พระกริ่งจีนใหญ่ เนื้อสัมฤทธิ์ กริ่งดัง สีดำ น้ำตาลเข้ม (สีมันเทศ)
รายละเอียด :
11123kk999999
*********************************
ขอขอบตุณ เจ้าของบทความ
************************************
บทความบางส่วน จาก นสพ.คม ชัด ลึก
พระกริ่งจีน”
พระกริ่งจีนนั้น เรามีความเชื่อกันว่าสร้างอยู่ในยุคของราชวงศ์ที่สำคัญของจีนประมาณ ๓ ราชวงศ์ หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อ แต่ในที่นี้จะกล่าวขยายโดยย่อมาเล่าให้ฟัง
ราชวงศ์ถัง อยู่ในยุค ค.ศ.๖๑๙-๙๐๗ หรือประมาณ ๑,๓๐๐ ปี ที่ผ่านมา ต่อเนื่องจากราชวงศ์ฮั่น เป็นยุคที่จีนเจริญก้าวหน้า มีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ คือ จักรพรรดิถังไท่จง มีการจัดการปกครองแบบเจินถั้ว ทำให้ในวังหลวงมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะเมื่อพระนางอู่เจ๋อเทียน หรือที่เมืองไทยรู้จักกันในนาม พระนางบูเช็กเทียน มาเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์หลายด้าน
ในสมัยราชวงศ์ถัง เศรษฐกิจมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีการเกษตรมีความเจริญก้าวหน้า ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น มาตรฐานสูง
ขณะเดียวกัน ราชวงศ์ถังก็เพิ่มความเข้มแข็งในการปกครองชนกลุ่มน้อย โดยการเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ มีความเจริญทางด้านภาษา ศาสนา
นอกจากนั้นยังมีอัจฉริยบุคคลมากมาย เช่น หลี่ไป่ ตู้ฝู่ เสงียนจ่อง ซุนซือเหมี่ยว เป็นต้น
ทำให้ราชวงศ์ถังเป็นยุคทองยุคหนึ่งของประเทศจีน แต่เมื่อมีเจริญสูงสุดก็เกิดความวุ่นวาย ขุนนางเกิดขัดแย้งกันเอง ทำให้อำนาจการปกครองของฮ่องเต้อ่อนแอลง ประชาชนเกิดการปฏิวัติ ราชวงศ์ถึงก็ล่มสลาย
ราชวงศ์หมิง อยู่ในยุค ค.ศ.๑๓๖๘-๑๖๔๔ หรือประมาณ ๖๔๒ ปีผ่านมา เริ่มต้นราชวงศ์โดย หมิงไท่จู มีการผลักดันนโยบายการปกครอบแบบศูนย์กลางอำนาจให้เข้มแข็ง แต่งตั้งปราชญ์ราชสำนัก ทำให้อำนาจขุนนางอยู่ในระดับสูง มีการเกิดกบฏขึ้นหลายครั้ง แต่อำนาจรัฐยังคงเข้มแข็ง จนสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย เกิดขัดแย้งทั้งภายในและภายนอก ราชวงศ์หมิงจึงถูกล้มล้างโดยประชาชน
แต่ด้วยพื้นฐานราชงศ์ก่อนหน้า ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสินค้าขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ด้านศิลปะรุ่งเรือง การค้าเจริญก้าวหน้า มีการลงทุนค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาของไทยเรา
ในสมัยนี้ก็เกิดนักคิดที่มีชื่อหลายท่าน มีนวนิยายที่โด่งดังมาก เช่น สุ่ยหู่ (วีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน) พงศาวดารสามก๊ก และไซอิ๋วก็เกิดขึ้นในสมัยนี้
ราชวงศ์ซิง อยู่ในยุค ค.ศ. ๑๖๑๖-๑๙๑๑ หรือประมาณ ๓๙๐ ปีผ่านมา หนูเอ่อซาฉือก่อตั้งราชวงศ์โฮ่วจิน ในสมัยหวงไท่จี๋ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นราชวงศ์ชิง การบริหารยังคงดำเนินนโยบายต่อจากราชวงศ์หมิง และเพิ่มความเข้มแข็งในการปกครองทิเบต ซินเจียง มองโกล และไต้หวัน
ในสมัยราชวงศ์ซิงนี้ เศรษฐกิจเจริญต่อเนื่องจนถูกกดดันโดยระบบศักดินา การลงทุนต่างๆ ชะลอตัว จนภายหลังมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบบคอมมิวนิสต์ ราชวงศ์ซิงจึงเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน
ดังที่กล่าวมานี้ ทำให้วงการพระเครื่องไทยให้ความนิยมพระเครื่องจีนที่คาดว่าสร้างในสมัยราชวงศ์ทั้ง ๓ เป็นอย่างมาก เราเรียกว่า “พระกริ่งจีน”
พระกริ่งจีน เป็นพระเครื่องที่สร้างจากความเชื่อจากศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน โดยสร้างเป็นรูปเคารพของ “พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า” ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์นี้เป็นหนึ่งในสามองค์ที่เป็นที่นับถือสูงสุดของปวงพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน โดยมีการอธิบายไว้ในพระสูตรที่เรียกว่า “พระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูล ประณิธานสูตร” ซึ่งมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ถึงอานิสงส์การบูชาพระไภษัชยคุรุไว้ด้วยว่า
“ผู้ใดก็ดี ได้บูชขาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใส แล้วจักเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปราศจากภัย ไม่ฝันร้าย ศัตราวุธทำอันตรายมิได้ สัตว์ร้ายทำอันตรายมิได้ โจรภัยทำอันตรายมิได้ ยาพิษทำอันตรายมิได้ ฯลฯ”
ความศักดิ์สิทธิ์และปาฏิหาริย์ของพระพุทธไภษัชยคุรุปรากฏมากมาย ทำให้พุทธศาสนิกชนฝ่ายลัทธิมหายานเคารพนับถืออย่างยิ่ง จนมีพระกริ่งจีนอยู่ ๕ แบบ ที่แพร่หลายเข้ามาในไทย และเป็นที่นิยมอย่างมากในวงการพระบ้านเรา นั่นคือ
๑.พระกริ่งใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีพุทธลักษณะงดงาม อวบอิ่ม พระวรกายสมบูรณ์ ประทับนั่งมารวิชัย อยู่บนฐานบัว ๒ ชั้น เททองด้วยโลหะสัมฤทธิ์ แบบเบ้าประกบชั้นดี แทบไม่เห็นรอยตะเข็บข้างแม้แต่น้อย เทภายในกลวงบรรจุเม็ดกริ่งไว้ในฐาน โดยใช้แผ่นทองแดงปิดฐานไว้ เชื่อมโดยน้ำประสานเงิน ประณีตเป็นอย่างมาก
พระกริ่งใหญ่เป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนกรมพระยาปวเรศนำมาเป็นต้นแบบของ "พระกริ่งปวเรศ" อันโด่งดังในไทย ตลอดถึงสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนฯ ตลอดลงมาถึงปัจจุบัน
๒.พระกริ่งบาเกร็ง มีลักษณะคล้ายกับพระกริ่งใหญ่ แต่มีขนาดเล็กย่อมกว่า ทรวดทรงชะลูดกว่า ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัว ๒ ชั้น พระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ หรือบาตรน้ำพระพุทธมนต์ ตามหลักพุทธลักษณะของพระพุทธไภษัชยคุรุ
พระกริ่งบาเก็งนี้โด่งดังมาก และพบมากที่เขาพนมมาเกร็งในเขมร จึงเป็นที่มาของชื่อนี้ มีการบันทึกการเสด็จของกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วยว่า ได้เสด็จไปตามสืบค้นประวัติพระกริ่งบาเก็งนี้โดยตัวพระองค์ท่านเองด้วย
๓.พระกริ่งหนองแส เป็นพระจีนสกุลพระกริ่งจีน ที่ต่างจากองค์อื่นๆ เพราะเป็นพระเทตันไม่บรรจุเม็ดกริ่ง เหมือนพระกริ่งใหญ่ และพระกริ่งบาเก็ง มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระกริ่งบาเก็งมาก แต่จะมีฐานด้านหลังยื่นบางออกมามาก รับกับการนั่งเอนไปด้านหลังมากกว่าพระกริ่งองค์อื่นๆ
๔.พระกริ่งจีน กะไหล่ทอง เป็นพระกริ่งอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความสวยงาม เพราะมีการนำทองคำมาเคลือบที่ผิวองค์พระตามกรรมวิธีของช่างจีนผสมทิเบต มีรูปทรงเลียนแบบคล้ายทั้งพระกริ่งใหญ่ พระกริ่งบาเกร็ง พระกริ่งหนองแส จึงเชื่อกันว่าน่าจะเป็นพระกริ่งที่มีอายุน้อยกว่าพระกริ่งทั้ง ๓ แบบ และแผ่นปิดกันก็มีการแกะลวดลายต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างจากพระกริ่งทั้งหมด
๕.พระกริ่งตีอ๋อง พระกริ่งที่มีในชุดหลักของพระกริ่งจีน เป็นพระที่หาได้ยากที่สุด มีอายุการสร้างรุ่นเดียวกับพระกริ่งใหญ่ หรือเก่ากว่า แต่เป็นการสร้างรูปเคารพของเทพองค์หนึ่ง ไม่ใช่องค์พระไภษัชยคุรุ นั่นคือ องค์เทพตีอ๋อง หนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ หรือท้าวเวสสุวรรณของไทย เป็นเทพที่เป็นผู้ดูแลวิญาณ และเป็นเทพผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์สิน จึงเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนอย่างมากองค์หนึ่ง
เต้ สระบุรี
*************************************
พระกริ่งจีนใหญ่
1.1 ภาพถ่ายตู่ ลง นสพ.สยามรัฐ (พิ้นแดง)
1.2 ภาพถ่าย หน้า หลัง ลง นสพ.ไทยรัฐ(พิ้นดำ)
1.3ภาพถ่าย หน้า หลัง ลง นสพ.คม ชัดลึก(พิ้นเหลีอง)
โทร: 0971297060
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ