พระสมเด็จ ขอบล่างฟันหนู หยดน้ำยาหาอายุพระ โดยประมาณ
รายละเอียด :
4659
พระองค์ในภาพมิใช่องค์ในบทความ
----------------------------------------------------
Chok Permpoolเอราวัณกำลังแผ่นดิน๓๓ Erawan33 Real Amulet Group
20 มีนาคม 2015 · มีการแก้ไข ·
พระสมเด็จ พิมพ์ขอบล่างฟันหนู
พระสมเด็จพิมพ์ขอบล่างฟันหนู ชื่อฟังดูแปลกและไม่คุ้นหู เพราะไม่เป็นที่นิยมของเซียนทั้งหลาย จึงไม่ใคร่ได้ถูกกล่าวถึงในตำราหรือนิตยสาร ความจริงแล้ว พระสมเด็จพิมพ์นี้มีความงดงามในพุทธศิลป์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพิมพ์ใด หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นพิมพ์ที่งดงามที่สุดก็ว่าได้
เหตุที่พิมพ์นี้ไม่ใช่พิมพ์นิยมของวงการเซียนพระ อาจเป็นได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมาไม่ปรากฏพระพิมพ์นี้ เมื่อไม่รู้จัก จึงไม่มีการเล่นหาหรือสะสม
หนังสือ "พระสมเด็จวัดระฆัง" ของ "ขจรพรรณ สวยฉลาด" ให้ข้อมูลไว้ว่า เป็นพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ กลุ่ม E (คือกลุ่มพิมพ์ที่ไม่เป็นที่นิยม)
พระสมเด็จพิมพ์นี้ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกไว้ มีพลังพุทธคุณสูงล้ำไม่น้อยไปกว่าพระวังหน้า หรือ วังหลวง พลังออกจะมาแรงและเร็วกว่าพระวังหน้าหลาย ๆ องค์ด้วยซ้ำไป
เมื่อพิจารณาถึงพลังพุทธคุณดังกล่าวประกอบกับความไม่เป็นที่รู้จักของเซียนพระแล้ว ทำให้เกิดข้อสงสัยเป็นคำถามคาใจว่า พระพิมพ์นี้เป็น พระวัดระฆัง หรือ เป็นพระสายวัง กลุ่มเดียวกับพระวังหน้าหรือวังหลวง กันแน่
ในข้อนี้ ศาสตราจารย์อรรคเดช กฤษณะดิลก ได้บรรยายไว้ในหนังสือ "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง" ให้ชื่อเรียกว่า "พระสมเด็จวัดระฆังวังหลวง" โดยหมายถึง พระสมเด็จที่สร้างขึ้นในวัดระฆัง ปลุกเสกโดย สมเด็จพุฒาจารย์โต แล้วนำไปเก็บรักษาในวัดซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐาน
พระสมเด็จ พิมพ์ขอบล่างฟันหนู เท่าที่พบแล้ว มีไม่น้อยกว่า 6 แม่พิมพ์ และพบอยู่ในสภาพต่าง ๆ กัน บางองค์ขาว เรียบนวล บางองค์แตกลายงา ลายไข่นกปรอด บางองค์มีคราบฝุ่น ความชื้น บางองค์มีคราบเหมือนยางรัก สำหรับด้านหลังองค์พระมีแบบเรียบกับแบบหลังคลื่นหรือขั้นบันได
ปัจจุบันมีการประกวดพระพิมพ์นี้ในหมู่ผู้นิยมและสะสมบ้างตามสมควร เช่น จากนิตยสารบุญพระเครื่อง
ผู้ที่ศรัทธาและเชื่อมั่นยังคงพอตามหาพระสมเด็จพิมพ์ขอบล่างฟันหนูนี้ได้ตามตลาดพระทั่วไป พระที่เซียนเมิน พระที่สายพระไม่สนใจ พระที่แผงพระเหมามาขายในราคา..... แต่มีพุทธคุณสูงล้ำจึงยังคงพบเห็นอยู่เสมอ
โทร: 0971297060
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระสมเด็จ