จำนวนคนอ่านล่าสุด 976 คน

พระกริ่งเขมร ยุคต้น/ส่งแล้ว



รายละเอียด :

พระกริ่งเขมร ยุคต้น พิมพ์บัวฟองมัน สัมฤทธิ์เงิน

พระกริ่งเขมร(ตั๊กแตน) ยุคต้น พิมพ์บัวฟองมัน ฐาน๑ อุดกริ่งหลัง กริ่งดัง สัมฤทธิ์แก่เงิน เก็บรักษาอย่างดี มีคราบเบ้า ผิวยังไม่เปิด แท้ทุกสนาม

***พระกริ่งตั๊กแตน คาดกันว่า สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระกริ่งตั๊กแตนแต่ละองค์ จะไม่มีเหมือนกันสักองค์เดียว เนื่องจากการสร้าง ใช้วิธีปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ เนื้อหาขององค์พระยุคต้นๆนั้น จะเป็นเนื้อสำริดแก่เงิน ผิวจะดำคล้ำๆ พุทธคุณยอดเยี่ยมดีเด่นในทุกๆด้าน ทั้งคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด เมตตามหานิยม

***กำเนิดของพระกริ่งตั๊กแตนจากศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นนารายณ์อวตารปางหนึ่ง พระกริ่งตั๊กแตนแบบต่างๆ ที่อยู่ในความนิยม การเรียกชื่อพระกริ่งตั๊กแตนตามสัณฐานบัว การวิวัฒนาการของอักขระตามยุคตามสมัย 
***การรับนับถือศาสนาในประเทศเขมร มีการผันแปรไปมาเป็นเนืองนิตย์ ระหว่างพุทธศาสนา ลัทธิ หินยาน มหายาน และ ศาสนาพราหมณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพระมหา

กษัตริย์ในยุคนั้น สมัยนั้นพระองค์ท่านรับนับถือศาสนาหรือลัทธิใด ดังเราจะเห็นได้จากโบราณสถานเป็นหลักฐานพยานสำคัญ เช่น ที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัด.

นครราชสีมา ซึ่งสร้างในระหว่างแผ่นดิน พระเจ้าไชยวรมัน ที่ 6 (พ.ศ.1623 – 1650) ล้วนแต่เป็นของสร้างในพุทธศาสนา รู้ได้จากภาพจำหลักสำคัญๆ ต่างๆ 
ล้วนแต่เป็นเรื่องในพุทธศาสนาทั้งสิ้น 
*ผิดกับภาพจำหลักบน ปราสาทหินบนเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นของสร้างในศาสนาพราหมณ์โดยได้จำหลักเป็นเรื่องของศาสนาพราหมณ์เป็นพื้น เฉพาะที่พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี หรือที่ พระปรางค์ วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย เข้าใจว่าเป็นของสร้างในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือที่ยอดกลางเป็นที่ประดิษฐาน พระอาทิพุทธเจ้า (สร้างเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกทรงเครื่อง ข้างซ้ายมือประดิษฐ์พระโพธิสัตว์โลเกศวร หรืออวโลติเกศวร ขวามือประดิษฐานนางภควดี ปัญญบารมี 
หรือ ปรัญญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระชายาพระวัชรสัตว์ (พระอาทิพุทธเจ้า) 
*จะอย่างไรก็ดีการนับถือศาสนาของเขมรในสมัยนั้นมีการผันแปรอยู่เสมอ บางทีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงสถานที่ซึ่งสร้างไว้ในพระพุทธศาสนาไปเป็นในศาสนาพราหมณ์ฯ เป็นในพระพุทธศาสนา เรื่องนี้ไม่สู้จะยุติ 
*ข้อนี้ถ้าผู้ใดได้ไปดูโบราณสถานในเมืองกัมพูชาจะเห็นได้ทั่วๆ ไป (หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์) ถ้าจะดูใกล้ๆ มีพระนาคปรกอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานองค์หนึ่ง ซึ่งอัญเชิญลงมาจาก พระปรางค์สามยอด ที่เมืองลพบุรี ถ้าพิจารณาดูที่ผ้านุ่ง เดิมสร้างเป็นเทวรูปยังไม่ทันจะแล้วเสร็จ แก้เป็นพระพุทธรูป รอยแก้ยังมีปรากฎอยู่ ด้วยเหตุที่ประเทศเขมร แต่อดีตรับนับถือพุทธศาสนาลัทธิหินยาน มหายาน และศาสนาพราหมณ์เปลี่ยนไปมา เป็นของผันผวนซึ่งอาศัยกันและกันมาแต่บรรพกาลแล้วนั้นเอง
เป็นเหตุให้เกิดปฏิมากรรมตามนัยศาสนาพราหมณ์ขึ้นชนิดหนึ่งที่ชาวเรานิยมเรียกกันว่า 
พระกริ่งเขมร (หน้าตั๊กแตน) พระกริ่งตั๊กแตน (พระกริ่งเขมร) จัดเป็นพระกริ่งนอกอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฎนิยมเล่าหากันอย่างกว้างขวางและมีค่านิยมสูง 
มีกำเนิดมาจากประเทศเขมร ได้สร้างขึ้นตามตำรับไสยศาสตร์ อันสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ 
*ในศาสนาพราหมณ์ ได้กล่าวถึงพระผู้เป็นเจ้ายิ่งใหญ่อยู่หลายต่อหลายพระองค์ด้วยกัน เช่น พระอิศวร ผู้เป็นเจ้าโลก หรือที่เรียกว่า พระศิวะ พระวิษณุ และพระนารายณ์ ผู้เป็นใหญ่ โดยปกติแล้ว พระนารายณ์ท่านจะบรรทมสินธ์ เหนือปฤษฎางค์พระยานาค ในเกษียณสมุทรเป็นประจำ 
เมื่อเกิดเหตุการณ์ในเทวโลกก็ดีเหนือในมนุษย์โลกก็ดี เมื่อพระอิศวรผู้เป็นเจ้าจอมโลกไม่สามารถจะปราบปรามได้สำเร็จ ก็จะไปอัญเชิญพระนารายณ์ขึ้นมาจากเกษียณสมุทร อวตารจุติขึ้นมาปราบปราม ยุคเข็ญกันเสียที เป็นเช่นนี้ตลอดมา ดังมีรายละเอียดปรากฎอยู่ในเรื่อง พระนารายน์สิบปาง และจาก สมณาวตาร ซึ่งเป็นการอวตารของพระนารายณ์ปางหนึ่งที่ขึ้นมาจากเกษียณสมุทร เพื่อปราบยุคเข็ญในเทวโลก อันเป็นที่มาของพระกริ่งหน้าตั๊กแตน ซึ่งมีเค้าเรื่องมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ 
*อันว่า พระอิศวร ผู้เป็นจอมโลกซึ่งทรงมีฤทธิ์เดชเป็นอันมาก เฝ้าปกปักรักษาทั้งสามโลก ว่ากันอย่างนั้นเถอะ แต่ทว่าท่านใจดีเป็นอย่างยิ่ง มักจะเผลอตัวให้พรเหล่าอสูรผู้ประพฤติดีประพฤติชอบอยู่เสมอๆ จนกระทั่ง เป็นเรื่องเป็นราวอยู่ (ถ้ามิฉะนั้นแล้วเรื่องนารายณ์สิบปางคงจะไม่มีให้ท่านอ่านกันเป็นแน่) ใน สมณาวตาร นั้นได้กล่าวถึงอสูรตนหนึ่งผู้เป็นเจ้าพระนครโสพัศชื่อ ตรีบุรำ เจ้าอสูรตนนี้ได้แสร้ง กระทำความดีความชอบโดยซ่อนเจตนาร้ายไว้ภายในตามนิสัยอสูรร้าย ใจพาลประพฤติปฏิบัติอยู่เช่นนี้ จนกระทั่งพระอิศวรตายใจเผลอให้พรตามที่อสูรตรีบุรำขอมาว่า อย่าให้ผู้ใดฆ่าตาย ด้วยศาสตราวุธใดๆ ทั้งสิ้น เมื่ออสูรตรีบุรำ ได้รับพรจากพระอิศวรแล้วได้คิดกำเริบเสิบสานยิ่งใหญ่ โดยไปขอพรจากศิวลึงค์ในแม่น้ำสรภู ตรีบุรำเอาทูนศีรษะไว้ ยิ่งไปกว่านั้นยังคิดกำเริบฤทธิ์ เที่ยวรุกรานย่ำยีฤาษีเทวันทุกชั้นฟ้าให้ได้รับความเดือนร้อนเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีใครสามารถที่จะปราบปรามอสูรตรีบุรำได้เลย เพราะว่าฆ่าอย่างไรตรีบุรำก็ไม่ตาย แม้แต่พระอิศวร ผู้ประทานพรให้ก็ยังมีอันต้องชิดซ้ายหลีกทางให้อสูรตรีบุรำ แล้วน้ำหน้าไหนจะสู้ได้ เฉพาะนางฟ้าสาวสวรรค์กำนัลในไม่ทราบว่า ต้องตกเป็นเมียของอสูรตรีบุรำสักเท่าไร (น่าอิจฉาเสียแล้ว) เรียกกันว่า พวกเทวันตลอด 16 ชั้นฟ้าต้องเดือดร้อนเพราะอสูรตรีบุรำก็แล้วกัน เมื่อไรไม่มีใครที่จะปราบอสูรตรีบุรำได้ คงเหลือแต่พระเอกขี่ม้าขาวอยู่เพียงองค์เดียวคือ พระนารายณ์ที่บรรทมสินธ์อยู่ในเกษียณสมุทรต้องอวตารขึ้มาปราบปราม อสูรตรีบุรำ ในสมณาวตาร นั้นกล่าวว่า แม้แต่พระนารายณ์ก็ยังสู้ฤทธิ์อสูรตรีบุรำไม่ได้ ต้องใช้เล่ห์กระเท่ เนรมิตเป็นพระไปขอบิณฑบาตศิวลึงค์จากอสูรตรีบุรำ เมื่ออสูรตรีบุรำหลงกลมอบศิวลึงค์ให้ พระนารายณ์ไปแล้ว จึงเอากล่องแก้วส่องถูกอสูรตรีบุรำถึงแก่ความตายในทันที เรื่องสมณาวตารซึงเป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ปางหนึ่งก็เอวังลงเพียงเท่านี้ 
*จากเค้าเรื่องใน สมณาวตารนี้เอง  พระนารายณ์ปางนี้ท่านมีฤทธิ์มีเดชมาก จึงนำเอามาสร้างเป็นรูปเคารพ มีชื่อเรียกว่า พระกริ่งเขมร หรือพระกริ่งหน้าตั๊กแตนนั่นเอง 
ฉะนั้น กำเนิดของพระกริ่งเขมร หรือพระกริ่งหน้าตั๊กแตน จึงมิใช่รูปจำลองของพระไภษัชยคุรุ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งอวตารลงมาเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หายจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ตายนัยพุทธศาสนาลัทธิมหายานไปประเทศจีนและธิเบต แต่ทว่าสร้างเป็นรูปจำลองขององค์พระนารายณ์ในสมณาวตาร ดังพรรณนาความละเอียดไว้ในตอนต้นแล้ว 
*กำเนิดของ พระกริ่งในประเทศจีนไทย และ ธิเบต จึงมีความแตกต่างกับพระกริ่งของเขมรที่เรียกกันว่า พระกริ่งตั๊กแตน ด้วยประการฉะนี้

**** ขอขอบคุณ บทความจาก อุบลคณาจารย์พระเครื่อง : WWW.UBONAMULET.COM 
 

โทร: 098-473-4410

ราคา: 0 บาท

สถานะ: ขายแล้ว