จำนวนคนอ่านล่าสุด 3139 คน

พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อตะกั่วถ้ำชา 


พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อตะกั่วถ้ำชา 

พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อตะกั่วถ้ำชา 

พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อตะกั่วถ้ำชา 

พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อตะกั่วถ้ำชา 


รายละเอียด :

5083

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เนื้อตะกั่วถ้ำชา 

**************************

ขอบคุณ เจ้าของบทความ

 

************พระสมเด็จที่สำคัญและหายากอีกประเภทหนึ่งคือ พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชา หรือเนื้อห่อชา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ท่านนำเอาเนื้อตะกั่วที่ใช้สำหรับห่อใบชาที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงในขณะนั้น มาสร้างเป็นเนื้อพระสมเด็จ มีข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า นอกจากเนื้อตะกั่วถ้ำชาแล้วยังผสมเนื้อเหล็กไหลไพลดำ

เนื้อตะกั่่วถ้ำชา คำว่า "ตะกั่่วถ้ำชา" มาจากกล่องหรือกระป๋องที่ใส่ใบชาในสมัยนั้นท่านเอาเศษที่เหลือใช้มาทำพระ พระตะกั่วถ้ำชานี้มี ๒ แบบคือ

๑.แบบทุบ ท่านจะเอาแผ่นตะกั่วบางๆมาทุบกดลงแม่พิมพ์เป็นทรงพระ แบบทุบนี้สามารถม้วนได้คนในสมัยนั้นบางคนที่ได้ไปก็เอาไปม้วนเป็นตะกรุดไว้คล้องคอ แบบทุบที่มีเนื้อหนาก็มี

๒.แบบหล่อท่านเอาเศษตะกั่วที่เหลือมาเทหลอม โดยใช้แม่พิมพ์ที่พิมพ์แล้วมากดกับดินเป็นแผง ๆละ ๒๐ พิมพ์ พอพิมพ์ดินแข็งตัวดีแล้ว ก็เทน้ำตะกั่วที่หลอมละลายลงบนพิมพ์ทิ้งให้เย็นแล้วเอามาตัดขอบให้เรียบร้อย

เสร็จแล้วจึงนำมาปลุกเสก พระพิมพ์ที่หล่อนี้จะมีความหนา พระเนื้อตะกั่วถ้ำชาเท่าที่สืบข้อมูล สันนิษฐานว่า ท่านทำครั้งแรกตอนอายุ ๒๖ ปี อาจจะมีก่อนหน้านี้ นอกจากที่ท่านทำแจกแล้วท่านยังได้นำไปบรรจุกรุด้วย

เช่นกรุวัดลครทำ กรุวัดบางขุนพรหมนอก (วัดอินทรวิหาร) กรุวัดเกศไชโย กรุที่จังหวัดอยุธยา 

พระเนื้อตะกั่วถ้ำชาที่บรรจุกรุจะเกิดสนิมแดง 

ถ้าไม่ได้บรรจุกรุก็จะเป็นสีดำอมเทา

พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชามีตำราหลายเล่ม โดยเฉพาะหนังสือนามานุกรมพระเครื่องของ อ.พินัย ศักดิ์เสนีย์ 

ระบุไว้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้เมื่อครั้งครองวัดระฆังฯ 

โดยใช้ " แม่พิมพ์ยุคแรก " ก่อนที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยแกะแม่พิมพ์ถวายให้ภายหลัง

พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชาที่สมเด็จโตสร้างมีจำนวนไม่มาก นักนิยมพระเครื่องบางคน (ความจริงหลายคน) ไม่ยอมรับว่าเป็นพระของสมเด็จโต นอกจากนี้ยังมีพระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชาอีกสำนักหนึ่งซึ่งมีอายุการสร้าง นานกว่าของสมเด็จโตก็คือ 

พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชาของวัดบวรมงคล (หรือชื่อเดิมคือ "วัดลิงขบ') แต่ของวัดบวรมงคลจะปิดทองมาแต่ในกรุทุกองค์และสีของตะกั่วจะแลดูคล้ำกว่า

นอก จากนี้เกจิดังยุคก่อนปัจจุบันคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ก็มีการนำตะกั่วชนิดนี้มาสร้างเป็นพระพิมพ์สมเด็จ แต่พิมพ์ทรงจะแตกต่างและเนื้อหายังสดใหม่ สามารถแยกแยะได้ไม่ยาก นอกจากนี้ (อีกที) ยังมีบางวัดนำตะกั่วชนิดนี้มาสร้างเป็นพระพิมพ์สมเด็จย้อนยุคอีกเหมือนกัน

นอกจากพระสมเด็จเนื้อผงแล้ว พระสมเด็จที่สำคัญและหายากอีกประเภทหนึ่งคือ 

พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชา หรือเนื้อห่อชา 

ที่มีหลักฐานการสร้างว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ท่านนำเอาเนื้อตะกั่วที่ใช้สำหรับห่อใบชาที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงในขณะนั้น 

มาสร้างเป็นเนื้อพระสมเด็จ มีข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า นอกจากเนื้อตะกั่วถ้ำชาแล้วยังผสมเนื้อเหล็กไหลไพลดำไปด้วย

พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชามีตำราหลายเล่ม โดยเฉพาะหนังสือนามานุกรมพระเครื่องของ อ.พินัย ศักดิ์เสนีย์ ระบุไว้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้เมื่อครั้งครองวัดระฆังฯ 

โดยใช้แม่พิมพ์ยุคแรกก่อนที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยจะแกะแม่พิมพ์ถวายให้ภาย หลังพระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชาที่สมเด็จโตสร้างมีจำนวนไม่มาก นักนิยมพระเครื่องหลายคนไม่ยอมรับว่าเป็นพระของสมเด็จโต แต่เซียนใหญหาเช่ากันแบบเงียบๆ

" วัดระฆัง " ถือว่าเป็นวัดอารามหลวงที่มีอายุเก่าแก่มาก สร้างมานานตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่เดิมชื่อว่า วัดบางหว้าใหญ่ ครั้นต่อมาเมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทางวัดทำการขุดสระน้ำภายในบริเวณวัดเพื่อสร้างหอเก็บพระไตร ได้ขุดพบระฆังทองเหลืองเก่าใบใหญ่ ซึ่งมีเสียงกังวานมาก

และต่อมาภายหลังได้นำไปเก็บไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ซึ่งต่อมาทำให้ชาวบ้านทั่วไปหันกลับมาเรียกวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดระฆังเรื่อยๆ มาจนติดปาก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดระฆังในที่สุด จวบจนถึงปัจจุบันนี้ นี่แหละเป็นที่ไปที่มาของชื่อ "วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร "

//www.komchadluek.net/detail/20150727/210487.html

//www.thaieditorial.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E…/

พระสมเด็จวัดระฆังฯ เนื้อตะกั่วถ้ำชา - มีส่วนผสมเหล็กไหล 

https://www.youtube.com/watch…

https://plus.google.com/10709642368611609…/posts/3ub9WgWyCUK

 

โทร: 0953395801

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระสมเด็จ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ