พระกริ่งสวนเต่า หมุดทอง เนื้อสัมฤทธิ์ กลับดำ จารย์ใต้ฐาน กริ่งดัง
รายละเอียด :
5586
องค์พระในภาพ มิใช่องค์ในบทความ
*************************
ขอขอบคุณ เจ้าของบทตวาม
*************************
***เท่าที่มีบันทึกเป็นหลักฐานสั้นๆ ในราชสำนัก สมัยรัชกาลที่ 5 มีพิธีเททองหล่อพระชัย ผูกพระศอ พระเจ้าลูกยาเธอ หลายพระองค์ที่จะไปศึกษาต่างประเทศ...และไม่มีอธิบาย “พระชัยนั้น” รูปพรรณฉันใด
***เท่าที่หลุดรอดลงมาให้เห็นกันบ้าง เรียกกันว่า พระชัยรัชกาล แต่ก็เป็นที่เข้าใจ เป็นของเจ้านาย...
พิธีสร้างพระชุดต่อมา ที่ดูจะรู้กันแพร่หลาย...คือพระราชพิธีเททองหล่อพระกริ่ง ที่รัชกาลที่ 5 ตั้งพระทัยพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร...จำนวนพระกริ่งชุดนี้ คงมีจำนวนมากพอ จึงมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ในวงการพระเครื่อง แต่ก็แทบจะนับองค์ได้
มีบันทึกชัดเจน พระราชพิธีนี้ มีขึ้น ณ บริเวณสวนเต่า ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระกริ่งชุดนี้ จึงเรียกกันว่า พระกริ่งสวนเต่า แต่ไม่เคยมีข้อมูลระบุชัด...พระรูปใด มีส่วนในพิธี
หนังสือ อาณาจักรพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ 60 ปีโรงพยาบาลพระมงกุฎ คุณศุภชัย เรืองสรรงามศิริ พิมพ์ เมื่อปี 2556 น่าจะเป็นเล่มแรก ที่ระบุชัดเจนว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงอาราธนา พระธรรมโกษาจารย์ (แพ) วัดสุทัศน์ ลงพระยันต์เนื้อพระกริ่ง ด้วยพระยันต์ 108 กับ น ปถมัง 14 นะ
ส่วนพระเถระรูปอื่นๆ ที่ร่วมพระราชพิธี ไม่มีชื่อระบุไว้
วันเวลาพระราชพิธี คือหลังปี 2451 รัชกาลที่ 5 เสด็จฯกลับจากยุโรป
หนังสือพระกริ่งพระชัยวัฒน์ เล่มคุณ “ตี๋เหล้า” มีภาพพระกริ่งสวนเต่า 6 องค์ ทุกองค์ไม่เหมือนกันเลย โดยรูปพรรณคล้ายกัน แต่ของในมือพระต่างกัน บางองค์ถือสังข์ บางองค์ถือจักร ดอกบัว บาตร หม้อน้ำ ฯลฯ
แสดงว่า พระกริ่งสวนเต่า นั้น ช่างปั้นหุ่น ทีละองค์ๆ
หล่อเป็นองค์พระแล้ว ช่างก็ต้องแต่งทีละองค์ แต่งละเอียดลออบ้าง ปานกลางบ้าง
พระกริ่งสวนเต่า องค์ในคอลัมน์วันนี้ แตกต่างกว่าทุกองค์ ที่เคยเห็นกันมา...ส่วนฐานกว้างกว่า แล้วค่อยๆสอบชะลูดขึ้นไปถึงพระเศียร เหลือส่วนที่เป็นพระนลาฏ (หน้าผาก) แคบมาก
นอกจากแปลกตาด้วยรูปทรงสัณฐาน การแต่งรายละเอียดทั้งด้านหน้าด้านหลัง ก็ละเอียดลออกว่าองค์ที่เคยปรากฏ กระทั่ง “ของ” ที่ถือ น่าจะเป็นคนโท ก็ยังแต่งลวดลาย
แต่ที่แต่งได้นุ่มนวลกว่าองค์ใด ก็คือ “บัว” กลีบบัวรอบองค์พระ เป็นเส้นบางซ้อนกัน...
ใต้กลีบบัวงาม ลงมา คือส่วนฐาน เห็นได้ว่า น่าเป็นการแผ่โลหะเป็นแผ่น สวมหุ้มก้นพระเอาไว้...มีร่องรอยทุบ เคาะ ให้ชิดสนิทแน่น จนแทบจะหาร่องรอยประกบไม่ได้
แต่ถ้ามอง ส่วนก้น...ก็จะเห็นรอยยุบเข้า เห็นเค้าของช่องว่าง...ส่วนที่เข้าใจว่ามีไว้สำหรับใส่เม็ดกริ่ง
วิธีปิดใต้ฐานพระกริ่งแบบนี้ นักเลงพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ของสมเด็จสังฆราช (แพ) คงพอเข้าใจ เอาไปเทียบกับพระชัยหุ้มก้น...ซึ่งสร้างราวๆปี 2458-2460 ได้
พระกริ่งสวนเต่า หลายองค์ที่คงดูได้จากภาพ บางองค์เปิดก้นโหว่...บางองค์อุดด้วยวิธีเข้าไม้ แบบพระกริ่งปี 2492 ของเจ้าคุณศรี (สนธ์) บางองค์ก็ปาดก้นเรียบ องค์ที่หุ้มก้น เหมือนองค์นี้ ในหนังสือเล่ม “ตี๋เหล้า” มีอยู่องค์หนึ่ง
พระกริ่งสวนเต่า...ของปลอมยังมีน้อย... ที่ปลอมก็ตั้งใจแค่ปลอม พระกริ่งปืนเที่ยง วัดทองธรรมชาติ หรือกริ่งหลวงพ่อเต๋ คงทอง นครปฐม ซึ่งมีร่องรอยองค์พระตื้นๆ
มือปลอมพระกริ่งสวนเต่า คงหาแบบองค์ที่สะใจไม่ได้ ทั้งการแต่งทุกเส้นสาย ในแต่ละองค์ ก็ไม่แน่ใจว่า ขายได้คุ้มค่าฝีมือ... เหตุนี้ล่ะกระมัง จึงไม่ค่อยมีใครกล้าลงทุน
ดูภาพพระกริ่งสวนเต่า ไว้หลายๆองค์ ให้ติดตา เผื่อจะเจอ “ของลองตา”
แม้ทุกองค์ไม่เหมือนกัน แต่ความเก่าของเนื้อโลหะอายุเข้าร้อยปี เก่าเหมือนกัน กระแสเหลืองอมแดงจนคล้ำดำ สนิมโลหะถ้ามี ก็เป็นตัวช่วยให้ดูพระแท้ได้ดีกว่าไม่มีเลย.
พลายชุมพล
โทร: 0971297060
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ