พระสมเด็จ ปิดทองทึบ หลังภาษาจีน นูน สายวัง
รายละเอียด :
7050
พระองค์ในภาพมิใชองค์ในบทความ
*************************
ขอบคุณ เจ้าของบทความ
Chok Permpool
1 กุมภาพันธ์ 2019
พระสมเด็จวัดพระแก้ว พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม ลงน้ำทองเคลือบหน้าหลัง.. พลังพุทธคุณสูง(การเคลือบทองคำเป็นศรัทธาในพระเครื่อง และผลของการเคลือบทองคำสื่อพลังพุทธคุณพลังอิทธิคุณสูงสุด)
ด้านหลังพบรอยปูไต่ การยุบย่นหดตัว รอยปิแยก ขอบข้างมีการยุบหดตัว รอยปิแยก.แบบพระสมเด็จวัดระฆัง
ทองคำกับคนไทย
พุทธศาสนิกชนซึ่งมีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับวัดคงสังเกตเห็นพระพุทธรูปที่เป็นทองคำเหลืองอร่ามโดยอาจหล่อด้วยทองคำทั้งองค์หรือหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์แล้วปิดด้วยทองคำเปลว นอกจากนี้ยังมีการใช้ทองคำประดับตกแต่งส่วนอื่น ๆ ภายในวัด เช่น นำทองคำมาประดับตกแต่งอุโบสถ วิหาร เจดีย์ และปรางค์ ด้วยเหตุนี้คนไทยจึงถือว่าทองคำเป็นโลหะมงคลเป็นของมีค่าสูง
คตินิยมของการสร้างพระพุทธปฏิมาสืบเนื่องมาจากโบราณไม่ว่าจะเป็นพระเนื้อโลหะหรืออโลหะก็ตาม มักจะเจือด้วยธาตุทองคำและเงินบริสุทธิ์เสมอ โดยถือว่าเป็นสินแร่ตระกูลสูงกว่าสามัญโลหะทั้งหลาย มีความศักดิ์สิทธิ์อิทธิพลโดยธรรมชาติที่เรียกว่า
“ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้”
นำมารีดเป็นแผ่นแล้วประสิทธิด้วยพระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๘ เป็นต้น แล้วจึงตะไบออกเป็นเกล็ดเป็นผง เจือผสมลงในมวลสารของเนื้อเป็นอิทธิวัสดุ
ส่วน “ทรายเงินทรายทอง” ว่า ทรายเงินทรายทอง คือ ผงตะใบจากแผ่นเงินแผ่นทองลงคุณพระ มีลักษณะเป็นผงที่ละเอียดมาก และเป็นมวลสารที่ปรากฏตัวน้อยที่สุด สังเกตเห็นได้เพียงบางองค์เท่านั้น สำหรับองค์ที่ปรากฏก็มีเพียงเกล็ดสองเกล็ดเท่านั้นเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะจมอยู่ในเนื้อลึก หรือมิเช่นนั้นก็เป็นส่วนที่ใช้เจือผสมเนื้อเพียงเล็กน้อยมาแต่เดิม และที่ปรากฏมีของวัดระฆังเป็นส่วนมาก สำหรับบางขุนพรหมปรากฏน้อยมาก
สำหรับ “การลงรักเก่าทองเก่า” ว่า มูลกรณีการลงรักเก่าทองเก่า สืบเนื่องจากคติคนโบราณในการลงรักปิดทองพระพุทธประติมากรรม โดยถือว่าเป็นงานขึ้นสุดท้ายของกรรมวิธีสร้างพระ ตามอุดมคติที่ว่า พระพุทธฉวีมีวรรณะผุดผ่องดังสุวรรณชมพูนุท เมื่อเจ้าพระคุณ ได้รับการถวายกัณฑ์เทศน์เป็นทองเปลวมาจากชาวบ้านถนนตีทองและที่อื่นๆ ท่านจึงดำริการลงรักปิดทองพระสมเด็จฯ ของท่านขึ้น โดยมิได้กำหนดว่าจะปิดทองเฉพาะองค์เพื่อเป็นคะแนนแต่ประการใด คงปิดไปตามจำนวนแผ่นทองเปลวที่ได้รับมาเป็นครั้งคราวเท่านั้น และต่อมาคงมีผู้ปฏิบัติตาม เมื่อได้รับพระสมเด็จฯ มาก็ลงรักปิดทองกันเอง
พระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งมีแร่ทองบางสะพานฝังอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังนั้น จัดว่าเป็นพระสมเด็จที่ว่ากันว่าหายากมาก เข้าใจว่ามีการจัดสร้างจำนวนน้อยมากๆ นับจากเวลาการสร้างพระสมเด็จเกือบสองทศวรรษแล้ว ถ้าจะเหลือคงเหลืออยู่ในความครอบครองของผู้สืบสกุลจากบรรดาเจ้านายชั้นสูงในสมัยก่อนเท่านั้น ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่าปัจจุบันแม่จะขึ้นชื่อว่าประเทศไทยจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี แต่ผู้ครอบครองพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่มักตั้งราคาสูงประมาณองค์ละ ๘๐-๑๕๐ ล้านบาทเลยทีเดียว. |
" เมื่อเจ้าของพระหมดวาสนาลงก็จะมีการเปลื่ยนการครอบครอง ผู้มีบุญวาสนามีวาสนาคนต่อไปได้ไปบูชา เก็บได้ถือเป็นวาสนา "
การลงรักปิดทอง เป็นศิลปะที่ต่อเนื่องจากการเดินเส้นแต่งลาย เป็นการนำทองคำเปลวมาตกแต่งให้ชิ้นงานมีความสวยงาม สง่างาม เพราะคนในอดีตเชื่อว่า ทองคำ เป็นสิ่งที่มีค่า ชาวบ้านก็คิดนำทองคำมาดัดแปลงเป็นแผ่นเปลว เพื่อนำมาปิดหรือมาติดชิ้นงานเพื่อให้สินงานมีมูลค่า
การปิดกระจก เป็นการนำเศษกระจกที่เป็นสีแต่ละสีมาตัดให้เป็นเม็ดวงกลม เพื่อที่จะนำมาติดชิ้นงานที่ปิดทอง เป็นการเพิ่มความสวยงามหลังจากปิดทองคำเปลว การปิดกระจกยังเป็นขั้นตอนสุดท้ายในงานด้าน การลงลักปิดทอง
.แผ่นทองคำเปลว
.ยางต้นรัก
.แปรงจิ้มทอง(แปรงทาสีธรรมดา)
.ทายางรักทิ้งไว้ให้ยางลักเหนียว
.นำแผ่นทองคำเปลวมาติดชิ้นงานที่ทายางรักทิ้งไว้
.นำชิ้นงานมาฆ่าทอง หรือ นำเศษทองที่ไม่ต้องการออกไป โดยราดน้ำใส่ผลงาน
ลายรดน้ำลงรักปิดทอง ถือเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยแขนงหนึ่งที่มีความประณีตและบรรจง ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยจุดเริ่มต้นของลายรดน้ำนั้น คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
เนื่องจากมีการค้นพบการใช้ยางรัก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้ยางรักปิดทองล่องชาดเครื่องจำหลักไม้และใช้ในการปิดทองพระประธานในพระอุโบสถและพระวิหาร ต่าง ๆ อย่างเช่น พระพุทธชินราชในวัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
คาดว่าการใช้ยางรักนั้นอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากแผ่นดินใหญ่ หรือประเทศจีน เพราะสมัยนั้นไทยมักติดต่อค้าขายกับจีนเป็นส่วนมาก
ต่อมาในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกได้ว่าเป็นยุคเฟื่องฟูของ ลายรดน้ำลงรักปิดทอง เนื่องจากมีการใช้กัน อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยมักจะทาลวดลายลงบนเสาศาลาการเปรียญและตู้พระไตรปิฎก แสดงถึงคุณค่าทางด้านความงามและสุนทรียภาพทางสถาปัตยกรรม นิยมเขียนเป็นลายไทยดั้งเดิม อาทิ ลายใบอ่อน และลายดอกพุดตาน
จนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการผสมผสานลายเส้นแบบไทยกับตะวันตกทาให้เกิดลวดลายใหม่ ๆ โดยนำตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ มาเขียนเป็นลวดลาย เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานป่าหิมพานต์
สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของงานศิลปะลายรดน้ำลงรักปิดทอง คือ น้ำยาหรดาล ซึ่งจะใช้ในการเขียนลาย ถมพื้น และ ถมลายในส่วนที่ไม่ต้องการปิดทอง เป็นการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยส่วนประกอบสำคัญของน้ำยาหรดาลมีด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่ "หินหรดาล" ฝักส้มป่อยและกาวกระถิน
วิธีการต่อมาคือนำฝักส้มป่อยไปตากแห้งและต้มในน้ำเดือด เพราะน้ำฝักส้มป่อยจะทาหน้าที่ลดความเป็นกรด ของหินหรดาลอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นนำยางกระถินมาทุบและนาไปละลายในน้ำเดือด เมื่อได้กาวกระถินแล้วให้นาฝักส้มป่อย มารวมกัน ซึ่งกาวกระถินมีคุณสมบัติเป็นตัวผสานให้ส่วนผสมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน
สมัยก่อนจะเห็นได้ชัดว่าช่างมักจะใช้น้ำยาหรดาลเป็นส่วนมาก เนื่องจากช่วงนั้นยังไม่มีการคิดค้นสีโปสเตอร์ ทำให้ช่างต้องใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ ทำน้ำยาหรดาลขึ้นมา แต่ในปัจจุบันสีโปสเตอร์หรือสีชนิดอื่น ๆ สามารถหาซื้อได้ง่ายและมีราคาถูกกว่ามากและไม่ต้องเสียเวลากับกระบวนการทาสีเอง ทำให้ช่างในปัจจุบันหันมาใช้สีโปสเตอร์แทน"น้ำยาหรดาล"
ขั้นตอนการปิดทองคำเปลว
นำองค์พระที่จะปิดทองคำเปลวทำความสะอาดก่อนโดยล้างน้ำแล้วใช้แปรงสีหันถูให้ฝุ่นออกให้หมด แล้วล้างอีกครั้งด้วยน้ำสะอาดเช็ดให้แห้งตากแดด หรือตากแดดเพื่อให้แห้งสนิท
ใช้สเปรย์สีเทาพ่นทั่วทั้งองค์พระ รอจนสีแห้งแล้วใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดขัดจนทั่วชิ้นงาน จนมองเห็นร่องรอยได้ชัดเจน จากนั้นให้ใช้สีโป๊วอุดที่เกิดร่องรอยแล้วรอให้แห้งแล้วขัดให้เรียบอีกที ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง รอจนแห้ง (ขั้นตอนนี้อาจละเว้นไปได้)
รองพื้นด้วยสีแดง หมายเลข 5925 รองพื้นชิ้นงาน ข้ามคืน รอจนแห้ง
ตรวจว่าสีแห้งหรือไม่ด้วยหลังมือ ถ้าสีแห้งแล้วให้เริ่มปิดทองได้ตามขั้นตอนต่อไป
ใช้สีเฟลกซ์สีเหลือง หมายเลข 2613 ทาให้ทั่วองค์พระ การทาระวังอย่าทาสีให้หนาเกินไปเพราะจะทำให้สีส่วนนั้นแห้งไม่เท่ากัน และสีส่วนนั้นจะหนาเป็นก้อน เวลาปิดทองทำให้เกิดปัญหาตามมา จากนั้นปล่อยสีที่ทาให้แห้งแต่อย่าแห้งจนเกินไป ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง สังเกตจากการใช้หลังฝ่ามือแตะดูว่าสีแห้งหรือยัง ถ้าสีไม่ติดแสดงว่าแห้งพอที่จะปิดทองคำเปลวได้ ถ้ายังติดมือแบบหนืดๆอยู่ ให้ปล่อยไว้ก่อน เพราะการปิดตอนสีหนืดจะทำให้ทองจม
พอสีแห้งได้ที่แล้วนำแผ่นทองคำเปลวมาปิดทับได้ การปิดแผ่นทองคำเปลวควรสังเกตส่วนที่มีเนื้อกว้างก่อน แล้วไล่ปิดขึ้นไปจนเต็มชิ้นงาน และเวลาปิดให้ทับซ้อนกันประมาณสองมิลลิเมตรเพื่อไม่ให้เห็นรอยต่อของเนื้อทอง ส่วนที่มีเว้าหรือนูนให้ปิดทองซ้อนไปอีกแผ่นเพราะเวลากระทุ้งทอง ทองแผ่นแรกจะแตกพอแผ่นที่สองจะช่วยไปประสานรอยแตกแทน ทั้งนี้เศษทองที่ร่วงลงมาสามารถนำมาใช้ในส่วนที่มีรายละเอียดได้ หลังจากปิดแผ่นทองคำเปลวเสร็จแล้วให้ใช้พู่กันกวาดแผ่นทองให้เรียบกระทุ้งทองส่วนที่มีรอยลึกจนเต็ม
เก็บเศษทองคำเปลว โดยใช้พู่กันขนนุ่มปัดเศษทองคำเปลวบนเนื้อองค์พระให้ทั่วจนฝุ่นทองออกหมดเป็นการเก็บงานอีกครั้ง
ใช้สำลีเช็ดเพื่อเกลี่ยเนื้อทองให้เท่ากัน และ ลบรอยนิ้วมือ
เคล็ดลับและเกร็ดสำคัญ
ผิวพระ สำหรับผิวพระนั้นจะต้องเตรียมผิวพระให้เหมาะสมก่อนปิดทองจริง ต้องสะอาดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ทองคำเปลว ส่วนทองคำเปลวมีจุดที่ควรจะพิจารณาเป็นพิเศษคือ เป็นทองเนื้อดี มันวาว และเนื้อทองที่ช่างตีจะต้องเต็ม แต่ส่วนมากแล้วก็ไม่เต็ม (ทดสอบโดยนำแผ่นทองคำเปลวไปส่องกับแสงสว่าง จะเห็นได้ชัดเจนว่า เหมือนมีรูมีช่องว่างอยู่ภายในแผ่นทองนั้น) เวลาเลือกจึงควรให้ความสำคัญ และการปิดต้องรอให้สีแห้งก่อนไม่อย่างนั้นจะทำให้ทองคำหมอง
สีเฟลกซ์สีเหลืองมีส่วนสำคัญเพราะเป็นตัวช่วย ช่วยให้แผ่นทองคำเปลวที่ปิดมีความมันวาวเพิ่มขึ้นและช่วยปกปิดตำแหน่งที่ ทองคำเปลวคลุมผิวไม่ทั่ว
การรองพื้นหากต้องการลดต้นทุนอาจจะใช้การรองพื้นด้วยสีสเปรย์ทองคำแทนสีเฟลกซ์สีแดง เพราะมีเนื้อทองคำผสมอยู่ จึงเป็นตัวช่วยที่ดีมาก ๆ ของแผ่นทองคำเปลว (ต้นทุนสูง) ให้ใช้น้อยลง
การทาสี ควรทาให้บางโดยเก็บรายละเอียดของผิวพระไม่ให้หาย เช่น บริเวณปาก ต้องพยายามทาสีให้ทั่วแต่ขณะเดียวกันต้องใช้พู่กันเก็บสีส่วนเกินให้หมด ลายเส้นต่าง ๆ จะต้องมองเห็น
อาชีพหนึ่งของคนไทยที่ทำกันมาแต่โบราณและเกี่ยวข้องกับทองคำ คือ ช่างทอง ส่วนใหญ่เป็นการทำเครื่องทองโบราณ เช่น การทำถมทอง ทองลงยา คร่ำทอง ลงรักปิดทอง ที่ถือเป็นงานศิลปะชั้นสูง นอกจากนี้เป็นงานสถาปัตยกรรม ได้แก่ การสร้างโบสถ์ วิหาร และงานด้านจิตรกรรม เช่น การตกแต่งภายในวัดเหล่านี้แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่งดงามของสังคมไทยมาแต่สมัยโบราณและเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน การค้าขายทองคำมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยอาศัยหลักฐานจากศิลาจารึกกรุงสุโขทัยว่า “ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า” และจากการขุดพบศิลปวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูปต่าง ๆ ที่มีทองคำหุ้มหรือหล่อด้วยทองคำ เช่น พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรหรือเรียกอีกชื่อว่า หลวงพ่อทองคำซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยที่หล่อด้วยทองคำทั้งองค์ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ ปัจจุบันทองคำเข้ามามีบทบาทในสังคมและการดำรงชีวิตของคนไทยมากกว่าในอดีตเพราะในปัจจุบันคนนิยมใช้ทองคำเป็นเครื่องประดับหรือเก็บสะสมเป็นทรัพย์สมบัติเห็นได้จากร้านค้าทองคำที่มีอยู่ในแทบทุกตำบลหรือทุกอำเภอ ทำให้ในแต่ละวันมีการหมุนเวียนเงินตราที่มาจากการซื้อ-ขายทองคำเป็นจำนวนมาก
สมบัติของทองคำ
ทองคำมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษโบราณว่า จีโอลู (geolu) แปลว่า เหลืองอร่าม เปล่งปลั่ง อ่อน ยืดดึงได้ ภาษาอังกฤษในปัจจุบันคือ โกลด์ (gold) ซึ่งเป็นคำที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ทองคำมีสมบัติที่โดดเด่น ๒ ประการ ประการแรกเป็นสมบัติทางฟิสิกส์ คือ มีสีเหลืองอร่าม มันวาว ไม่ทำปฏิกิริยาเคมีง่าย ไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง ไม่สึกกร่อนตามกาลเวลา ทนต่อการกัดกร่อนของกรด-ด่าง และสามารถนำไปผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น รีด ตี แผ่ ยุบ หลอม จึงนำไปเป็นส่วนประกอบของวัตถุอื่น ๆ ได้ดี ประการที่ ๒ คือ สมบัติทางเคมี ทองคำมีสูตรทางเคมี Au มักเกิดเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติแต่อาจผสมกับธาตุอื่น ๆ เช่น เงิน ทองแดง เหล็ก ละลายได้เฉพาะในกรดกัดทองเท่านั้น
ทองคำกับการเคลือบวัตถุ
เพราะว่าทองเป็นโลหะที่มีสมบัติยืดหยุ่นสูงที่สุดจึงสามารถตีเป็นแผ่นที่บางขนาดหนึ่งในล้านนิ้วได้ ผลผลิตก็คือทองคำเปลวที่ใช้ติดบนรูปภาพ รูปปั้น พระเครื่องหรือเฟอร์นิเจอร์นั่นเอง การปิดชั้นทองคำเปลวบนผิวด้านนอกของสิ่งก่อสร้างช่วยให้พื้นผิวทนทานต่อการสึกกร่อนยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากก็คือตามโดมของศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญอื่นๆ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=535460909946935&set=a.108339809325716&type=3&theater
http://www.trueplookpanya.com/…/…/62460/-env-otherknowledge-
http://www.dannipparn.com/thread-1112-1-1.html
http://information-bantawai.blogspot.com/…/blog-post_9738.h…
https://www.ictsilpakorn.com/ictmedia/detail.php…
http://oknation.nationtv.tv/blog/p-parknum/2013/…/28/entry-1
https://hunsa.siamtodaynews.com/1558
https://www.cerawan.com/…/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8…
https://th.wikibooks.org/…/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B…
วิธีลงรักปิดทองพระเครื่องครบทุกขั้นตอน ปัดทองพระผง ปัดหน้าทองพระเครื่อง
https://www.youtube.com/watch?v=2VLXkCiMTIg
โทร: 0953395801
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระสมเด็จ