จำนวนคนอ่านล่าสุด 891 คน

พระกริ่งจีน ยันต์สวัสดิกะ เนื้อนวะ กลับดำ


พระกริ่งจีน ยันต์สวัสดิกะ เนื้อนวะ กลับดำ

พระกริ่งจีน ยันต์สวัสดิกะ เนื้อนวะ กลับดำ

พระกริ่งจีน ยันต์สวัสดิกะ เนื้อนวะ กลับดำ

พระกริ่งจีน ยันต์สวัสดิกะ เนื้อนวะ กลับดำ

พระกริ่งจีน ยันต์สวัสดิกะ เนื้อนวะ กลับดำ

พระกริ่งจีน ยันต์สวัสดิกะ เนื้อนวะ กลับดำ


รายละเอียด :

5388/sp/กริ่งไม่ดัง

-------------------------------------

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สวัสติกะ (ภาษาอังกฤษ: Swastika; สันสกฤต स्वस्तिक svastika) เป็นเครื่องหมายกากบาทที่ตรงส่วนปลายทำมุมฉาก โดยมีทั้งลักษณะที่ทิศทางด้านซ้าย (卍) หรือด้านขวา (卐) เครื่องหมายสวัสติกะ มีการใช้เป็นสัญลักษณ์ใน ศาสนาฮินดู, ศาสนาเชน และ พระพุทธศาสนา ในประเทศตะวันตกรู้จักกันมากในสัญลักษณ์ของฝ่ายนาซี โดยสวัสติกะของนาซีจะเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระนาบ

สวัสติกะของฮินดูจะมีจุด ประดับที่มุมต่างๆ ของสัญลักษณ์

สัญลักษณ์สวัสติกะของฝ่ายนาซี จะมีลักษณะทิศทางทางด้านขวา (卐) หากสังเกตดูจะพบว่าเป็นรูปอักษรโรมันตัว S 2 ตัวซ้อนกัน ซึ่งย่อมาจากคำในภาษาเยอรมัน โดย S ตัวหนึ่งมาจากคำว่า "Stadt" แปลว่า บ้านเมือง และอีกตัวหนึ่งมาจากคำว่า "Sicherheit" แปลว่า ปลอดภัย

สวัสติกะรูปแบบต่างๆ

**************************************

 

บทความเรื่อง "สวัสดิกะ" จากหนังสือพิมพ์มติชน

คำ ""สวัสดิกะ"" ท่านว่ามาจาก สุ + อัสดิ + กะ แปลประมาณว่า ""ความสุขสวัสดีจงมี"" คล้ายๆ กับคำว่า สวัสดี หรือโสตถิ ที่มีใช้กันมาเนิ่นนานมากนับพันๆ ปีที่อินเดียโบราณ รวมทั้งในประเทศไทยเราด้วยโดยมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลายหลัก

เช่น หลักที่ 23 วัดศาลามีชัย เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อพุทธศตวรรษที่ 14 ที่ขึ้นต้นว่า "โสตถิ" อันเป็นที่มาของคำว่า "สวัสดี" ที่ใช้กันเป็นปกติทั่วทั้งประเทศไทยทุกวันนี้ แต่ก็มีปัญหาที่ไม่ค่อยพบคำว่าสวัสดิกะในพระคัมภีร์ซึ่งมักมีแต่คำสวัสดี ท่านว่ามีพบคำสวัสดิกะในมหากาพย์รามายานะ รวมทั้ง มหาภารตะ และอื่นๆ ซึ่งมีการให้นิยามความหมายโดยสรุปว่าคือ "เครื่องหมายแห่งมงคล พร โชค ลาภ และอายุยืน"

ส่วน "รูปสัญลักษณ์กากบาทต่อหางตั้งฉากในทางเดียวกันทั้ง 4" ไม่ว่าจะตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกานั้น พบได้ทั่วทั้งโลกโบราณบนชิ้นส่วนภาชนะหรือเครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง ไม่ว่าจะที่ซูซาในเปอร์เซียโบราณ ฮารัปปาและโมเหนโชดาโรในปากีสถานโบราณ และสุเมอเรียในดินแดนเมโสโปเตเมียโบราณ รวมทั้งในดินแดนกรีก โรมันและอียิปต์โบราณด้วย

แม้ในโลกปัจจุบันนี้ก็พบมีการใช้ตราสวัสติกะอย่างแพร่หลายทั้งในดินแดนแห่งศาสนาฮินดูทั้งที่อินเดียและอินโดนีเซีย และดินแดนแห่งพุทธศาสนาทั่วทั้งเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนทิเบต จีน เกาหลีและญี่ปุ่น

มีการตีความและตั้งสมมติฐานกันอย่างมากมายทั้ง เรื่องนิยามความหมายและที่มาของรูปสัญลักษณ์ นับได้เป็นร้อยพันสมมติฐาน โดยจำนวนมากเวียนวนอยู่กับ "ความหมายแห่งการเคลื่อนไหวหรือพลวัตที่หมุนวน โดยมีศูนย์กลางเป็นหนึ่งกับอีกสี่สาแหรก ซึ่งมีการตีความตามหมวด 4 ได้มากมาย" ไม่ว่าจะเป็น 4 ทิศ 4 เทพ 4 โลก 4 วรรณะ 4 อาศรม เช่น เป็นสัญลักษณ์ของการรวมกันของทั้ง 4 วรรณะ

ที่ยืนยันนั้น มีการใช้อย่างแพร่หลายใน 3 ศาสนาสำคัญคือ "ฮินดู พุทธ และ เชน" โดยใน ศาสนาฮินดู นั้นเชื่อถึงขนาดว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชนเผ่าอารยันที่เก่า แก่ที่สุด หมายถึง พระพรหม พระวิษณุ และ พระศิวะ ผู้สร้าง ผู้ปกปักรักษาและผู้ทำลายล้าง ในขณะที่ของ ศาสนาพุทธ นอกจากพบใช้ในจารึกที่นิยมนำมาขึ้นต้นหรือตอนจบแล้ว ยังพบใช้เป็นหนึ่งใน 65 ตรามงคลที่ฝ่าพระพุทธบาท ส่วนศาสนาเชนนั้นยกให้เป็นสัญลักษณ์สำคัญอันดับแรกใน 8 สัญลักษณ์มงคล

ที่ถูกใช้ครั้งใหญ่และเป็นที่จดจำกันทั้งโลกนั้นเกิดขึ้นเมื่อร้อยปีที่แล้ว (ตั้งแต่ พ.ศ.2450) เมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพลพรรค นาซี เยอรมัน เรียนรู้ว่าสัญลักษณ์นี้มีความหมายดี แล้วตีความหมายว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งบรรพชนเยอรมันแห่งเผ่าพันธุ์อารยันที่ เข้ามาจากอินเดียพร้อมลัทธิถือชั้นวรรณะ แล้วยึดมั่นการฟื้นคืนเผ่าพันธุ์พร้อมกับการกำจัดและชำระความแปดเปื้อนจน เกิดเป็นมหาโศลกโศกนาฏกรรมสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยฮิตเลอร์ใช้ "ดวงตราสวัสดิกะนี้เป็นสัญลักษณ์พันธกิจแห่งชัยชนะของเผ่าพันธุ์อารยันผู้ริเริ่มและสร้างสรรค์" ซึ่งลงเอยอย่างที่รู้กันทั่วทั้งโลกว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น

จนเมื่อปี 2548 ได้มีการเสนอต่อที่ประชุมประชาคมยุโรปให้มีการห้ามใช้ตราสวัสดิกะนี้ทั่ว ทั้งยุโรปในฐานะซากเดนของนาซีที่ไม่พึงประสงค์ ร้อนถึงพี่น้องชาวฮินดูทั้งหลายต้องออกมาร้องทุกข์ว่า ดวงตรานี้ที่แท้แล้วเป็นตรามงคลแห่งสันติที่แพร่หลายมาแล้วกว่า 5,000 ปี

"กลับมาที่เขาสามแก้ว นอกจากพบลูกปัดหินผลึกคริสตัลใสรูปสวัสดิกะแล้ว ยังพบลูกปัดรังผึ้งเขียนลายสวัสดิกะอีกชิ้นหนึ่ง รวมทั้งหลักฐานอื่นร่วมสมัยประมาณพุทธศตวรรษต้นๆ ซึ่งเวลาสอดคล้องพอดีกับข้อสรุปข้างต้นจนอาจตั้งเป็นอีกสมมติฐานได้ว่า รอยสวัสดิกะนี้ที่มีหมายถึงสวัสดีและสันติภาพนี้ อาจเข้ามาจากอินเดียเมื่อสมัยนั้นซึ่งยังไม่มีนิยามอย่างนาซีแน่นอน"

 

โทร: 0614901584

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ