พระปิดตาพระภควัมบดี ถึง พระปิดตา หน้าแรก » บทความ » พระภควัมบดี ถึง พระปิดตา "พระปิดตา เป็นชื่อเรียกขานพระเครื่องอีกประเภทหนึ่ง ที่มีพุทธศิลปะแปลกแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแสดงถึงนัยทางธรรมะ และกลายเป็นความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะในแวดวงพระเครื่อง” พุทธลักษณะโดยทั่วไปของ ‘พระปิดตา’ องค์พระจะค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนักก็จะทำเป็นรูปมือเพิ่มอีก 2 ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง ซึ่งในวงการเรียก "โยงก้น" โดยคติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวาร ที่มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ยนั้น ได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ พระมหาสังกัจจายนะ หรือ พระภควัมบดี หนึ่งในพระอัครสาวกองค์สำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า "กาญจน" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) ท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมากจนได้ชื่อว่า "พระภควัมปติ" อันมีความหมายว่า ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า และด้วยความงดงามแห่งรูปกายนี้เอง ก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิงจนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้ตัวท่านเองเกิดสลดสังเวชในใจ พิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย จึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างให้กลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติก็ยังส่งให้เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญตลอดมามิมีขาด ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้ โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดีในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในหลายลักษณะ อาทิ พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดีเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ, พระปิดตาทวารทั้ง 9 อันเป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง 9 ของร่างกาย และ พระปิดตามหาอุด อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง เป็นต้น สำหรับสยามประเทศ การสร้าง “พระปิดตา” เริ่มต้นในช่วงอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆ เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี พระปิดตา มาเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่ว เช่น พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) พระปิดตา วัดหนัง, พระปิดตา วัดทอง, พระปิดตาหลวงปู่ศุข, พระปิดตาแร่บางไผ่วัดโมลี, พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม ฯลฯ ลักษณะเด่นของพระปิดตานั้น นับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น คือ การปิดทวารหรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ 9 ทางในร่างกายของมนุษย์ อันได้แก่ ตา 2 จมูก 2 หู 2 ปาก 1 รวมทั้งช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและด้านหลังอีก 2 รวมเป็น “ทวารทั้งเก้า” เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณจารย์ที่สร้าง พระปิดตา (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น หากมองในแง่ความสำคัญทางการเมืองการปกครองก็จะพบว่า อำนาจของภิกษุสงฆ์ไม่ได้จำกัดอยู่ใน "พุทธจักร" อย่างเดียว หากแต่ยังก้าวไปถึง "อาณาจักร" อีกด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในกรณี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่สามารถเดินเข้าไปถาม เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ถึงข่าวลือเรื่องการยึดอำนาจกลับจาก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 และขอคำยืนยันว่าจะไม่เกิดเหตุดังกล่าว เป็นต้น ดังนั้น "พระปิดตา" จึงอาจถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศตนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ "อาณาจักร" เพื่อมิให้เกิดการถูกนำไปอ้างอิงหรือใช้เป็นเครื่อง "ชี้นำ" ในชะตาของบ้านเมืองก็เป็นได้ครับผม โดย อ.ราม วัชรประดิษฐ์
รายละเอียด :
1/1
พระภควัมบดี ถึง พระปิดตา
หน้าแรก » บทความ » พระภควัมบดี ถึง พระปิดตา
"พระปิดตา เป็นชื่อเรียกขานพระเครื่องอีกประเภทหนึ่ง ที่มีพุทธศิลปะแปลกแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแสดงถึงนัยทางธรรมะ และกลายเป็นความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะในแวดวงพระเครื่อง”
พุทธลักษณะโดยทั่วไปของ ‘พระปิดตา’ องค์พระจะค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนักก็จะทำเป็นรูปมือเพิ่มอีก 2 ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง ซึ่งในวงการเรียก "โยงก้น" โดยคติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวาร ที่มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ยนั้น ได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ พระมหาสังกัจจายนะ หรือ พระภควัมบดี หนึ่งในพระอัครสาวกองค์สำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า "กาญจน" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) ท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมากจนได้ชื่อว่า "พระภควัมปติ" อันมีความหมายว่า ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า และด้วยความงดงามแห่งรูปกายนี้เอง ก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิงจนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้ตัวท่านเองเกิดสลดสังเวชในใจ พิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย จึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างให้กลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติก็ยังส่งให้เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญตลอดมามิมีขาด
ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้ โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดีในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในหลายลักษณะ อาทิ พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดีเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ, พระปิดตาทวารทั้ง 9 อันเป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง 9 ของร่างกาย และ พระปิดตามหาอุด อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง เป็นต้น
สำหรับสยามประเทศ การสร้าง “พระปิดตา” เริ่มต้นในช่วงอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆ เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี
พระปิดตา มาเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่ว เช่น พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) พระปิดตา วัดหนัง, พระปิดตา วัดทอง, พระปิดตาหลวงปู่ศุข, พระปิดตาแร่บางไผ่วัดโมลี, พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม ฯลฯ
ลักษณะเด่นของพระปิดตานั้น นับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น คือ การปิดทวารหรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ 9 ทางในร่างกายของมนุษย์ อันได้แก่ ตา 2 จมูก 2 หู 2 ปาก 1 รวมทั้งช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและด้านหลังอีก 2 รวมเป็น “ทวารทั้งเก้า” เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณจารย์ที่สร้าง พระปิดตา (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น หากมองในแง่ความสำคัญทางการเมืองการปกครองก็จะพบว่า อำนาจของภิกษุสงฆ์ไม่ได้จำกัดอยู่ใน "พุทธจักร" อย่างเดียว หากแต่ยังก้าวไปถึง "อาณาจักร" อีกด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในกรณี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่สามารถเดินเข้าไปถาม เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ถึงข่าวลือเรื่องการยึดอำนาจกลับจาก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 และขอคำยืนยันว่าจะไม่เกิดเหตุดังกล่าว เป็นต้น ดังนั้น "พระปิดตา" จึงอาจถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศตนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ "อาณาจักร" เพื่อมิให้เกิดการถูกนำไปอ้างอิงหรือใช้เป็นเครื่อง "ชี้นำ" ในชะตาของบ้านเมืองก็เป็นได้ครับผม
โดย อ.ราม วัชรประดิษฐ์
โทร:
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: บทความ-บทความ