จำนวนคนอ่านล่าสุด 830 คน

โชว์//พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐาน สิงห์4 หล่อ อักขระนูน วาระพิเศษ เนื้อเงิน สัมฤทธิ์เงิน กริ่งดังหนักๆ พบ1องค์ ณ.วันที่10/11/2563


โชว์//พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐาน สิงห์4 หล่อ อักขระนูน วาระพิเศษ เนื้อเงิน สัมฤทธิ์เงิน กริ่งดังหนักๆ พบ1องค์ ณ.วันที่10/11/2563

โชว์//พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐาน สิงห์4 หล่อ อักขระนูน วาระพิเศษ เนื้อเงิน สัมฤทธิ์เงิน กริ่งดังหนักๆ พบ1องค์ ณ.วันที่10/11/2563

โชว์//พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐาน สิงห์4 หล่อ อักขระนูน วาระพิเศษ เนื้อเงิน สัมฤทธิ์เงิน กริ่งดังหนักๆ พบ1องค์ ณ.วันที่10/11/2563

โชว์//พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐาน สิงห์4 หล่อ อักขระนูน วาระพิเศษ เนื้อเงิน สัมฤทธิ์เงิน กริ่งดังหนักๆ พบ1องค์ ณ.วันที่10/11/2563

โชว์//พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐาน สิงห์4 หล่อ อักขระนูน วาระพิเศษ เนื้อเงิน สัมฤทธิ์เงิน กริ่งดังหนักๆ พบ1องค์ ณ.วันที่10/11/2563

โชว์//พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐาน สิงห์4 หล่อ อักขระนูน วาระพิเศษ เนื้อเงิน สัมฤทธิ์เงิน กริ่งดังหนักๆ พบ1องค์ ณ.วันที่10/11/2563

โชว์//พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐาน สิงห์4 หล่อ อักขระนูน วาระพิเศษ เนื้อเงิน สัมฤทธิ์เงิน กริ่งดังหนักๆ พบ1องค์ ณ.วันที่10/11/2563


รายละเอียด :

6990/k12000000

Phra Kring Pawaret under the base of Singha 4, handsome, embossed characters, special agenda, silver material, silver bronze, ringing heavily, found 1 of them on 10/11/2020

-----------------------------------------------------------------------

Under the base of these 3 lions, you can see it in front of the temple and in the northern temple/the former owner is in Prachuaptirikhan Province.

************************************************thank The author of the article for further knowledge

Lanna

August 28, 2016 

Why does there have to be a lion guarding the door in Lanna in front of the temple?

lion statue in front of the temple Often found in Lanna because of civilization, culture, as well as arts

of Burma has spread after Lanna has been under Burmese power for more than 200 years.

"The Lion Man" has a legend saying that A lion kidnapped the king's two sons and daughters who were still infants and raised them in the forest.

when the son grows up therefore brought the royal mother and the sister fled back to the palace as usual.

The lion travels to follow meet the obstacle therefore devoured many hot to the king order to announce

หาผู้ที่จะปราบราชสีห์ พระโอรสนั้นรับอาสาออกไปปราบ พระโอรสยิงศรออกไปทีไรก็ผิดพลาดหมด ไม่

สามารถฆ่าราชสีห์ได้ ราชสีห์ซึ่งยังมีใจผูกพันธ์พระโอรสอยู่ก็ได้แต่แผดเสียง การต่อสู้ได้ดำเนินต่อไปจน

ราชสีห์เกิดโทสะ ขณะอ้าปากจะแผดเสียง พระโอรสจึงยิงศรกรอกปาก ฆ่าราชสีห์ตาย จนต่อมาราชโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์ได้ครองเมือง

เมื่อได้ปกครองเมืองแล้ว ก็เกิดมีอันเหตุเป็นไปต่างๆ แก้ไขอย่างไรก็ไม่หาย จึงปรึกษาปุโรหิต ปุโรหิตทูลว่า เป็นเพราะบาปกรรมที่ได้ฆ่าพระยาราชสีห์ผู้มีพระคุณ ต้องทำรูปราชสีห์บูชาล้างบาปจึงจะแก้อาถรรพ์ได้ กษัตริย์จึงให้ทำรูปราชสีห์บูชาล้างบาปไว้กับวัดและเจดีย์ซี่งสถานที่บูชาและได้กลายเป็นประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้

เท็จจริงอย่างไรก็พิจารณาเอาเน่อ เอาของเปิ้นมาแหมกำ ไผมีที่บ่เหมือนนี้ก็กรุณาเอามาฝากตวยเน่อ

***สิงห์หน้าวัด

วัดเป็นสถานที่มาสู่ของคนดีมีศีลธรรม ตรงประตูจึงมีสิงห์เฝ้า ถ้าคนชั่วเข้ามาสิงห์ก็จะกัด สติ-สัมปชัญญะ จึงเป็น สิงห์ ทั้งสองตัว ที่คอยจะจ้องจับข้าศึกศัตรูทั้งหลาย อันเป็นสิ่งที่มักโจมตีสมภารในวัด คือ ใจ นั่นเอง

พุทธศาสนิกชนพุทธบริษัททั้งหลายหัวข้อเรื่องข้อนี้ อาจจะแปลกไปสักหน่อย ลองติดตามเรื่องราวดูว่าท่านผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร...?

“สิงห์” เป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งซึ่งจะมีอาศัยอยู่ในป่าสูงๆ ในทางภาคเหนือของประเทศไทย ถ้าเราได้มีโอกาสไปเที่ยวชม เราจะได้เห็นว่าตามวัดวาอารา ต่างๆ ในทางภาคเหนือนั้น เราจะเห็นรูปปั้นของสิงโตอยู่ที่บริเวณประตูหน้าวัด เมื่อวัดไปถูกสร้างอยู่ที่ใด เขาก็มักจะสร้างกำแพงกั้นบริเวณระหว่างวัดกับบ้านอันเป็นแบบอย่างที่ดี อีกอย่างหนึ่งนั้นเป็นระเบียบแบบหนึ่งของไทยเดิมและรั้วบ้าน เป็นสิ่งแสดงฐานะและความเป็นอยู่ของเจ้าของบ้าน คือถ้ารั้วบ้านเรียบร้อยก็แสดงว่า เจ้าของบ้านเป็นคนขยันเอาใจใส่ต่อบ้านเรือน แต่ถ้ารั้วบ้านเป็นไปตามเรื่องตามราว ก็แสดงว่า เจ้าของบ้านไม่เอาถ่านเสียเลย รั้วยังแสดงถึงฐานะของสมบัติด้วยคือ ถ้าเป็นคนจนก็มีรั้วธรรมดา ถ้าร่ำรวยหน่อย รั้วก็ดีขึ้นสวยขึ้น

สำหรับวัดเป็นที่อยู่ของสงฆ์ ชาวพุทธทางภาคเหนือได้เอาใจใส่บำรุงศาสนาเป็นพิเศษคอยดูแล และซ่อมแซมเสนาสนะตลอดถึงบริเวณให้เรียบร้อยอยู่เสมอ แม้ที่ผมผ่านมาบางวัดมีพระอยู่เพียงรูปเดียว เขาก็พากันทำกุฏิหลังใหญ่ให้อยู่ เป็นการแสดงออกของความเชื่อส่วนหนึ่งเหมือนกัน ทุกวัดที่มีกำแพงและมีประตูเข้าประตูออก ที่ประตูมีเสาสองข้าง บนหัวเสาก็ทำเป็นรูปสิงโตยืนอ้าปากเห็นเขี้ยวเลยที่เดียว ถ้าวัดเล็กสิงโตก็เล็ก ถ้าวัดใหญ่สิงโตก็ใหญ่ เช่น วัดพระสิงห์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากสิงห์หน้าวัดแล้ว หน้าพระวิหารก็มีอีกสองตัว บางวัดที่มีบันไดแถมที่เชิงบันไดยังมีอีกสองตัว อันประเพณีทำสิงห์ไว้หน้าวัดนี้ เป็นธรรมเนียมที่เราได้รับมาจากพม่า ในสมัยที่พม่าเข้าครอบครองเชียงใหม่ เขาได้นำธรรมเนียมการสร้างสิงห์ การสร้างเจดีย์ การสร้างวัดไว้ด้วย มันเป็นรูปแบบของพม่า พม่าปกครองพวกเราเขาก็ฝากลวดลายไว้ และเราก็ยังคงรับศิลปะอันนั้นไว้

ผมเองเมื่อเห็นสิงห์หน้าวัดก็เกิดความคิดขึ้นว่า ทำไมเหตุไฉนจึงลงทุนทำสัตว์ตัวนี้ไว้ที่ประตูวัด คนโบราณเขาทำอะไรเขาก็มีเหตุผลของเขาเหมือนกัน ไม่ใช่แต่ทำๆ ไป ตามที่เขาว่ามา ผู้ที่เป็นต้นคิดคงมุ่งเป็นคติเตือนใจบ้างจึงทำไว้ แต่คนชั้นเราๆ ผู้ที่ไม่คิดถึงเหตุผลเห็นวัดอื่นเขามีสิงห์ก็อยากมีบ้าง ว่ามันมีเหตุมีความหมอย่างไร สิงโตเป็นสัตว์ป่าที่มีอยู่ในป่า โดยเฉพาะในอินเดียมีมากมันเป็นสัตว์ที่ตัวเล็กกว่าช้าง แต่ช้างก็ต้องกลัวมัน เขาจึงเรียกมันว่า “เจ้าแห่งป่า” เป็นสัตว์ที่มีอำนาจมากเป็นที่ยำเกรงของสัตว์อื่นทั่วไป เพียงแต่ได้ยินเสียงร้องของมัน พวกสัตว์ทั้งหลายก็หัวสั่นเสียแล้ว เพราะสิงห์มีอำนาจมากทางราชการจึงนำมาใช้เป็นตราของกระทรวงมหาดไทย อันเป็นกระทรวงปกครองคนทั้งประเทศ

ทีนี้เราลองเอามาเปรียบเทียบกับธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมะของพระพุทธเจ้าย่อมกังวานไปทั่วทุกสารทิศ เหมือนเสียงร้องของพญาราชสีห์ แผดเสียงไปทั่วทุกสารทิศนั้น พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นองค์ศาสดาของพระพุทธศาสนาเราเปรียบเทียบการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้าว่า เป็นเช่น การเปล่งสีหนาท พระธรรมที่บันลือออกไปแล้วสามารถปราบหมู่มารให้พินาศพ่ายแพ้ไป พระพุทธองค์ทรงเป็นพระธรรมราชาเป็นเจ้าแห่งธรรมมีอำนาจมากในทางเมตตากรุณาและเป็นผู้เอาปัญญาชนะหมู่มารได้ด้วยความดีของพระองค์ ในพระบาลีท่านแสดงเปรียบเทียบไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลายพญาสัตว์ชื่อว่าสีหะ ออกจากถ้ำในเวลาเย็น เหยียดเท้าแล้วเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบคอบแล้วบันลือสีหนาท ครั้นแล้วเที่ยวไปเพื่อแสวงหาอาหาร

บรรดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใดได้สินเสียงนั้นกลัวสะดุ้งเหี่ยวใจ พวกที่อาศัยอยู่ในน้ำก็ลงน้ำ พวกที่อาศัยอยู่ในรูก็พากันวิ่งเข้ารู พวกที่อาศัยอยู่ในป่าก็พากันวิ่งเข้าป่า เหล่าช้างของพระราชาในบ้านและนิคมและเมืองหลวงที่ถูกล่ามโซ่ไว้อย่างแน่นหนาก็พากันกลัวกระชากโซ่ และเชือกให้ขาดแล้วถ่ายมูตรและกรีสพากันวิ่งหนีไปทางโน้นทางนี้ ภิกษุทั้งหลายพญาราชสีห์มีศักดิ์ศรีมากกว่าสัตว์เดรัจฉานอื่นๆอย่างนี้แล...ฯ

ที่นี้เรื่องสิงห์หน้าวัด มันมีความเกี่ยวข้องกับเราผู้เป็นมนุษย์อย่างไร ก็เราทุกคนต่างก็เกลียดทุกข์รักสุขด้วยกันทั้งนั้น แต่ความทุกข์และความสุขมันจะเกิดขึ้นแก่เรา พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราทำกันอย่างไร...? ท่านสอนให้ละธรรมดำเสีย เอาแต่ธรรมขาวเข้ามาปฏิบัติ

พระพุทธองค์ทรงตรัสเตือนไว้ว่า “จงละธรรมดำเสีย จงยังธรรมขาวให้เจริญ” ธรรมฝ่ายดำคือธรรมอะไรเล่า..? ธรรมดำนั้นท่านหมายเอาอกุศลทุกชนิด เช่น ความโลภ อยากได้ของคนอื่น ความโกรธ คิดเบียดเบียนเขา และโมหะ ความหลงงมงายนี้เป็นต้น เรียกว่า ธรรมดำ ส่วน อโลภะ อโทสะ อโมหะ นี้เป็น ธรรมขาว อีกประการหนึ่ง การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดโกหก การพูดคำส่อเสียด การพูดคำเหลวไหล และการพูดคำหยาบต่างๆ เป็นธรรมฝ่ายดำเป็นสิ่งที่เราจะต้องละ สิ่งที่ตรงกันข้ามเป็นธรรมฝ่ายดีเป็นส่วนที่ควรเจริญให้เกิดมีขึ้นในตน เราจงมองตัวเราเสมอๆ ให้เราทราบว่าตัวเรานั้นมีธรรมดำหรือธรรมขาว เราส่วนมากส่องกระจกดูตัววันละหลายๆ ครั้ง แต่..ส่วนมากมองดูแต่สวยหรือไม่สวยเท่านั้นเอง มุ่งกายเป็นสำคัญ หาได้มองในแง่ปฏิบัติธรรมะไม่ จงมองโดยเอากระจกธรรมะ แล้วจะเห็นตัวท่านเองว่าขาวหรือดำได้อย่างชัดเจน ถ้าขาวแล้วก็เพียงแต่อย่าให้ดำเข้ามาเปรอะเปื้อน ให้มีความขาวอยู่เสมอ ท่านรักษาใจของท่านอย่างนั้น ถ้าใจของท่านมีธรรมดำแล้ว จงรีบเอาออกทันที โดยเอาธรรมะเป็นสิ่งขัดเกลาให้ธรรมดำมืดนั้นหายไปจากใจของท่าน ชีวิตของเราทั้งหลายคือการต่อสู้ ในการต่อสู้เราต้องเป็นคนกล้า คนกล้าย่อมเอาชนะหมู่มิตรได้ แต่คนเขลาย่อมพ่ายแพ้เสมอ ผู้กล้าย่อมยืนหยัดต่อสู้นานาภัยได้ทุกชนิดไม่ว่ามันจะใหญ่โตขนาดไหน มุ่งรุดหน้าไปสู่ความสำเร็จอย่างไม่ถอยหลัง ก็ความสำเร็จจะมีขึ้นได้เพราะอาศัยธรรม ๔ ประการ คือ

๑. ฉันทะ มีความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

๒. วิริยะ มีความเพียรประกอบในสิ่งนั้น

๓. จิตตะ มีความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ และ

๔. วิมังสา การหมั่นตริตรองพิจารณาค้นคว้าหาเหตุผลในสิ่งนั้น

ไม่ว่าท่านจะมีอาชีพในรูปแบบใด ถ้าหมั่นดำเนินตามธรรมทั้ง ๔ ประการนี้เสมอแล้ว เป็นอันหวังความสำเร็จได้ คนใจสิงห์ต้องมีอิทธิบาท ๔ นี้ด้วยเสมอ ถ้าขาดหลักธรรม ๔ ข้อนี้แล้ว ในขณะนั้น สิงห์ก็จะกลายเป็นแมวไปเมื่อนั้น

การอยู่ด้วยกันเป็นหมู่คณะ เป็นความจำเป็นต้องมีกฎมีเกณฑ์สำหรับหมู่ เพื่อให้ทุกคนดำเนินชีวิตประจำวันไปในแนวทางเดียวกัน หมู่ใดไม่มีระเบียบ และสมาชิกทำตามใจชอบ ความเรียบร้อยไม่เกิดในชุมชน พุทธภาษิตมีอยู่ว่า “ชุมชนใดไม่มีความเรียบร้อย ชุมชนนั้นก็มิใช่ชุมชน” กลายเป็นซ่องของนักเลงไป อันพวกนักเลงนั้นไม่อาจจะคบกันได้นานนัก เพราะว่า ความเป็นมิตรแท้ย่อมหาไม่ได้ในหมู่คนพาล ฉะนั้นคนที่รวมกันเป็นครอบครัว เป็นหมู่คณะ บ้าน ตำบล เป็นเมือง และประเทศ ในทุกหมู่ต้องมีขนบธรรมเนียมของหมู่ ขนบธรรมเนียมนั้นๆ โดยสากลนิยมก็คือ ศีล วัด...เป็นหลักศาสนา ศีล...เป็นเหตุให้คนอยู่กันอย่างสงบได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าทุกคนเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว ความปลอดภัยแห่งชีวิตจะมีขึ้น ถ้าทุกคนเว้นจากการลักขโมย ความปลอดภัยในทรัพย์ก็จะดีขึ้น ถ้าทุกคนสำรวมในกามความสำส่อนในกามารมณ์ก็จักหายไป ศีลธรรมในทางวาจาก็จะสมบูรณ์ขึ้น บรรดาเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นย่อมมีมูลฐานมาจากการดื่มสุรามากที่สุด ถ้าเราหวังความสุขความเจริญ แก่ตนอันงาม เพราะฉะนั้น จึงควรงดเว้นจากความชั่วอันที่กล่าวมาแล้ว เมื่อมีศีลแล้วก็มีเครื่องประดับอันงาม เพราะไก่งามเพราะขน คนจะงามเพราะมีศีลอยู่ในใจของตน

ในเรื่องการงาน สิงห์มันเป็นสัตว์ย่อมหาอาหารไปโดยลำพัง พอได้อาหารสิ่งใด ก็กินในสิ่งนั้น ไม่เลือกว่าจะดีหรือเลว อย่างใดในข้อนี้ เรานำมาปฏิบัติตามแบบอย่างธรรมชาติของสิงห์ได้ ๒ ประการ คือ

๑. ต้องอย่าเลือกงาน

๒. ต้องมีความเป็นอยู่ง่ายๆ

ในข้อที่หนึ่งนั้น ชาวไทยมีปมเขื่องอยู่เสมอ จักทำงานจะต้องงานที่ดีๆ ประเภทว่าความรู้ต่ำ แต่ความทะเยอทะยานสูง อยากจะทำงานดีๆ มีเงินเดือนสูงๆ มีเกียรติชอบเป็นนายคนไม่ชอบเป็นคนใช้ใครๆ เห็นงานบางอย่างเป็นงานต่ำต้อยน้อยหน้าแล้วก็ไม่ยอมทำงาน ยอมทนเดินเตะฝุ่นเข้ากระสอบอยู่ได้ ไม่ยอมทำงานอะไรเป็นอย่างนี้ก็เนื่องมาจากการเข้าใจผิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีส่วนย่อยช่วยส่วนใหญ่จะมาจากไหน ผู้ไม่ตั้งต้นนั้น จะไม่ไปสู่จุดหมายปลายทาง ในเรื่องศาสนาท่านสอนเรื่องการทำงานไว้ว่า ทุกคนจักต้องทำงานจักอยู่เฉยๆ โดยไม่ต้องทำอะไรเลยนั้นไม่ได้ เพราะทุกคนเป็นหนี้ธรรมชาติที่เราเก็บเกี่ยวผลมาจากมัน เมื่อเราได้ผลแล้วเราต้องตอบแทนมันบ้าง ใครไม่ทำงานตอบแทน คนนั้นไม่ใช่สาธุชน คนที่ไม่ทำงานจึงเป็นคนที่เอาเปรียบมนุษย์ใช้ไม่ได้ ในการเช่นเดียวกัน งานทุกอย่างที่สุจริตเป็นงานมีเกียรติทุกอย่าง งานที่ไร้เกียรติก็มีแต่งานที่ทุจริตเท่านั้น ฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายมาทำงานที่สุจริตกันเถิดอย่ามาถือตัวถือตนกันอยู่เลย เพราะการถือตัวเป็นความชั่วอีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าสอนให้เราทำลายมันเสีย เมื่อเราได้งานแบบหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้ว จงทำไปโดยลำดับให้สำเร็จเรียบร้อยอย่าคิดว่างานนี้ง่ายทำก่อนงานนี้ยากทำทีหลัง งานนี้เป็นงานอำนวยผลให้เรามากและเป็นงานของพักพวกกันต้องทำก่อน งานนี้มิได้อะไรไม่ใช่เป็นงานของพักพวกกันทำทีหลังก็ได้ การประพฤติปฏิบัติงานในรูปนี้เรียกว่า ไม่ยุติธรรม อยุติธรรมเข้าอยู่ในที่ใดที่นั้นมีแต่ถอยหลัง ยุติธรรมมีอยู่ในที่ใด ที่นั้นมีแต่ความเจริญ

ส่วนข้อที่สอง ที่ว่าต้องเป็นงานง่ายนั้น หมายถึง การครองชีวิตง่ายๆ อันเป็นหลักสำคัญประการที่ ๑ ในทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธต้องไม่พิถีพิถันในเรื่องการอยู่การกินเกินไป มุ่งแต่ประโยชน์ในสิ่งนั้นเป็นประมาณตัวอย่างในเรื่องอาหาร อาหารมีสองชนิดคือ อาหารที่จำเป็นอย่างหนึ่ง อาหารที่ไม่จำเป็นอย่างหนึ่ง อาหารที่จำเป็นนั้นขาดไม่ได้ ต้องกิน เช่น ข้าว น้ำ เป็นต้น เป็นสิ่งที่จำเป็น ส่วนอาหารที่ไม่จำเป็น เช่น สุรา ยาเสพติด ฯลฯ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นแม้ขาดไปเราก็สามารถจะเป็นอยู่ได้ อาหารประเภทนี้มันเป็นอาหารไม่จำเป็นไปเลย แม้ในอาหารที่จำเป็นก็ต้องเป็นอาหารที่รู้จักกินเหมือนกัน อย่ากินเพื่อสนุก เพื่อความเมามัน หรือเพื่ออะไรอื่นๆ จงกินแต่พออยู่ได้ในโลกก็พอแล้ว และจงนึกว่าเรากินอาหารกินคุณค่าของอาหารมิใช่กินสีของอาหาร และมิใช่กินรสของอาหาร คนกินอาหารไม่มีเรื่องยุ่ง แต่ถ้ากินรสแล้วยุ่งมากในบางคราว บางคนกินเหมือนแมว คือกินพลางบ่นพลางจนน่ารำคาญ นั้นเขาติดรสชาติอาหารอันความอร่อยของอาหารนั้นอร่อยเพียงลิ้นเท่านั้นพอกินลงไปแล้วก็หมดรสบ่นว่าอาหารดีหรือไม่ดีทั้งหมด เวลาถ่ายออกมาแล้วก็มีราคาเท่ากันหมด ชาวพุทธจึงถือว่าหลักการกินอาหารมิใช่การกินรสอาหาร กินอาหารที่ทำง่ายๆ และไม่ทำลายคุณค่าของมันอย่างหนึ่งที่ควรรู้จักกินให้มันเป็นเวลาอย่าตามใจปากให้มากนัก อย่ากินเพราะความอยากมันบังคับให้กิน ถ้าเรากินเพราะถูกความอยากบังคับเราก็อยากจะกินอย่างทาสเท่านั้น ชาวพุทธคือผู้ที่ไม่เป็นทาสของใครๆ ฉะนั้นต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ไว้ด้วย เพราะถ้าเราไม่รู้จักกินแล้วมันทำให้เราล่มจมได้เหมือนกัน

นี่เป็นข้อเตือนใจท่านทั้งหลาย อันเกิดความคิดในเรื่องสิงโต ข้อความที่กล่าวมาแล้วนั้น อาจจะพูดในด้านนอกไปหน่อยลองขยับอีกนิดชิดเข้ามาอีกหน่อย

สิงห์ที่อยู่หน้าวัด ทำท่าเหมือนจะตะครุบสัตว์ไว้ในอุ้งมือหรืออ้าปากก็ดีมันมีความหมายในทางปฏิบัติได้เป็นอย่างดีเหมือนกัน ง่ายๆ ก็หมายความว่า

วัดเป็นสถานที่ของคนดีมีศีลธรรม ตรงประตูจึงมีสิงห์เฝ้า ถ้าคนชั่วเข้ามาสิงห์ก็จะกัด

ท่านทั้งหลายอาจจะสงสัยได้ว่า สิงห์นั้นเป็นรูปปั้นมันจะกัดได้หรือ.. มันกัดใครไม่ได้....แต่มัน..เป็นเครื่องเตือนใจเท่านั้น เราต้องเอาเข้ามาในร่างกาย วัดตัวของเราเอง ตัวเรานี้เป็นวัดใหญ่ที่มีทั้งความดีและชั่วผ่านเข้ามาอยู่เสมอ ใจเป็นสมภารเจ้าวัด คนโบราณจึงพูดไว้เป็นสำนวนว่า เจ้าวัดอย่าให้อาหาร เมื่อใจเป็นเจ้าวัดอยู่ข้างในแล้วประตูทางเข้าไปหาใจนั้นมีมาก มันมีอยู่ห้าทาง เรียกว่า ทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้ง ๕ นี้เป็นทางนำสิ่งต่างๆ เข้าไปสู่ใจ และนำเข้าไปทั้งความดีและความชั่ว ถ้านำสิ่งที่ดีเข้าไปใจก็เป็นสุขสบายเพลินไปกับสิ่งนั้นๆ ถ้านำสิ่งร้ายเข้าไปก็เป็นใจที่เดือดร้อน การที่ใจเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้างนั้น เป็นเพราะข้าศึกอารมณ์ไหลเข้ามาถึงใจได้ จึงจะต้องสร้างกำแพงกั้นไว้เป็นเครื่องกั้นสักสามชั้นจึงจักพอ กำแพงชั้นนอกได้แก่ ศีล กั้นข้าศึกหยาบๆ ไว้เป็นเบื้องต้น กำแพงชั้นแรกหมายถึงศีล ศีลเป็นเครื่องชำระกิเลสอย่างหยาบได้แล้ว แต่ฐานะของเราว่ายังเล็ดลอดเข้าไปได้จึงต้องสร้างกำแพงอีกชั้นหนึ่ง เป็นกำแพงละเอียดหน่อย เรียกว่า สมาธิ สมาธิสำหรับไว้กั้นกิเลสอย่างกลางไว้ได้ ถึงอย่างนั้นกิเลสอย่างละเอียดก็ยังรั่วไหลได้จึงต้องสร้างกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ให้ชื่อว่ากำแพง ปัญญา เป็นประการสุดท้ายที่จักป้องกันการโจมตีของข้าศึกได้แน่ ถึงมีกำแพงถึงสามชั้นแล้วก็ดี แต่ประตูทั้งสามชั้นของกำแพงยังเปิดอยู่เสมอจะต้องมีผู้เฝ้าประตูจึงต้องสร้างสิงห์เฝ้าประตูทั้งสามไว้ด้วย เพราะกำแพงจะหนาจะสูงเท่าใดถ้าไม่มีการเฝ้าให้ดีแล้ว ข้าศึกจักเล็ดลอดเข้ามาได้เสมอ จึงจำเป็นต้องมีผู้เฝ้านั้นก็คือ สิงห์ อันได้แก่ สติ-สัมปชัญญะนั่นเอง ศีลจะดีเพราะมีสติ-สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญาก็เช่นเดียวกัน คนรักษาศีลขาดธรรมะสองข้อนี้แล้ว ศีลก็ไม่เรียบร้อย เมื่อศีลไม่ดี สมาธิก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อสมาธิไม่เกิด ปัญญาก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน สติ-สัมปชัญญะจึงเป็นธรรมสำหรับกำกับซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้มีความรู้เท่าทันทุกอย่างตามความเป็นจริง จิตย่อมฉลาดหลุดพ้นจากความชั่วทั้งหลาย ฉะนั้น สติ-สัมปชัญญะ จึงเป็นราชสีห์ทั้งสองตัว ที่คอยจะจ้องจับข้าศึกศัตรูทั้งหลาย อันเป็นสิ่งที่มักโจมตีสมภารในวัด คือ ใจ นั่นเอง

ฉะนั้น ท่านสาธุชนทั้งหลาย จงจำไว้ในใจให้ดีเถิดว่า สิงห์ทั้งสองตัวนั้นเป็นรูปของสัตว์ที่มีอำนาจ แต่ในที่นี้คือ สติ-สัมปชัญญะ ที่คอยคุมจิตใจของตนให้คิดให้นึกไปในทางที่ดีอยู่เสมอ ในทางพุทธศาสนาของเราจึงสอนให้คนอบรมจิตคือให้มีสติมั่น เพราะบุคคลมีสติมั่นแล้วย่อมสามารถขยี้ขย้ำศัตรูร้ายให้พ้นจากใจลงได้เสมอ ใจของตนก็จะสงบเรียบร้อยเพราะไม่มีข้าศึกมารบกวน ถ้าท่านสร้างสิงห์ในตัวท่านนั้น ลงทุนน้อยได้กำไลงาม ไม่หนักอกหนักใจ ทำให้มีอยู่แล้วก็สบายใจได้แล้วทุกสิ่งที่เป็นทางให้เกิดทุกข์ก็จักเหือดหายไป เพราะรู้เหตุทันต่อเหตุผล ว่าอะไรดีอะไรไม่ดีแล้วท่านจำไปทางไหนก็จะเป็นผู้มีอำนาจเหมือนพญาราชสีห์ไปทางไหนสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ต่างก็พากันกลัวอำนาจท่านผู้มีสิงห์อยู่ในใจก็เหมือนกับศัตรูทั้งหลาย (ความชั่วทั้งหลาย) จะพากันหลีกไปเกรงอำนาจของสิงห์คือสติสัมปชัญญะของท่าน

การที่กล่าวเรื่องสิงห์หน้าวัดมาพอสมควร ท่านทั้งหลายคงทราบแล้วว่า สิงห์นั้นหมายถึง อะไร...? ในจุดประสงค์ของผู้เขียนจึงขอให้ท่านทุกคนผู้รักความสุขเกลียดความทุกข์ จงมีสิงห์ คือ สติ-สัมปชัญญะ ไว้คอยกั้นความชั่วที่จะเข้ามาสู่ใจของท่านทั้งหลาย โดยทั่วกันทุกท่านทุกคน เทอญ...ฯ

แถม"บันไดนาค"หื้อแหมเรื่องหนึง เอาเปิ้นมาเหมือนกัน

*******************************************

สัญลักษณ์ของบันไดนาค

โดย อาจารย์ศรัญญา คันธาชีพ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ท่านผู้ฟังเคยตั้งข้อสังเกตหรือตั้งคำถามกับตัวเองบ้างไหมว่า สถานที่สำคัญทางศาสนา ส่วนใหญ่ ทำไมจึงมักมีการสร้างราวบันไดขึ้นพระสถูป หรือพระเจดีย์ เป็นรูปหัวพญานาค… เขาสร้างไว้เพื่ออะไร เพื่อความขลังศักดิ์สิทธิ์ ให้ดูน่าเกรงขาม น่าศรัทธา เพื่อความสวยงาม หรือเพื่ออะไร

แรกเริ่มดินแดนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนับถือ “งู” กันมาตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ (3,000-2,500 ปีมาแล้ว) เพราะมีหลักฐานจากภาชนะหม้อเขียนสีที่บ้างเชียง จังหวัดอุดรธานี ที่เขียนลวดลายเป็นรูปงูพันอยู่ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกับภาชนะดินเผา ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ที่แสดงว่ามนุษย์สมัยนั้นมีคติหรือ “ลัทธิบูชา” คือ ยกย่องนับถืองูเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเจ้าแห่งดินและน้ำกันทั่วไปแล้ว เพราะงูอยู่กับดินและน้ำอันเป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดพืชพันธุ์ธัญญาหารและกุ้ง หอย ปู ปลาที่เป็นอาหารของมนุษย์ ต่อมาเมื่อผู้คนในดินแดนนี้ มีการติดต่อกับคนจากภายนอกที่ต่างชาติ ต่างภาษา เช่น อินเดีย จีน อิสลาม โดยเฉพาะอินเดีย ผู้คนในภูมิภาคนี้ก็รับเอาคำว่า “นาค” จากภาษาสันสกฤตมาเรียกงูให้ฟังขลังขึ้น เพราะยกย่องนับถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์

นาคในอุษาคเนย์มีที่อยู่ในดินเรียกว่า “บาดาล” หรือ “นาคพิภพ” แต่หลังจากมีการติดต่อและรับแบบแผนจากอินเดียแล้ว ก็ปรากฏนาคแบบใหม่อยู่บนฟ้าตามคติอินเดีย

การนับถือนาคมีอยู่ทั่วไปตามชุมชนบ้านเมืองทั่วภูมิภาคอุษาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง ตั้งแต่ตอนใต้มณฑลยูนนานของจีนลงมา จนถึงปากแม่น้ำโขง ล้วนเลื่อมใสลัทธิบูชานาค เพราะเชื่อว่านาคเป็นผู้บันดาลให้เกิดธรรมชาติ ความมั่งคั่งและมั่นคง ในขณะเดียวกันก็อาจบันดาลให้เกิดภัยพิบัติถึงขั้นบ้านเมืองล่มจนได้ นอกจากนั้นยังยกย่องนับถือนาคเป็นบรรพบุรุษด้วย ดังคำบอกเล่าในลักษณะของ “นิทานปรัมปรา” เกี่ยวกับนาคมากมาย ซึ่งถ้าพิจารณาแยกแยะสัญลักษณ์ในนิทานปรัมปราเกือบทั้งหมดแล้ว จะพบว่ามีอย่างน้อย 3 ลักษณะ คือ เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนดั้งเดิม สัญลักษณ์ของเจ้าแห่งดินและน้ำ และเป็นลัทธิทางศาสนาดังพบสัญลักษณ์ของนาคสร้างควบคู่ไปกับศาสนาสถานตามที่ต่าง ๆ ดังเช่น การสร้างบันไดนาค

การสร้างราวบันไดขึ้นพระสถูป หรือพระเจดีย์เป็นรูปหัวพญานาค 5 เศียรหรือ 7 เศียร นับเป็นคตินิยมที่มีอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบพุทธและฮินดู โดยมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ในเรื่องการขึ้นสู่เบื้องบน กล่าวคือ บันไดขึ้นพระสถูปเปรียบเสมือนสะพานรุ้งซึ่งเชื่อมโลกมนุษย์กันแดนสวรรค์ การขึ้นบันไดไปสู่ยอดพระสถูป ซึ่งตั้งอยู่บนฐานประทักษิณลดหลั่นกันลงมาเป็นรูปปิรามิดนั้น เปรียบเสมือนการปีนเขาพระสุเมรุที่เป็นแกนจักรวาล เพื่อขึ้นไปสู่แดนพระอาทิตย์ ในทางกลับกันการลงจาก

พระสถูปก็หมายถึงการที่อำนาจทางจิตวิญญาณได้ไหลบ่าลงมาจากสวรรค์สู่พื้นโลก โดยสรุปแล้วบันไดขึ้นพระสถูปจึงเปรียบกับหนทางไปสู่แดนพระอาทิตย์ ซึ่งอยู่บนยอดสุดของแกนจักรวาลและเป็นทางลงมาจากสวรรค์ของผู้มีบุญทั้งหลาย และหนทางนี้เองที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาอุบัติในโลกมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวในพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา และเหล่าเทวดาเป็นเวลาสามเดือน ตามพุทธประวัติ กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงมายังโลกทางบันไดแก้วมณีสีรุ้ง ซึ่งเหล่าเทวดาเป็นผู้เนรมิตขึ้น บันไดนั้นมีสามแนว บันไดแนวกลางที่พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินลงมานั้นมีเจ็ดสี เพราะทำด้วยอัญมณีเจ็ดประการ ส่วนบันไดขนาบทั้งสองข้างที่พระอินทร์กับเหล่าเทพและพรหมเดินลงมาเพื่อส่งเสด็จ พระพุทธเจ้านั้นเป็นบันไดเงินและบันไดทอง และมีนาคสองตนเอาหลังหนุนบันไดนี้ไว้ แต่มนุษย์บนโลกมองเห็นบันไดนี้เป็นรุ้งกินน้ำสามสาย

ดังนั้นจึงอาจสรุปความหมายเชิงสัญลักษณ์ของบันไดนาคได้ว่า "พญานาคหมายถึงรุ้งกินน้ำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหนทาง หรือสะพานเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์" ตามคติความเชื่อของชาวไทยหรือประเทศเพื่อนบ้านของเรามาแต่โบราณ คราวนี้ถ้าหากท่านผู้ฟังไปเจอบันไดนาคที่ใด ก็คงจะคลายข้อสงสัยได้แล้วน่ะ

***************************************************************

*************************************************************

ขอขอบคุณ เจ้าของบทความ

AHORSIGUM

ประวัติศาตร์น่าศึกษา  /พุทธพยากรณ์

*เสาพระเจ้าอโศก มหาราช

หัวสิงห์ยอดเสาอโศกในสารนาถ โบราณวัตถุที่สำคัญที่สุดของอินเดีย หัวสิงห์นี้ถูกใช้เป็นตราประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน

*เสาหินพระเจ้าอโศก ครั้งแรกได้ประดิษฐาน ที่ธัมมราชิกสถูป เมื่อกาลเวลาผ่านไป เสาหินนี้หักลง ส่วนตัวเสาที่หักเป็นหลายท่อนได้วางไว้ที่ ธัมมราชิกสถูป โดยสร้างเป็น ศาลาเล็กครอบไว้

ส่วนหัวเสา ทำด้วยหินทรายขัดมัน  มีสีเทาอ่อน เป็นหัวเสา ที่มีลักษณะสวยงามที่สุด และสมบูรณ์มากที่สุด ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้เก็บรักษา และตั้งแสดงให้ดู ในพิพิธภัณฑ์ แห่งพาราณสี

หัวเสา มีลักษณะเป็น หัวสิงห์ 4 ตัว หันหลังชนกัน และหันหน้าไปทาง 4 ทิศ สิงห์แต่ละตัว มีความสูง 7 ฟุต และมีธรรมจักร ขนาดใหญ่ จำนวน 24 ซี่ ตั้งอยู่บนหลังสิงห์นั้น (มีความหมายว่า การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา กำลังหมุนวงล้อ แห่งพระธรรมไปทั่วทั้ง 4 ทิศ) ส่วนที่ฐานมีรูปสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ ช้าง (หมายถึง การประสูติ เพราะเหตุที่พระพุทธมารดาทรงสุบินว่า มีช้างถือดอกบัวมาเข้าเฝ้าในคืนวันที่ทรงพระครรภ์ เจ้าชายสิทธัตถะ) ม้า (หมายถึง การบรรพชา เพราะได้เสด็จทรงม้ากัณฐกะออกจากพระราชวัง เพื่อการบรรพชา), สิงห์ (หมายถึง การประกาศธรรม ที่เปล่งสีหนาท เต็มไปด้วยอำนาจ ดังก้องไปทั่ว ทุกทิศทุกทาง), หงส์ (หมายถึง การแยกชั่วดี เหมือนหงส์ ที่สามารถแยกน้ำ และนมออกจากกันได้) ตั้งอยู่ บนฐานดอกบัว (หมายถึง ศาสนา ความบริสุทธิ์ อันดอกบัวนั้น ไม่ว่าจะเกิดมาจาก โคลนตม อย่างไรก็ตาม เมื่อออกดอก ก็จะบริสุทธิ์ สวยงาม ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยโคลนตม)

หัวเสาหิน พระเจ้าอโศกนี้ ปัจจุบันอินเดียได้ถือเป็น สัญญลักษณ์ประจำชาติ มีปรากฏอยู่ในธนบัตร และในธงชาติของอินเดีย

 เสาอโศกที่เวสาลี

**** ทุกวันนี้ เสาอโศกมีตั้งปรากฎอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศอินเดียปัจจุบัน เสาหลายต้นถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์ บางต้นถูกทำลายโดยธรรมชาติ และพังทลายไปตามกาลเวลา ในจำนวนเสาอโศกที่มีหลงเหลืออยู่ในทุกวันนี้ และยังมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์อยู่นั้น ได้แก่
1. เสาอโศกที่อัลลาหะบาด (Allahabad) เดิมทีเชื่อว่าตั้งอยู่ที่เมืองโกสัมพี
2. เสาอโศกที่พุทธคยา (Bodhgaya)
3. เสาอโศกที่เดลี (Delhi) จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ต้น เดิมทีนั้นเสาทั้งสองตั้งอยู่ที่เมืองเมรัฐ และ เมืองโทปรา ในรัฐหรยานะ ต่อมา พระเจ้าเฟโรซ ชาห์ ตุฆลัก (Firuz Shah Tughlug) กษัตริย์ราชวงศ์โมกุล ทรงมีพระบัญชาให้ย้ายเสาทั้งสองต้นมาไว้ที่ กรุงเดลี เมื่อพ.ศ.1899 (ค.ศ.1356)
4. เสาอโศกที่เลาริยะ-อเรราช (Lauriya-Areraj)
5. เสาอโศกที่เลาริยะ-นันทครห์ (Lauriya-Nandangarh)
6. เสาอโศกที่สวนลุมพินี (Lumbini) เมืองกุสินารา (กุสินคร)
7. เสาอโศกที่นิกาลีสการ์ (Nigalisagar)
8. เสาอโศกที่รามปุรวะ (Rampurva) หรือ รามปุระ(Rampur)
9. เสาอโศกที่สาญจี (Sanchi) เมืองโภปาล
10. เสาอโศกที่สันกิสาร์ (Sankissa) หรือ สังกัสสะ(Sankasa)
11. เสาอโศกที่สารนาถ (Sarnath) ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
12. เสาอโศกที่สาวัตถี (Sravasti)
13. เสาอโศกที่เวสาลี (Vaishali)
จุดเด่นที่สุดของเสาอโศกนั้น ก็คือ “ประติมากรรมบนหัวเสา” ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรูปสิงห์แกะสลัก ประดิษฐานอยู่บนยอดด้านบน เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดั่งราชสีห์ และส่งเสียงคำรามแผ่ไพศาลไปไกลแสนไกล นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์รูปธรรมจักร และดอกบัวตรงบริเวณด้านล่างของแท่นหัวเสา อันเป็นนัยยะแทนพระธรรมคำสอน และองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในบรรดาประติมากรรมรูปสิงห์ หรือสิงโตบนเสาอโศกที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์นั้น ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ “หัวเสาอโศกรูปสิงโตสี่ตัว” นั่งหันหลังชิดติดกัน โดยหันหน้าไปทางทิศทั้งสี่ เป็นประติมากรรมบนหัวเสาอโศกที่เมืองสารนาถ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสารนาถ (อนึ่ง รูปสิงโตสี่ตัวนี้ ต่อมาได้ถูกนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินของประเทศอินเดียปัจจุบัน) แต่ทว่า ส่วนลำต้นของเสาอโศกนั้นได้แตกหักออกเป็นสี่ส่วน ดังนั้น หากรวมความสูงของเสาอโศกที่สารนาถต้นนี้ จะมีความสูงทั้งหมดรวม 50 ฟุต
ประติมากรรมยอดหัวเสารูปสิงโตที่มีชื่อเสียงอีกแบบหนึ่งนั้นก็คือ “หัวเสาอโศกรูปสิงโตเดี่ยว” เป็นประติมากรรมรูปสิงโตนั่งเพียงตัวเดียว มีให้เห็นที่เสาอโศกเมืองเวสาลี และ เสาอโศกที่เลาริยะ-นันทครห์
The head of the Ashoka pillar is not only a lion image. There are also some Ashoka pole heads that are made into other animals that are less well known, such as the "Elephant Ashoka Pillar" which can only be seen on the Ashoka pillar at Sankisar (Sangkassa) and "Head. The Ashoka Pillar in the shape of a bull" which appears on the head of the Ashoka pillar at Rampurwa (Rampura)

 

 

 

 

โทร: 0614901584

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ