เม็ดขาวขุ่นหรือพระธาตุ ส่วนมากจะพบกระจายอยู่ทั่วไปในองค์พระบางองค์ พบอยู่ด้านหลัง บางองค์ไม่พบ
8. ทองคำเปลว ที่ติดพระประธานในโบสถ์วัดระฆัง ใช้บดละเอียดผสมในเนื้อพระ
9. ผงวิเศษที่พบเป็นก้อน คล้ายกับก้อนดินสอพองก็คือ ผงวิเศษที่ได้จากผงอิทธิเจ ผงปัตถะมัง ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ผงมหาราช
10. การยุบตัวของเนื้อพระสมเด็จ เกิดจากปฎิกริยาการหดตัว แห้งตัว ยุบตัวของเศษอาหาร จึงทำให้ เนื้อพระยุบตัวลง ระยะเวลาและความร้อนของอากาศหลายๆปี ฤดูกาลธรรมชาติ
11. ที่แลเห็นพระบางองค์มีความมันบนองค์พระมาก เพราะว่าในเนื้อพระผสมนำมันตั้งอิ้วมากกว่าปกติ เนื้อพระชนิดนี้จึงหนึกนุ่มอยู่เสมอ ทำให้เนื้อพระเก่าได้ยาก
12. พระสมเด็จกับการลงรักปิดทอง พระสมเด็จวัดระฆังบางองค์มีการลงรักปิดทองไว้ แล้วในภายหลัง ได้ถูกล้างออก ซึ่งก็ทำให้สามารถดูเนื้อพระได้ง่ายขึ้น
13. คราบสีขาวบนองค์พระมักจะพบในพระสมเด็จวัดระฆังนั้นมี 2 นัย นัยแรกเกิดจากแป้งโรยพิมพ์พระ ในตอนสร้าง (สันนิษฐานว่าใช้แป้งขาวเจ้าผสมปูนขาว) นัยที่สองเกิดจากเชื้อราบางชนิดซึ่งเกิดขึ้นเนื่อง มาจากการเก่าเก็บไว้เป็นเวลานานซึ่งไม่มีผลทำให้ผิวพระเสียแต่อย่างใด ซี่งถ้าใช้นิ้วถูออกคราบสีขาว ก็จะหายไปและจะไม่มีผงฝุ่นสีขาวติดนิ้วเลย แต่ไม่ควรถูออกเพราะคราบสีขาวเป็นการแสดงความเก่า ความมีอายุอันยาวนานขององค์พระ
14. รอยปริแยกแตกบนผิวพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัว หดตัวของเนื้อพระเนื่องจาก ความชื้นและอุณหภูมิในอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเนื้อพระมีส่วนผสมน้ำมันตังอิ้วที่เหมาะสมเป็นตัว ประสานเนื้อพระก็จะไม่พบลอยปริแตกบนผิว
15. กลิ่นหอมในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ส่วนผสมมวลสารในเนื้อพระมีดอกไม้และ เกสรหลายชนิดรวมกัน รวมทั้งน้ำมันจันทน์ด้วย จึงทำให้พระสมเด็จมีกลิ่นหอม
16. รอยแตกลายงาบนผิวพระสมเด็จวัดระฆังเกิดจากการแห้งและหดตัวของผิวเนื้อพระ ชั้นนอกเร็วกว่า เนื้อพระชั้นใน พบได้ในองค์พระที่มีผิวระเอียดหนึกนุ่ม 
มวลสารของเนื้อพระสมเด็จ
1. ดินสอมหาชัย ใช้เขียนลงเป็นผง วิเศษ 5 ประการ อันได้แก่ - ผงพระพุทธคุณ - ผงปัตถะมัง - ผงตรีนิสิงเห - ผงมหาราช - ผงอิทธิ ดินสอมหาชัยเป็นผงดินสออาถรรพณ์ทำจากดินขาวอันบริสุทธิ ผสมด้วย น้ำคั้นใบตำลึง ยอดสวาท ยอดกาหลง ยอดรักซ้อน ดินโป่ง ไคลเสมา ยอดชัยพฤกษ์ ยอดราชพฤกษ์ ยอดมะลิจากข้าวในยาตร ทั้งหมดเป็นมวลสารพระพุทธคุณ และได้ถือหลักการคุลีเนื้อพระจากตำรับไสยเวทย์ และเพทางคศาสตร์
2. ข้าวหอมจากบาตร บรรจุในชามเบญจรงค์ อันเป็นของที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เก็บรักษาโดยเฉพาะ
3. กล้วยน้ำไท ผสมยางมะตูมทั้งสองสิ่งนี้เก็บรักษาไว้ในขันสัมฤทธิ์ ไม่บูด ไม่เสีย
4. เกสรบัวสัตตบงกช พร้อมทั้งเกสรดอกไม่ป่าจากเมืองสุโขทัย เมื่องกำแพงเพชร เป็นเกสรที่เจ้าคุณ สมเด็จฯ ได้รวบรวมไว้ถึง 108 ชนิด
5. เปลือกหอย ขาวบริสุทธิ์ นำมาป่นจนละเอียดแล้วผ่านกรรมวิธีจนกลายเป็นปูนเปลือกหอย มวลสาร ชนิดนี้เมื่อ ปลุกเสกและอบด้วยพระเวทย์มนตราอาถรรพณ์แล้วจะเกิดทรายทองขึ้นเองด้วยวิทยาคม ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
6. น้ำมันตั้งอิ๊ว เป็นตัวประสานมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระให้ยึดรวมกันอย่างเหนียว ทั้งกระทำให้เนื้อพร ชุ่มชื่นอีกด้วย
7. วัสดุอื่นๆ ที่กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ มวลสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าข้างต้นนี้ ฯลฯ
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ปรากฏอันเป็นความงดงามขององค์พระสมเด็จ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจะมีผู้โชคดี ได้เป็นเจ้าของพระสมเด็จ เมื่อใช้เลนส์ขยายดูเนื้อพระ เขาจะเฝ้าดูแล้วดูเล่าอย่างไม่รูสึกเบื่อหน่าย ในความงามอันน่าอัศจรรย์ของพระผงวิเศษของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ชึ่งสามารถแลเห็นมวลสารเกสรเป็นจุดรูปต่างๆกัน มีสีสันแปลกๆเช่น สีแดง สีฟ้า สีเหลือง สีเขียว สีเทา สีน้ำตาล ฯลฯ มวลสารเกสรนี้ช่อนตัวของมันอยู่เงียบๆ ต้องใช้เวลาในการดูนานจึงจะปรากฎ ให้เห็น
ความหมายอย่างมีเหตุผลของมวลสารชึ่งมีส่วนผสมในเนื้อสมเด็จ ที่มีคุณวิเศษในตัวเองดังนี้
1. ผงวิเศษ ในการทำพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มี 5 ชนิด
1.1 ผงพุทธคุณ มีพลางนุภาพทาง แคล้วคลาด และ เมตตามหานิยม
1.2 ผงปัตถะมัง มีพลางนุภาพทาง คงกระพันชาตรี
1.3 ผงตรีนิสิงเห มีพลางนุภาพทาง มหาเสน่ห์
1.4 พงมหาราช มีพลางนุภาพทาง มหาอำนาจทั่วไป
1.5 ผงอิทธิเจ มีพลางนุภาพทาง เมตตามหานิยม
2. ไม้มงคล
2.1 ดอกสวาท มีคุณทาง มหานิยม คนรักทั่วไป
2.2 ดอกกาหลง มีคุณทาง ใครเก็นใครชอบ
2.3 ดอกรักซ้อน มีคุณทาง มหาเสน่ห์
2.4 ดอกกาฝากรัก มีคุณทาง เมตตามหานิยม
2.5 ดอกชัยพฤกษ์ และดอกราชพฤกษ์ มีคุณทาง มหาอำนาจ และ แคล้วคลาดภัยทั้งปวง
2.6 ดอกว่านางคุ้ม และ ดอกว่าน มีคุณทาง คุ้มกันอันตรายแก่คนทั่วไป
2.7 ดอกว่านเสน่ห์จันทน์ขาว จันทน์แดง จันทน์ดำ มีคุณทาง มหาเสน่ห์ และ คลาดแคล้ว
2.8 ดอกว่านนางกวัก มีคุณทาง มหานิยมแก่คนทั่วไป
2.9 ว่านพระพุทธเจ้าหลวง มีคุณทาง คงกระพันชาตรี มหาอำนาจ
2.10 ใบพูลร่วมใจ มีคุณทาง มหานิยมแก่คนทั่วไป
2.11 ใบพลูสองทาง มีคุณทาง กันการกระทำ และอันตรายคลาดแคล้ว
2.12 ผงเกสรบัวทั้ง5 และเกสรดอกไม้108 มีคุณทาง มหาเสน่ห์ และแคล้วควาด
3. ดินอาถรรพณ์
3.1 ดิน 7 โป่ง ที่เสือลงมากิน มีคุณทางมหาอำนาจ ใครเห็นใครกลัวเกรงทั่วไป
3.2 ดิน 7 ป่า มีคุณทางเมตตามหานิยม
3.3 ดิน 7 ท่า มีคุณทางคลาดแคล้ว
3.4 ดิน 7 สระในวัด มีคุณทางเมตตามหานิยมของคนทั่วไป
3.5 ดินหลักเมือง มีคุณค่าทางมหาเสนห์แก่ตัวเอง
3.6 ดินตะไคร่เจอดีย์ มีคุณทาง กันภูตผีปีศาจ และกันเสนียดจัญไร
3.7 ดินตะไคร่รอบโบสถ์ มีคุณทาง ป้องกันอันตรายทั่วไป
3.8 ดินตะไคร่ใบเสมา มีคุณทางมหานิยม เมตตา และแคล้วคลาด
3.9 ดินสอขาว หรือ ดินขาว (ดินสอพอง) สำหรับเขียนยันต์ตามสูตรพระเวท มีคุณทางแก้อาถรรพณ์
3.10 ดินกระแจะปรุงด้วยของหอม มีคุณทาง เมตตามหานิยม
4. ผงดำ คือ แม่พิมพ์พระที่แตกหักชำรุด นำมาเผาเป็นถ่าน แล้วนำมาบดผสม พงถ่านใบลาน (คือ ใบลานและคัมภีร์เก่าๆ นำมาเผาจนเป็นถ่าน) แล้วนำมาผสมกันเป็นผงดำ มีคุณทางคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด
5. ตะไลพระกริ่ง มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองเหลือง มีคุณค่าทาง คงกระพันชาตรี
6. ตะไบเงินตะไบทอง มีคุณทาง ร่ำรวย โชคลาภ
7. พระธาตุทั้ง 5 ชนิด มีคุณทาง การมีสิริมงคล โชคลาภ
8. จุดแดง เกสรดอกไม้ 108 มีคุณทางมหาเสน่ห์ มหานิยม
9. เศษพระกำแพงหัก (อิฐกำแพง) มีคุณทาง คงกระพันชาตรี โชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา
ในยุคท้ายๆของสมเด็จโตทางวัดจะทำบุญฉลองอายุท่านที่ย่างเข้าปีที่ 85 (พ.ศ.2415) พระสมเด็จวัดระฆังรุ่นสุดท้ายมีการสร้างพระขึ้นมาใหม่ โดยทางหลวงวิจารย์เจียรนัยอาสาเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย เป็นพระพิมพ์ใหญ่หลายแม่พิมพ์ ท่านได้แก้ไขข้อบกพร่องหลายๆอย่างทำเป็นแม่พิมพ์ที่สมบูรณ์แบบขึ้นมาโดย อาศัยพุทธศิลป์พระบูชา สมัยเชียงแสน,สุโขทัย เป็นแม่แบบ จุดเด่นของแม่พิมพ์ชุดนี้มีดังนี้
1. ไม่มีเส้นตัดกรอบเหมือนแต่ก่อน แต่จะเป็นบล็อคแม่พิมพ์สำเร็จรูปถอดออกมาได้เลย ด้านซ้าย - และขวาขององค์พระจะสมดุลย์เท่ากัน
2. องค์พระจะสง่างามผึ่งผาย อกผายไหล่ผึ่ง แขนทั้งสองข้างทิ้งดิ่งตรงมาหักศอกตรงเข่าเหมือนกันสองข้าง บางพิมพ์จะเอวหนาผายหน่อย ตามศิลปะพระบูชาเชียงแสน,สุโขทัย ผสมผสานกันได้อย่างเหมาะเจาะทีเดียว
3. เส้นซุ้มครอบแก้วจะหนาใหญ่ ทรงระฆังคว่ำ ซ้ายขวาจะสมดุลย์กัน ไม่เหมือนพิมพ์ที่มีเส้นขอบ
4. ฐานสิงห์จะมีฐานคมชัดทั้งสองข้าง
5. เนื้อพระจะแข็งแกร่งหนึก มากกว่าพระรุ่นก่อน พื้นผิวจะมีตังอิ๊วมากวรรณะจึงออกนำตาล
6. ด้านหลังพระจะเรียบหรือย่นๆเหมือนผิวคอนกรีตที่ไม่ขัดมัน
พระในชุดนี้ทำจำนวนจำกัดแค่ 85 องค์ เพื่อฉลองอายุ 85 ปีของท่าน มีบางคนวิจารณ์การทำพระฉลองอายุที่นิยมทำให้เกินอายุเข้าไว้ แต่นี่ท่านอายุครบ 85 ปี ทำไว้ 85 องค์เหมือนทำให้ท่านมรรณภาพตอนอายุ 85 ปี มีเรื่องเล่ากันว่าท่านเองให้กรรมการทำเพียง 85 องค์เพราะท่านอายุแค่ 85 เท่านั้นเลยต้องทำตามท่านว่า หลังจากท่านมรณธภาพแล้วเณรรูปหนึ่งไปเก็บทำความสะอาดสถานที่ที่ท่านนั่ง ประจำ เณรไปเปิดผ้าออกเห็นเป็นลายมือท่านเขียนวันเวลาที่จะมรณะภาพไว้ที่กระดาน หลังที่ท่านนั่ง เมื่อมาตรวจสอบวันเวลาดูจะตรงกับที่ท่านมรณะภาพจริงๆ นี่ก็เพราะท่านเป็นอริยะสงฆ์สำเร็จอภิญญา 6 ซึ่งมีอยู่ข้อหนึ่งสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ระลึกชาติได้
ในลำดับต่อไปนี้ จะเป็นตำราเพื่อเป็นจุดสังเกตุ เพื่อดูลักษณะเด่นของพระพิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งท่านได้เข้ามาแกะพิมพ์พระสมเด็จในยุคหลัง (รุ่นสุดท้าย)
1. เนื้อพระ จะเป็นหินเปลือกหอยดิบ หรือที่เรียกว่าปูนเปลือกหอยดิบเนื้อพระจะแน่นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ไม่มีรอยแตกให้เห็น ผิวเนื้อพระจะมีสีขาวอมเหลือง หรือสีน้ำตาลอ่อน มีคราบตังอิ๊วเป็นสีน้ำตาลติดอยู่ตามผิวพระ หรือตามรอยแยกหดตัวของพระจะมีตังอิ๊วอุดอยู่ที่เราเรียกว่ารอยหนอนด้นบางคน เรียกว่ารอยปูไต่ ด้านข้างองค์ที่มีมวลสารมากๆจะหดตัวมองเป็นร่องช่องโหว่เข้าไป เนื้อพระจะมีทั้งเนื้อแน่นละเอียด และแบบหลวมหยาบเพราะมีมวลสารมาก
2. พื้นผิวพระ สีจะออกขาวอมเหลืองหรืออมน้ำตาล ผิวจะย่นด้านหน้า เพราะเนื้อจะยุบหดตัวตรงที่มีมวลสารพระหัก มีเศษพระหัก มีพระธาตุ มีอัญมณี จะเป็นรอยยุบโบ๋ลงไปมองเห็นก้อนมวลสารนั้นได้ ถ้ามวลสารนั้นเป็นอินทรีย์สารพวกว่านไม้มงคลที่ผุพังได้ ก็จะเห็นรอยเป็นหลุมไม่มีมวลสารที่เรียกว่าหลุมโลกพระจันทร์รอยรูเข็ม ผิวพระองค์ที่สมบูรณ์จะมีรอยคราบสีขาวฝังอยู่ตามผิวพระที่เรียกว่า คราบแป้งรองพิมพ์ติดฝังอยู่ในพื้นผิวจะไม่หลุดถ้าไม่ไปขัดล้างพื้นผิวจะเป็น 3 มิติลดหลั่นกันจากนอกซุ้ม ในซุ้ม ซอกแขนและรักแร้จะเป็นสามมิติ
ด้านหลังพระพื้นผิวจะเรียบก็มี เป็นรอยขรุขระก็มี เป็นรอยเส้นนูนก็มี หรือที่เรียกว่ารอยกาบหมากหรือรอยกระดาน รอยกาบหมาก หรือรอยกระดานจะมีเพียงบางองค์เท่านั้น คือเกิดจากตอนที่อัดเนื้อพระลงแม่พิมพ์ เขาใช้กาบหมากหรือแผ่นกระดานปิดทับ หลังพระบนแม่พิมพ์แล้วเอาค้อนยางตอก ถ้าองค์ไหนตอกเสมอพอดีก็จะมีรอยเส้นกาบหมากเส้นเสี้ยนไม้กระดานติดอยู่ ถ้าองค์ไหนตัดไม่ลงเนื้อเกินก็จะปาดออก จะมีรอยปาดเป็นเส้นเป็นขยักที่เรียกว่ารอยขั้นบันได ด้านหลังริมขอบพระจะมีรอยแยกปริมีตังอิ๊วมาอุดอยู่ที่เรียกว่ารอยหนอนด้น บางคนเรียกรอยปูไต่ ความจริงแล้วรอยปูไต่จะเป็นหลุมเล็กๆ เป็นแนวเส้นโค้งตามด้านหลังพระ เกิดจากการปาดหลังพระก่อนถอดพิมพ์ เหมือนรอยตีนปูเวลามันเดิน รอยตีนจะเรียงเป็นเส้นโค้ง บางองค์จะมีรอยพรุนเท่ารูเข็มเรียกว่ารอยตีนปูอยู่ถ้าพระองค์นั้นใส่ อินทรีย์สารไปด้วย
ขอบข้างพระ องค์ที่เนื้อแน่นจะมีรอยร่องยุบตัวเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีก็ได้ ส่วนองค์เนื้อหยาบมีมวลสารด้านข้างจะมีรอยยุบตัวเป็นร่อง เป็นหลุมลึก เห็นเม็ดมวลสารชัดเจน บางองค์ที่ลงลักปิดทองหรือลงเทือกชาด พอรักร่อนจะเห็นลักอุดอยู่ในร่องที่แยกออกลักษณะเหมือนหนอนด้น พระสมัยหลวงวิจารณ์ที่ลงลักไว้ผิวจะไม่แตกลายงา ลายสังคโลก
3. ซุ้มและองค์พระ เส้นซุ้มจะหนาใหญ่ส่วนบนแคบกว่าส่วนล่าง เป็นรูประฆังคว่ำ ขอบเส้นซุ้มด้านนอกจะเอียงลาด ด้านในจะตั้งมากกว่า องค์พระพิมพ์ใหญ่จะเหมือนพระสมัยสุโขทัย พิมพ์เจดีย์จะเหมือนพระแก้วมรกต พิมพ์ฐานแซมจะเหมือนพระอู่ทองอกร่องผอมบาง พิมพ์เกศบัวตูมจะเหมือนพระเชียงแสน
4. ตำหนิที่ซ่อนเร้น
พิมพ์ใหญ่ มีเส้นผ้าทิพย์บางๆ ซ่อนอยู่ใต้เข่า มีหูพระลางๆ มีขอบสังฆาฏิรักแร้ขวาบางๆ หัวไหล่ขวามน หัวไหล่ซ้ายตัดเอียง ช่องรักแร้ซ้ายสูงกว่าช่องรักแร้ขวา ใต้รักแร้ขวามีรอยเข็มขีด ฐานชั้นกลางบางคนมีฐานสิงห์ชัดข้างไม่ชัดข้าง ฐานล่างหนา ตรงกลางยุบลงมองดูเป็นขอบฐาน ขอบจะชี้เข้ามุมเส้นซุ้ม

http://www.9pha.com/?cid=492795

https://royalbuddhasiam.wordpress.com/2013/11/05/พระสมเด็จวัดระฆัง/

http://art-culture-academy2.blogspot.com/2013/03/phra-somdej-wat-rakang-in-academic.html

https://plus.google.com/107096423686116093823/posts/NdETX5vVP6X

https://www.facebook.com/pages/ธรรมมณีแห่งเสน่ห์/435289646586872

http://www.9pha.com/?cid=1447924

โทร: 

ราคา: 0 บาท

สถานะ: เปิดขาย