พระสมเด็จ หลัง เบญจภาคี/พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ยุคปลาย เนื้อวรรณะจำปา โกเด(เหลืองอ่อนออกน้ำตาล) ด้านหลังกดพิมพ์องค์พระ พระสมเด็จองค์เล็กเนื้อทองสัมฤธิ์
รายละเอียด :
4328 พระสมเด็จ เนื้อผง หลัง เบญจภาคี เนื้อโลหะ ใข้มือถือ ถ่ายแสงธรรมชาติ มี1ชุด จัดถ่าย แบบกลุ่ม และ แบบแถวตรง คือ ชุดเดี่ยวกัน
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ยุคปลาย เนื้อวรรณะจำปา โกเด(เหลืองอ่อนออกน้ำตาล)ด้านหลังกดพิมพ์องค์พระ พระสมเด็จองค์เล็กเนื้อทองสัมฤธิ์
--------------------------------------------------------------
พระ5องค์ ชุด มิใช่องค์ในบทความ
----------------------------------------------------------------
ธรรมมณีแห่งเสน่ห์Amulet
17 กันยายน 2018 ·
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ยุคปลาย เนื้อวรรณะจำปา โกเด(เหลืองอ่อนออกน้ำตาล) บรรจุผนึก เบญจภาคี เนื้อโกเด พระสมเด็จยุคปลาย บรรจุผนึกเนื้อทองสัมฤทธิ์ เบญจภาคี
ประวัติเนื้อโกเด เซียนพระ..เล่ากันต่อ ๆ กันมาว่า เมื่อ 40-50 ปีก่อนสถานที่..คลองรังสิต มีเจ้าของเรือค้าขายชื่อ "โกเด" นำพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรง,เนื้อมวลสารดังจะกล่าวดังต่อไปนี้เพื่อให้ เหล่าเซียนพระทั้งหลายได้ชมกัน..เนื่องจากความสวยงามของพิมพ์ทรง,ความคมชัด ของแบบพิมพ์,และเนื้อมวลสารที่ให้เต็ม ๆ ของพระสมเด็จวัดระฆังเนื้อดังกล่าว..ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังมากไปทั่ว.. เหล่าเซียนพระจึงตั้งชื่อเนื้อ และพิมพ์ที่คมชัดดังกล่าวว่า "เนื้อโกเด"
" เนื้อพิเศษโกเดเป็นเนื้อที่มีความสวยงาม เนื้อแบบนี้เองที่เรียกเนื้อโกเด สร้าง พ.ศ. 2411-2415 "
พระสมเด็จเนื้อพิเศษเนื้อโกเด
เนื้อพิเศษโกเดเป็นเนื้อที่สวยงามแปลกและพระพุทธพิมพ์ของเนื้อนี้ยังสวยงามสุดซึ้งใน ทุกๆด้าน
พระเนื้อพิเศษหรือที่เรียกกันว่าเนื้อโกเด เป็นเนื้อพระสมเด็จที่แปลกและสวยงามเป็นพิเศษ มีความละเอียดนุ่มจัดว่าเป็นเนื้อที่ละเอียดมากที่เดียว เนื่องจากการบดด้วยเครื่องบดที่ทันสมัยนั่นเอง พระเนื้อนี้เป็นพระที่สร้างราวปีพ.ศ 2412 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความทันสมัยมากขึ้นในการสร้างพระ พระชุดนี้เป็นพระที่แกะแม่พิมพ์ใหม่ทั้งหมด จะสังเกตุได้ว่าเป็นแม่พิมพ์ที่คมชัดสวยงามมากที่สุดชนิดที่ว่าหูตากระพริบได้กันเลย และแม่พิมพ์ที่แกะใหม่นี้ ก็พบว่ามีเนื้อพิเศษนี้อย่างเดียวไม่พบพระพิมพ์นี้แต่เนื้อแบบเดิมๆ หรือเนื้อนิยม อาจมีก็เป็นได้ครับแต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนยังไม่เคยพบเห็นแม่พิมพ์ชุดนี้แต่เป็ นเนื้อนิยม แม่พิมพ์ที่แกะใหม่นี้พบว่ามีทุกพิมพ์ นะครับ เท่าที่พบเห็นมี พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เจดีย์ พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์อื่นๆแต่พบน้อยครับ ที่พบมากคือพิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ใหญ่ทรงจีวร)พระชุดนี้จัดเป็นพระที่สวยงามครับ มีความโดดเด่นที่พิมพ์ทรงที่สวยงามคมชัด และยังเป็นเนื้อเดียวที่เหมือนๆกันทุกองค์ จะต่างกันก็เรื่องของพิมพ์และก้อนมวลสารที่พบเท่านั้นแต่โดยรวมเป็นพระสมเด็จที่มีเน ื้อเหมือนกันทุกๆองค์ แตกต่างบ้างเล็กน้อย และยังพบว่ามีหลากหลายสี ซึ่งเป็นสีประจำวันแบบมีครบเลย และยังพบสีดำด้วย...ที่บอกว่าเนื้อเหมือนกันหมายถึงเนื้อพื้นนะครับเป็นเนื้อที่มีคว ามละเอียดสูงเห็นตาเปล่าก็ทราบกันเลยครับ และมวลสารที่พบก็มากน้อยต่างกันนิดหน่อยแต่ก็จัดว่าใกล้เคียงกัน ข้อสังเกตุอีกอย่างของพระชุดนี้ มักมีก้อนมวลสารเก่าก้อนใหญ่ๆกันเลยโชว์ที่ด้านหน้าพระเลย คงเป็นการตั้งใจทำโดยการโรยก้อนมวลสารเก่าก่อนแล้วจึงกดพิมพ์ พระเนื้อนี้เป็นเนื้อที่มีเสน่ห์ในตัวครับเมื่อส่องดูจะมีความนุ่มสวยงามลึกซึ้งชวนม องกันเลยและยังพบมวลสารต่างอีกมากมายไม่ต่างจากเนื้อนิยม อีกทั้งยังมีธรรมชาติอีกมากให้เห็น เช่น หนอนด้น พรุนเข็ม หลุมบ่อ ยุบ ย่อ ย่น มีมาครบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มนุษย์ไม่สามารถทำเลียนแบบได้เลยธรรมชาติกาลเวลาเท่านั้นเป็นผู้กำห นดให้เป็น อย่างที่บอกกันแล้วครับว่าเป็นเนื้อที่สวยงามแปลกตา การสร้างพระชุดนี้ยังเป็นการสร้างแบบเดิมๆ คือมีการกดพิมพ์แล้วตัดด้วยไผ่หรือตอกตัด และมีการปาดหลังสวยงามแบบเป็นธรรมชาติ ร่องรอยของการสร้างแบบเดิมมีให้เห็นมากมาย...ลองชมภาพแล้วจำกันนะครับพิมพ์แบบนี้ เนื้อแบบนี้ นี่แหละครับเนื้อพิเศษ หรือเนื้อโกเด.
ที่มาของคำว่าโกเด มาจากไหน...! เล่าขานกันต่อๆมาเขาเล่าว่า...เฮีย ! เด... เป็นชาวจีนเป็นพ่อค้าอยู่คลองรังสิต คงเป็นญาติ เฮียฮับ หรือโกฮับ โกฮับขายก๋วยเตี๋ยว แต่โกเดไม่ทราบขายอะไร...เป็นผู้ที่นำมาเผยโฉมให้เซียนพระทั้งหลายได้เห็นกัน...
หลังจากนั้นก็เลยเรียกกันว่า เนื้อโกเด (โก...หมายถึง น้า ...อาโก...อากู )
พระสมเด็จฯเนื้อโกเด เป็นพระที่สร้าง 2412 พบว่าทันสมัยแล้วของการสร้างพระ แต่พระชุดนี้ยังคงสร้างแบบเดิมคือสร้างแบบกดพิมพ์แล้วตัดด้วยไผ่ตัดคือตัดจากหลังไปห น้า และก่อนที่จะตัดยังพบมีการปาดหลังก่อนตัด
หลักฐานที่ฟ้องชัดที่สุดก็คือองค์พระที่พบการตัดที่สวยงามมีธรรมชาติให้เห็นมากมาย สวยงามแบบครบสูตรของการพิจารณาพระวัดระฆังกันเลย มีทั้งรอยปาด รอยตัด ที่สวยงาม
พระสมเด็จวัดระฆังสามารถแยกเนื้อได้โดยพอสังเขปดังนี้
1.เนื้อผง 2.เนื้อกระเบื้อง 3.เนื้อดินเผา 4.เนื้อโลหะ
เนื้อผง.....สามารถแยกได้ออกเป็นหลายเนื้อหลายสี ขึ้นอยู่กับมวลสารหลักและการเก็บรักษาที่ต่างกัน
เนื้อพระสมเด็จโดยเฉพาะเนื้อผงนั้น มีมากมายกว่านี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมจะหนักไปทางด้านใดเท่านั้น ในที่นี้จะขอนำเสนอเนื้อพระสมเด็จไว้พอเป็นสังเขป
1.1.เนื้อปูนเปลือกหอยสุก
1.2.เนื้อปูนเปลือกหอยดิบ
1.3.เนื้อปูนเพชร
1.4.เนื้อปูนขาว ลงรักปิดทอง
1.5.เนื้อน้ำมัน,เนื้อขนมเข่งหรือเนื้อเทียนชีย
1.6.เนื้อมวลสาร(ข้าวสุก,เศษจีวร,ทองคำเปลว)
1.7.เนื้อแป้งข้าวเหนียว
1.8.เนื้อผงใบลานเผา
1.9.เนื้อชานหมาก
1.10.เนื้อเกสรดอกไม้
1.11.เนื้อดินสอเหลือง
1.12.เนื้อหินลับมีดโกน
1.13.เนื้อแตกลาย
1.14.เนื้อว่านสบู่เลือด(ว่านมหาราช)
1.15.เนื้อกระยาสารท
1.16.เนื้อโกเด
1.17.เนื้อผสมปุนเปลือกหอยสุก/ดิบ
1.18.เนื้อกล้วยหอมจันทร์
สีของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
สีของพระสมเด็จวัดระฆังส่วนมากที่พบ ได้แก่
สีขาว,
สีครีมคล้ายนมข้น,
สีครีมอมน้ำตาล,
สีดอกพิกุล,
สีเทา,
สีเขียวหินครก,
สีเขียวก้านมะลิ,
สีน้ำตาลเข้ม,
สีครีมอมแดง ,
รวมไปถึงสีประจำวันซึ่งจะพบมากใน
พระสมเด็จเนื้อโกเด
และสีอื่นๆๆ
จะเห็นได้ว่ามวลสารพระสมเด็จนั้นมีมากมายหลายชนิดและเกือบทุกชนิดจะมีให้เห็นในเนื้อ พระสมเด็จทุกองค์ไม่มากก็น้อยบางชนิดก็อยู่ข้างในไม่สามารถเห็นได้และขึ้นอยู่กับเนือพื้นของแต่ละองค์
การพิจารณาหรือการส่องนั้นไม่ใช่ว่าส่องแล้วเห็นหมดทุกอย่างนะค่ะต้องใช้เวลาและส่องแบบค่อยๆดูไปท่านก็จะค่อยๆพบมวลสารแต่ละอย่างออกมาให้ท่านได้เห็น
มวลสารนั้นมีมากมายแต่ที่จัดว่าเป็นมวลสารหลักๆที่ต้องพบเห็นก็คือ
ผงสมเด็จ(หรือผงกฤตยาคม)กรวดเทา อิฐแดง ก้อนขาว กากดำหรือผงใบลานเผา หรือบางท่านก็เรียกกันว่า จุดดำ จุดแดง จุดขาว จุดคราม ก็แล้วแต่...
และที่สำคัญอีกอย่าง จากประส[การณ์ที่ส่องพระมาพระสมเด็จทุกอง ค์จะต้องพบ ผงเงิน ผงทอง สะท้อนแสงออกมาให้เห็นฝังอยู่กับเนื้อพระจะสังเกตุได้ว่าเป็นจุดสีดำขุ่นๆแต่เมื่อส่องพลิกดูจะสะท้อนเป็นสีเงินและบางจุดจะเป็นสีทองต้องส่องกับไฟหรือแดดจะเห็นชัด อย่างน้อยทุกองค์ต้องพบเห็น
ความต่างของปูนสุก และปูนดิบ (หลักวิทยาศาสตร์)
ในการตกตะกอนของปูนสองชนิด คือ หินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) ที่น่าจะเป็นสารประกอบในระบบปูนดิบ ที่ยังไม่ผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง ทำให้ยังเป็นโมเลกุลของแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่ และ ปูนผงหรือปูนขาว (แคลเซียมออกไซด์ เมื่อแห้ง หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เมื่อมีความชื้น) และเกิดเป็น แคลเซียมไบคาร์บอนเนตเมื่อทำปฏิกริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ที่น่าจะเป็นสารประกอบในระบบปูนสุก ที่ผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง ไล่คาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากโมเลกุลของปูน
โมเลกุลของปูนทั้งสองชนิดนี้จะมีการละลายน้ำที่ต่างกันมาก คือ แคลเซียมคาร์บอเนตจะละลายน้ำได้น้อย
ในขณะที่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ และไบคาร์บอเนต จะละลายได้มากกว่า
ดังนั้นการไหลของน้ำปูนออกมาพอกผิวระยะแรกๆจึงเป็น "ผิวนวล" และ "ผงแป้ง" ของแคลเซียมไบคาร์บอเนต ที่ตกตะกอนแบบไม่มีผลึก (Amorphous) แต่ถ้ามีมาก ก็จะคลุมหนาขึ้นเรื่อยๆ มีลักษณะเหมือนผงแป้งคลุมองค์พระทั้งองค์ พระลักษณะนี้เรียกว่า พระเนื้อปูนสุก ดังนั้น ผิวพระเนื้อปูนสุกจะไม่แน่นแข็ง เกิดรอยขีดข่วนและสึกกร่อนได้โดยง่าย
ปูนดิบ
ในขณะที่แคลเซียมคาร์บอเนตที่ละลายน้ำได้น้อยกว่าจะค่อยๆละลายออกมาพอกผิวองค์พระทีละน้อยๆๆ แต่จะแข็งแน่นแกร่ง ผิวเรียบมัน สะท้อนแสงแบบผิวแก้ว หรือผิวกระเบื้องเคลือบ เกิดลักษณะที่เรียกว่า พระเนื้อปูนดิบ แต่ในความเป็นจริงก็มีเนื้อผสมกันในสุดส่วนต่างๆ ตั้งแต่แก่ปูนดิบ ปูนผสม จนถึงแก่ปูนสุก นอกจากนี้ก็ยังมีมวลสารที่ทั้งละลายน้ำได้และน้ำมันเข้ามาเป็นตัวแปรของการตกตะกอน
ทำให้เกิดสี ความแข็ง ชั้นที่ผิวพระ ความเรียบมัน และการตกตะกอนที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่มีพระองค์ใดที่เหมือนกัน 100% แต่ละองค์มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ทั้งผิว สี ความแกร่ง ความมัน และพิมพ์ทรงที่แตกต่างด้วยการงอกของปูนที่ต่างกันฯ
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ยุคปลาย เนื้อวรรณะจำปา โกเด(เหลืองอ่อนออกน้ำตาล)
ด้านหลังกดพิมพ์องค์พระ พระสมเด็จองค์เล็กเนื้อทองสัมฤธิ์
https://plus.google.com/10709642368611609…/posts/3smz9rzxGC3
http://www.9pha.com/?cid=184408
http://www.meeboard.com/view.asp…
http://www.g-pra.com/auctionc/view.php?aid=5997713
โทร: 0953395801
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระเบญจภาคี