โชว์//พระกริ่ง ปวเรศ เครื่องทรงจีน ตอกลาย ปางประธานพร หล่อเต็มองค์ มีแกนช่อ พบเห็นน้อยองค์ เนื้อสัมฤทธิ์ พบ1องค์ ณ.18/06/2560Phra Kring Pawaret amulet, Chinese style, stamped pattern, posture of the blessing, full casting, with a bouquet of cores, rarely seen bronze
รายละเอียด :
8483
4/0357 /k
พระกริ่ง ปวเรศ เครื่องทรงจีน ตอกลาย จีวรปลายสะบัด ปางประธานพร หล่อเต็มองค์ มีแกนช่อ พบเห็นน้อยองค์ เนื้อสัมฤทธิ์ พบ1องค์ ณ.18/06/2560
Phra Kring Pawaret amulet, Chinese style, stamped pattern, posture of the blessing, full casting, with a bouquet of cores, rarely seen bronze
No broken, no repair, complete, found at the moment, 1 piece, strange, beautiful.
****************************************************************
Phra Kring Pawaret amulet, Chinese style, stamped pattern, posture of the blessing, full casting, with a bouquet of cores, rarely seen Bronze, found 1 amulet on 18/06/2017
*******************************************************
การครองจีวรของภิกษุในประเทศไทย (จากการสังเกตของผู้ไม่เคยบวชเรียน)
ไตรจีวรคือ ผ้า 3 ผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัว คือ
1. อันตรวาสก ผ้านุ่ง (สบง)
2. อุตราสงค์ ผ้าห่ม (จีวร)
3. สังฆาฏิ ผ้าทาบ
โดยพระภิกษุในประเทศไทยจะมีการครองจีวรอยู่ 4 แบบคือ
1. ห่มคลุมแบบมหานิกาย (ห่มมังกร) (รูปที่ 1)
2. ห่มคลุมแบบธรรมยุติกนิกาย (ห่มแหวก) (รูปที่ 2)
3. ห่มเฉวียงบ่าแบบมหานิกาย (ห่มดอง) (รูปที่ 3)
ซึ่งทางภาคกลางจะพาดถึงไหล่ แต่ธรรมเนียม.
ทางภาคเหนือ อาจจะจะพันที่ระดับรักแร้ก็ได้ (รูป
ที่ 4)
4. ห่มเฉวียงบ่าแบบธรรมยุติกนิกาย (ห่มลดไหล่)
ซึ่งอาจจะพาด (รูปที่ 3, 5) หรือไม่พาดสังฆาฏิแล้ว
แต่กรณี (รูปที่ 8, 9)
สำหรับการห่มของพระธรรมยุติ ทั้งห่มแหวกและห่มลดไหล่นั้น จะมีการเก็บชายจีวรได้ 2 แบบคือ อาจจะจีบชายจีวรทบแบบมอญ (รูปที่ 2, 8) หรือม้วนลูกบวบแบบไทยก็ได้ (รูปที่ 7, 9, คลิปที่ 2)
สำหรับการเลือกว่าจะห่มคลุมหรือห่มเฉวียงบ่านั้น เมื่อไปละแวกบ้านควรต้องห่มคลุม แต่ถ้าอยู่ที่วัดโดยเฉพาะเมื่อต้องแสดงความเคารพก็ห่มเฉวียงบ่า ตามที่พระวินัยมีกล่าวไว้ว่า
1. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล อันภิกษุนุ่งปิดมณฑลสะดือ มณฑลเข่า ชื่อว่านุ่งเป็นปริมณฑล
2. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มเป็นปริมณฑล อันภิกษุห่มทำมุมทั้งสองให้เสมอกัน ชื่อว่าห่มเป็นปริมณฑล
3. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไปในละแวกบ้าน อันภิกษุพึงปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน
4. สิทธิวิหาริกนั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำอย่างนี้ 3 หน
5. อันเตวาสิกนั้นพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้ว กล่าวอย่างนี้ 3 หน
โดยคณะสงฆ์ไทยเดิม (มหานิกาย) จะห่มมังกรและห่มดองมาแต่ครั้งอยุธยาและสุโขทัย แต่เมื่อตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นนั้น รัชกาลที่ 4 ครั้งยังเป็นวชิรญาณภิกขุ ได้ทรงเลือกการห่มแบบมอญเนื่องจากทรงเห็นว่าตรงตามพระวินัยมากกว่า
อย่างไรก็ตามที พระวินัยเองก็ไม่ได้ให้รายละเอียดในเรื่องนี้ไว้มากนัก และเมื่อดูพระพุทธรูปคันธาระซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยแรกสุด ก็จะเห็นว่าการห่มคลุมนั้น ท่านเอาพระหัตถ์ออกทางชายจีวรเหมือนพระมหานิกายไม่ได้ห่มแหวกแบบพระธรรมยุติ (รูปที่ 6)
การ overlap ของการครองผ้าของพระสงฆ์ทั้งสองนิกาย
1. ในปัจจุบันพระมหานิกายหลายวัด เปลี่ยนมาครองจีวรแบบธรรมยุติ
สาเหตุน่าจะเนื่องจาก ตั้งแต่หลังจากกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2396 แล้ว องค์สกลมหาสังฆปรินายกก็เป็นฝ่ายธรรมยุติมาตลอดกว่า 80 ปี จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2481
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสซึ่งทรงโปรดที่จะให้พระมหานิกายห่มแหวก ทำให้มีพระมหานิกายหลายวัดหันมาห่มแบบธรรมยุติ
2. ในปัจจุบันพระธรรมยุติ ยังคงต้องห่มดองในบางพิธีและพระราชพิธี
เรื่องนี้คิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากเหตุการณ์ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ทรงมีพระราชปรารภเรื่องพระสงฆ์ธรรมยุติไทยห่มแหวกแบบพระมอญ อยู่ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทรงมีพระราชดำริเรื่องรัชชทายาทว่า “ที่สติปัญญาพอจะรักษาแผ่นดินได้อยู่ เห็นแต่ท่านฟ้าใหญ่คนเดียว แต่รังเกียจอยู่ว่าท่านฟ้าใหญ่ถืออย่างมอญ ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดินขึ้นก็จะให้พระสงฆ์ห่มผ้าอย่างมอญเสียหมดทั้งแผ่นดิน ดอกกระมัง” และต่อมาได้ทรงมีพระราชปรารภว่า “พระภิกษุผู้เป็นสงฆรัตนในกรุงศรีอยุธยาก็เห็นนุ่งสะบงทรงจีวรเป็น ลูกบวบทั้งสิ้นด้วยกัน แต่พะม่ารามัญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโสมภาร อยู่นั้นและเห็นครองผ้าผิดกับพระภิกษุของเรา จึงเรียกกันว่าพระมอญ เดี๋ยวนี้พระไทยก็ห่มผ้าเป็นมอญ” “นี่พี่กลัวจะเป็นบาปเป็นบุญ เป็นคุณเป็นโทษพระสงฆ์จะแตกร้าวกันไปจึงมิได้ว่ากล่าว แต่ใจนั้นรักแต่ อย่างบุราณอย่างเดียวนั้นและ”
ซึ่งในครั้งนั้นรัชกาลที่ 4 ได้ขอรับพระราชทาน
สารภาพและให้พระธรรมยุติกลับมาห่มจีวรแบบพระไทยเหมือนเดิม อย่างไรก็ตามเมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว คณะสงฆ์ธรรมยุติได้ทูลขอกลับห่มแหวกอย่างเดิม ทรงว่าเป็นการของสงฆ์ไม่เกี่ยวด้วยอาณาจักร ดังนั้นจึง “ไม่ทรงห้ามปรามหรือ ทรงอนุญาตทั้ง 2 สถาน แต่นั้นพระสงฆ์ธรรมยุติกาก็กลับห่มแหวกต่อมา” แต่ก็ยังคงเหลือบางพิธีและพระราชพิธี ซึ่งอาจจะเนื่องกับพิธีเดิมในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่พระธรรมยุติยังคงต้องห่มดองเหมือนมหานิกายอยู่จนถึงปัจจุบัน
เขียนโดย “หมอนกแก้ว (นกขุนทอง)
ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่ https://w2.med.cmu.ac.th/suandok-variety/
---------------------------------------------------------
1 ห่มมังกร
2 ห่มแหวก
3.ทรงห่มเฉวียงบ่าแบบธรรมยุติ พาดสังฆาฏิ และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง) ห่มดอง
4.ครูบาศรีวิชัย ห่มดองแบบล้านนา
5.สังฆมนตรี มหานิกายทั้ง 2 รูปแต่ห่มจีวรแบบธรรมยุติ มหานิกายเช่นเดียวกันทรงห่มดอง
6.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงห่มดองในพิธีอธิษฐานจิต พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
7.การห่มคลุมของพระคันธาระ จะดูคล้ายกับแบบมหานิกาย
8.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงห่มแหวกแบบม้วนลูกบวบ
9.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงห่มลดไหล่พาดสังฆาฏิ พระเทพวิทยาคม (คูณ) วัดบ้านไร่ห่มลดไหล่แบบทบชายจีวรและไม่พาดสังฆาฏิ
Cr. ภาพจาก https://m.pantip.com/topic/31094306?
10.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) ทรงห่มลดไหล่ แบบม้วนลูกบวบ ถ่ายที่วัดถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร เมื่อ เดือนเมษายน พ.ศ. 2508 โดย หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน
เขียนโดย “หมอนกแก้ว (นกขุนทอง)
ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่ https://w2.med.cmu.ac.th/suandok-variety/
โทร:
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ