พระสมเด็จเบญจรงค์ พระสมเด็จวังหน้า
รายละเอียด :
46**
พระองค์ในภาพมิใช่องค์ในบทความ
***************************
บทความจาก
Chok Permpoolเอราวัณกำลังแผ่นดิน๓๓ Erawan33 Real Amulet Group
24 มีนาคม 2015 · มีการแก้ไข ·
พระสมเด็จเบญจรงค์ พระสมเด็จวังหน้า
พระสมเด็จวังหน้า (กรุวัดพระแก้ว) พระสมเด็จเบญจรงค์ เป็นอย่างไรแตกต่างจากพระสมเด็จวัดระฆังฯอย่างไร
พระสมเด็จวังหน้าจากหลักฐานและตำราต่างๆกล่าวกันว่ามีการสร้างครั้งแรกปี พ.ศ. 2400 เป็นต้นมาและทำการสร้างมาเรื่อยๆจนกระทั่งปีพ.ศ. 2411 ได้จัดสร้างครั้งใหญ่เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพิธีมหามงคลที่ยิ่งใหญ่ของสยามประเทศ ในวโรกาสที่ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รัชกาลที่ 5 ทรงขึ้นครองราชย์ พิธีการต่างๆเป็นพิธีหลวงจึงมีการจัดทำพิธีมหาพุทธาภิเษกต่างๆกันที่วังหน้าโดยมีท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆษิตาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
โดยทำพิธีมหาพุทธาภิเษกที่ วัดบวรสถานสุทธาวาส(วัดพระแก้ว) โดยทำพิธีมหาพุทธาพิเสกที่อุโบสถประจำวังหน้า ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนเป็น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร...
การจัดสร้าง มีกลุ่มคณะต่างๆในวังหลวง วังหน้า และ วังหลัง อีกมากมายหลายๆคณะร่วมกันจัดสร้าง แต่ผู้ที่จัดว่าเป็นหัวเรือใหญ่ในการจัดสร้าง...คือ " กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ " อุปราชองค์สุดท้ายแห่งราชวงค์จักรี ร่วมกับ " เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วมบุญนาค) หรือ เจ้าคุณกรมท่า " นั่นเอง จึงเป็นที่มาอีกชื่อว่าสมเด็จกรมท่า การจัดสร้างในครั้งนั้นถือเป็นการจัดสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็ว่าได้
การสร้างพระพุทธพิมพ์ก็พบว่ามีมากมายหลายแม่พิมพ์ด้วยกัน ท่านเจ้ากรมพระราชวังบวรวิไชชาญ และ ท่านเจ้าพระยาภานุวงค์ มหาโกษาธิบดี ได้รวบรวมนำช่างสิบหมู่ ในวังหน้าและช่างหลวงในมหาราชวัง และ ยังรวมถึงช่างชาวจีน อีกหลายๆท่านหลายๆกลุ่มร่วมกันแกะแม่พิมพ์ พระพุทธพิมพ์ต่างๆจึงมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากและหลากหลาย ช่างหลวงที่เข้าร่วมในพิธีในครั้งนี้ คือ
ท่านหลวงสิทธิ์ประสงค์ โยธารักธ์ และท่านหลวงวิจารย์ เจียรนัย ทั้ง 2 ท่านจัดเป็นช่างหลวงที่มีฝีมือดีที่สุดในสมัยนั้นเป็นผู้ควบคุมการแกะแม่พิมพ์ และร่วมกับช่าง 10 หมู่ ของวังหน้า ผลงานการสร้างที่ออกมา จึงสวยงามและสมบูรณ์แบบมากที่สุด...และยังเป็นการสร้างที่ค่อนข้างทันสมัยการจัดสร้า งในครั้งนั้นได้นำผงปูนและผงมวลสารต่างๆมาจากประเทศจีนอีกด้วย และการสร้างพระในครั้งนั้นยังมีการนำผงทองหรือผงตะไบทองที่ได้จากการตะใบตกแต่งพระแล ะเศษทองที่ได้จากการแกะจารย์แผ่นยันต์ต่างๆผสมลงไป...การสร้างพระในครั้งนั้น เป็นการสร้างร่วมกัน ทั้งวังหลวง วังหน้า และวังหลัง และยังมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อีกมากมาย
ท่านเจ้ากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ จึงได้มีคำสั่งให้คณะผู้ร่วมสร้างนำเครื่องประดับอัญมณีต่างๆมาร่วมประดับกับองค์พระ พุทธพิมพ์ เพื่อเป็นศิริมงคลบ่งบอกและแสดงถึงบุญบารมี และอำนาจวาสนา
พระชุดที่มีการประดับด้วยอัญมณีนั้นสร้างจำนวนเท่าใดนั้นไม่ทราบแน่นอนบางส่วนที่สร้ างก็แจกจ่ายเลยจะไม่พบการลงรักปิดทองและบางส่วนก็เพื่อบรรจุลงกรุเจดีย์ มีทั้งที่เจดีย์วังหน้าและที่วัดระฆังฯ อีกส่วนแจกจ่ายกันในตระกูลและขุนนางชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นเกียรติแก่วงค์ตระกูล...ผู้ที่ได้เห็นและได้ใกล้ชิดเท่านั้ นจึงจะได้พบเห็น...สำหรับผู้ที่ไม่เคยทราบประวัติกันเลยก็อาจไม่เข้าใจ ทุกวันนี้ยังพอพบเห็นได้จากผู้หรับผู้ใหญ่ในตระกูลต่างๆได้เก็บและรักษาไว้สืบไป ปัจุบันนี้มีพระที่ประดับอัญมณีออกมามากมายจึงต้องพึงระวังกันให้มากนะครับในการที่จ ะเก็บสะสมของแท้ๆมีแน่นอนแต่ต้องพึงระวังนะครับ...การที่จะหลุดรอดออกมาวางขายกันแบบ ราคาไม่กี่บาทคงยาก เพราะผู้ที่ได้ครอบครองต่างก็หวงแหนยิ่งนัก จึงจัดได้ว่าเป็นพระสมเด็จอีกรุ่นที่สูงค่า
การสร้างพระของวังหน้าในช่วงแรกๆจะมีการสร้างแบบเก่า คือมีการสร้างแบบกดพิมพ์แล้วตัดข้างด้วยตอกเป็นการสร้างแบบเดียวกับวัดระฆังฯ
เนื้อพระที่นำมาสร้างนั้นพบว่ามีหลายๆเนื้อหลาย ๆอย่างด้วยกัน
แต่ส่วนมากที่พบจะเป็นเนื้อ ปูนเพชร ปูนกังไสและปูนสีต่างๆ และนำรัก ชาด และสารเคลือบผิว อีกมาก ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศจีน...(เทือกเขาเมืองอันฮุย ) โดยท่านกรมเจ้าคุณกรมท่าท่านเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ซึ่งช่วงนั้นมีการค้ากับชาวจีนและมีชาวจีนเป็นจำนวนมาก อพยบมาอาศัยสยามประเทศของเรา
และเป็นช่วงที่ฑูตานุทูตของไทยไปเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อทำการค้าขายกับต่างประเทศจึงมีการนำผงและของมงคลต่าง มาจากจีนเพื่อร่วมทำการสร้างรวมกับผงของสมเด็จ ของการสร้างพระในยุคนั้น แต่อย่างไรก็ตามเนื้อพระที่พบในยุคนั้นจะเน้นไปทางเนื้อปูนเพชร และปูนกังไส และปูนสีต่างๆเป็นส่วนใหญ่แต่ก็จะพบมวลสารขององค์สมเด็จท่าน อย่างแน่นอนจะมากหรือน้อยก็ต้องมีให้เห็นครับ พระสมเด็จวังหน้าผู้ที่จัดสร้างคือ...ท่านเจ้ากรมวังหน้าก็จริงแต่ที่สำคัญที่สุดคือ
ท่านสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี ท่านจะเป็นประธานฝ่ายสงฆ์และร่วมปลุกเสกด้วยทุกครั้งไปจึงไม่ต่างอะไรกับวัดระฆังฯแล ะ ยังพบว่ามีผู้ร่วมปลุกเสกซึ่งเป็นเกจิดังในสมัยนั้นอีกมากมายหลายๆท่านด้วยกัน...!ลอ งมาชมเนื้อพระสมเด็จวังหน้าชนิดที่สร้างเพื่อบรรจุลงกรุกันครับเนื้อส่วนใหญ่จะมีชาด รัก ลงทับแบบหนาๆทั้งหน้าและหลัง
เจ้ากรมวังหน้าในสมัยนั้นมีตำแหน่งเป็นถึงรองพระเจ้าแผ่นดินกันเลยครับ ท่านทรงพระนาม ว่า สมเด็จกรมพระราชวังบวรไชยชาญ ท่านทรงเป็นโอรสของ (พระบามสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระอนุชาของ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)รัชกาลที่ 4
สมเด็จเจ้ากรมวังหน้า ท่านทรงมีพระชนมายุ มากกว่า (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) 15 พระชันษา และท่านทรงเป็นที่รักและสนิทสนมของขุนนางทั้งหลายทั้งวังหน้าและวังหลวง ท่านทรงเป็นผู้ที่มีวิชาความรู้มากมายหลายๆด้านด้วยกันท่านจึงเป็นที่ปรึกษาของขุนนา งชั้นผู้ใหญ่มากมายทั้งในวังหน้าและวังหลวง ท่านเจ้ากรมวังหน้า ท่านเป็นคนที่รักสันโดษและท่านมักจะหลบไปเรียนวิชาต่างๆนอกเมืองเสมอ จากหลักฐานท่านทรงโปรดเสด็จมาที่(วังสีทา) ซึ่งตั้งอยู่ที่ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีในปัจจุบันยังคงมีหลักฐานให้เห็น ซึ่งเสด็จบิดาท่าน (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว )ทรงสร้างไว้
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชาในรัชกาลที่ 4
การสร้างพระของวังหน้าทำพิธีปลุกเสกในวังหน้าได้ทำการ " อัญเชิญเทพยดาประจำองค์พระมหาก ษัตริย์เจ้าทุกๆพระองค์ พระพรหม พระยม พระกาฬ พระสยามเทวาธิราช และพระนารายณ์ลงมาประทับฤทธิ์ "
จัดว่าเป็นพิธีการที่ไม่ธรรมดาแน่นอนพิธีการต่างๆต้องยิ่งใหญ่ขั้นตอนทุกขั้นตอนต้อง ถูกต้องและแม่นยำอีกทั้งผู้ที่จัดสร้างต่างก็มีวิชาอาคมและความรู้ในทุกๆด้านจึงไม่แ ปลกเลยที่จะกล่าวว่าเป็นพระที่มีตระกูลสูงที่สุดและศักสิทธิ์มีอานุภาพเข้มขลังมากที่สุดอีกทั้งยังหลากหลายเนื้อและมวลสารแร่ธาตุอันเป็นมงคลและมีความขลังในตัวอีกมากมา ยหลายชนิด เพราะการสร้างพระจากที่ต่างๆ คงเทียบไม่ได้อย่างแน่นอน อีกทั้งพระเกจิต่างๆที่ร่วมปลุกเสกนั้นย่อมไม่ธรรมอย่างแน่นอน
ในงานพระราชพิธีพุทธาภิเษก
วัตถุมงคลปี ๒๔๑๑ ที่โบถส์วังหน้า พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากด้วยวิชาอาคมหลายๆด้านถูกนิมนต์ให้เข้าร่วมพิธี พุทธาพิเษกในครั้งนั้น โดยมี สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปูคำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และเกจิดังๆ อีกมากมายในสมัยนั้นก็ได้ถูกนิมนต์มาร่วมอธิฐานจิตในงานครั้งนี้...พิธีการทั้งหมดของงานมหาพุทธาภิเษก พระสมเด็จในครั้งนั้นทำที่วัดบวรสถานสุทธาวาส มีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นประธาน ทำพิธีที่ยิ่งใหญ่เป็นพิธีหลวงท่านผู้ศึกษาก็ลองคิดดูว่าอิทธิพลังต่างๆจะเข้ม ขลังมากน้อยขนาดไหน.…
การสร้างในครั้งนั้นสร้างกันเป็นจำนวนมาก พระบางส่วนก็แจกจ่ายกันไปในวังหลวง วังหน้า และวังหลัง แจกเฉพาะพวกขุนนางในวังเท่านั้นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ชาวบ้านต่างๆตามชาญเมืองจะไม่ได้รับและได้เห็นพระชุดนี้กันเลย.....พระบางส่วนถูกบรร จุลงเจดีย์ทอง ที่วังหลวงและบรรจุใต้ฐานพระและบนเพดานโบถส์ ในโบถส์ (วัดบวรสถานสุทธาวาส) ที่ทำการพุทธาภิเษกนั่นเอง และยังนำบรรจุที่เพดานโบถส์ในวังหลวง (วัดพระแก้วมรกรต) พระที่ทำการบรรจุที่เพดานโบถส์นั้นมีมากมายหลายๆแบบมีทั้งพระพุทธพิมพ์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่และยังพบว่ามีพระพุทธรูปอีกด้วยรวมถึงรูปหล่อองค์สมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี
และยังพบ องค์สมเด็จพุฒาจารย์(โต) ในรูปแบบต่างๆอีกมากมาย เช่นสมเด็จพายเรือ บาตรน้ำมนต์ และสิ่งของต่างๆที่เกี่ยวของกับองค์สมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี อีกมากมาย....สิ่งของต่างๆรวมถึงพระพุทธพิมพ์จะทำการลงรักปิดทองล่องชาดไว้อย่างดีเพื่อให้มีความคงทนงานทุกชิ้นที่พบจะมีการลงรักปิดทองทั้งหมด การบรรจุบนเพดานโบถส์นั้นได้บรรจุลงกล่องลังไม้อย่างดีหลายลังและยังพบว่ามีการประดั บเพดานโบถส์ด้วยพระพุทธพิมพ์ที่ยึดติดกับแผ่นไม้ประดับฝ้าเพดานโบถส์เพื่อความสวยงาม กันอีกด้วยและการจัดวางยังเลียงตามลำดับชั้นสื่อถึงความหมายต่างๆได้ดี....
พระวังหน้า 2411 ยังพบอีกเนื้อที่เรียกกันว่าเนื้อเบญจรงค์หรือเบญจศิริ มีหลากหลายสีด้วยกันผงปูนนี้ ท่านเจ้ากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญท่านเสด็จประเทศจีนและนำเข้ามา พระพุทธพิมพ์เนื้อนี้มีหลายสี มีสีแดง เขียว ดำ และชนิดที่รวมกันเลยหลากหลายสีในองค์เดียวหรือที่เรียกเนื้อเบญจรงค์
พระเนื้อนี้มีทั้งแบบหลังเลียบและหลังปั๊มตราสัญลักษณ์ต่างๆเช่นตราครุฑ ตราแผ่นดิน เป็นต้น พระชุดนี้ยังพบทั้งชนิดลงรักปิดทอง และไม่ลงรักปิดทอง พระเนื้อเบญจรงค์ได้ถูกบรรจุไว้ทั้ง 2 ที่ทั้งที่โบถส์วัดบวรสถานสุทธาวาส(วัดพระแก้ววังหน้า)และยังพบที่วัดพระแก้วในวังหลวง (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) วัดพระแก้วมรกรต
http://www.meeboard.com/view.asp?user=saravutrasameepen&groupid=46&rid=328&qid=1
โทร:
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระสมเด็จ