จำนวนคนอ่านล่าสุด 518 คน

พระโชว์//พระกรุ​ วัดบางสะแก(นอก)​ตลาดพลู​ ธนบุรี​ กทม//โชว์


พระโชว์//พระกรุ​ วัดบางสะแก(นอก)​ตลาดพลู​ ธนบุรี​ กทม//โชว์

พระโชว์//พระกรุ​ วัดบางสะแก(นอก)​ตลาดพลู​ ธนบุรี​ กทม//โชว์

พระโชว์//พระกรุ​ วัดบางสะแก(นอก)​ตลาดพลู​ ธนบุรี​ กทม//โชว์

พระโชว์//พระกรุ​ วัดบางสะแก(นอก)​ตลาดพลู​ ธนบุรี​ กทม//โชว์

พระโชว์//พระกรุ​ วัดบางสะแก(นอก)​ตลาดพลู​ ธนบุรี​ กทม//โชว์


รายละเอียด :

12456​//700                                   

 วัดนางชี ธนบุรี เป็นวัด

     ย้อนไปในปี พ.ศ.2511 ‘เจดีย์เก่าหลังอุโบสถ วัดบางสะแกนอก เขตตลาดพลู ฝั่งธนบุรี’ ซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี ได้     ย้อนไปในปี พ.ศ.2511 ‘เจดีย์เก่าหลังอุโบสถ วัดบางสะแกนอก เขตตลาดพลู ฝั่งธนบุรี’ ซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี ได้มีการชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ขณะที่พระลูกวัดกำลังทำความสะอาดบริเวณนั้นและช่วยกันรื้อพระเจดีย์เก่าเพื่อที่จะบูรณะใหม่ตามคำสั่งท่านเจ้าอาวาส ก็ปรากฏ ‘พระเนื้อดิน’ ไหลทะลักออกมาจำนวนมาก เมื่อเรื่องทราบถึง พระครูไพโรจนคุณ เจ้าอาวาสสมัยนั้น จึงให้ไปนำพระมาเก็บรักษาไว้ก่อนที่จะสูญหายไปเสียหมด เรียกกันว่า “พระกรุวัดบางสะแกนอก”

มีการชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ขณะที่พระลูกวัดกำลังทำความสะอาดบริเวณนั้นและช่วยกันรื้อพระเจดีย์เก่าเพื่อที่จะบูรณะใหม่ตามคำสั่งท่านเจ้าอาวาส ก็ปรากฏ ‘พระเนื้อดิน’ ไหลทะลักออกมาจำนวนมาก เมื่อเรื่องทราบถึง พระครูไพโรจนคุณ เจ้าอาวาสสมัยนั้น จึงให้ไปนำพระมาเก็บรักษาไว้ก่อนที่จะสูญหายไปเสียหมด เรียกกันว่า “พระกรุวัดบางสะแกนอก”    

๒-----—++++++

ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผาผสมใบลานเผาไฟ เนื้อองค์พระมีสีต่างๆ ตามธรรมชาติของพระเนื้อดินที่ผ่านการเผาทั่วไป โดยส่วนใหญ่เป็นเนื้อดำจัดบ้างไม่จัดบ้าง ที่พบเห็นมี 2 พิมพ์ คือ พระนั่งสมาธิบนกลีบบัว และ พระปิดตามหาลาภ (พระภควัมบดี) ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก โดยสภาพองค์พระที่อยู่หน้ากรุไม่ถูกน้ำจะงดงาม ส่วนองค์ที่แช่อยู่ในน้ำ ส่วนต่างๆ จึงลบเลือน ทำให้ด้อยความงามลงไป
     จากการสันนิษฐานที่ไปที่มาของพระกรุวัดบางสะแกนอก ตามเนื้อหาและพุทธศิลปะแล้วนั้น นับมีเอกลักษณ์ต่างๆ ใกล้เคียงกันมากกับพระที่สร้างโดย ‘หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า’ เหตุผลสนับสนุนอีกประการ คือ ถึงแม้เจดีย์จะอยู่ภายในพื้นที่วัดบางสะแกนอก แต่วัดที่อยู่ใกล้เคียงกับองค์เจดีย์มากที่สุดคือ ‘วัดบางสะแกใน’ ซึ่งสมัยนั้น หลวงปู่เม่ง ศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข เป็นเจ้าอาวาส ประกอบกับคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ทันยุค ทำให้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นพระที่ ‘หลวงปู่เม่ง’ นำมาฝากกรุไว้ และหลวงปู่ศุขอาจได้ร่วมปลุกเสกด้วย เพราะพุทธคุณที่ปรากฏนั้นเข้มขลังครบครันในทุกด้าน ซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างมาก เนื่องจาก หลวงปู่ศุข ท่านมักได้รับนิมนต์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิตวัตถุมงคลต่างๆ เป็นเนืองนิตย์ และท่านก็สนิทกับพระเกจิหลายรูปแถบฝั่งธนบุรี จึงอาจมาจำพรรษากับหลวงปู่เม่ง ผู้เป็นศิษย์เอก

 

     หลวงปู่เม่ง นั้น เดิมท่านเป็นชาวชัยนาท เกิดที่บ้านโคกหม้อ ต.หน้าพระลาน อ.สรรค์บุรี ฐานะทางบ้านยากจน จึงได้ส่งท่านไปอยู่วัดตั้งแต่เด็ก จนเมื่อมีอายุครบบวชได้อุปสมบทที่ วัดท่าวน อ.สรรค์บุรี ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ รวมทั้งวิชาอาคมต่างๆ ได้ระยะหนึ่ง ก็เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ต่อมาเดินทางสู่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาอาคมและไสยศาสตร์ชั้นสูงจาก หลวงปู่ศุข ด้วยความที่ท่านเป็นคนใฝ่ใจศึกษาและสนใจในด้านนี้เป็นทุนเดิม จึงสามารถเรียนรู้จนแตกฉานเชี่ยวชาญในทุกวิชาที่หลวงปู่ถ่ายทอดให้
     หลังจากนั้นได้ออกธุดงค์มายังกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระธรรมเพิ่มเติม กระทั่งมาจำพรรษาที่วัดบางสะแกใน เขตตลาดพลู ท่านก็เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านอย่างมาก เมื่อเจ้าอาวาสองค์เดิมลาสิกขาในปี พ.ศ.2460 ชาวบ้านจึงร่วมใจกราบเรียนให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าเอาวาสสืบต่อ แต่ด้วยความรักสันโดษและสมถะ ท่านจึงได้ปฏิเสธไป จนชาวบ้านต้องไปกราบเรียน ท่านเจ้าคุณทักษิณคณิสร (สาย) วัดอิน (วัดใต้) ให้มาช่วยพูด เพื่อให้ดูแลสืบสานพระบวรพุทธศาสนาและเผยแผ่ธรรมะสู่ญาติโยม ท่านจึงยอมรับและได้ปกครองวัดบางสะแกในสืบมา วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมอย่างมากของชาวตลาดพลูและพุทธศาสนิกชนิทั่วไป ด้วยพุทธคุณเป็นที่ร่ำลือว่า “เหนียวยิ่งนัก” 
     สมัยก่อนชาวตลาดพลูมักกล่าวกันว่า ... “ถ้าจะหาพระด้านเมตตา ค้าขาย ต้องแขวนพระเครื่องหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี แต่ถ้าจะหาพระที่เหนียวสุดๆ ต้องพระของหลวงปู่เม่ง วัดบางสะแกใน”

 

     กลับมาที่ “พระกรุวัดบางสะแกนอก” ที่แตกกรุในเมื่อปี พ.ศ.2511 ดังกล่าวแล้ว แรกเริ่มไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ด้วยไม่ใช่พระกรุเก่าแก่ อายุการสร้างยังไม่มากนัก ซึ่งพอดีกับช่วงนั้นมีพระกรุอื่นๆ มากมายที่มีอายุอานามมากกว่า จึงเป็นที่สนใจเช่าหามากกว่า และไม่ใฝ่ใจในการหาที่มาขององค์พระ จนเมื่อ 10 ปีให้หลัง ผู้ที่มีไว้ครอบครองต่างประสบพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ ทั้งแคล้วคลาด เมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรีครบครัน จนเป็นที่เลื่องลือของชาวตลาดพลู ต่างเสาะแสวงหามาคู่กาย เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป “พระกรุวัดบางสะแกนอก” จึงกลายเป็นที่นิยมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา ยิ่งได้ทราบถึงที่ไปที่มาที่แน่ชัด ยิ่งสร้างให้ค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยลดหลั่นกันไปตามความสมบูรณ์สวยงามขององค์พระ ปัจจุบันนับว่าหาดูหาเช่ายากเอาการอยู่ โดยเฉพาะองค์สวยๆ โดนเก็บเข้ารังหมดครับผม


โดย อาจารย์ราม วัชรประดิษฐ์

——-----------

สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2306ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 (รัชกาลที่ 3 พ.ศ.2367-2394) ได้รับการสถาปานาเป็นพระอารามหลวงสันนิษฐานว่าที่ชื่อวัดนางชี

--------------------------------------

พระ เนื้อผง กรุวัดนางชีโชติการาม กรุงเทพ ประมาณปี 2436-69 หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ร่วมปลุกเสก

---------------------------------------

กรุวัดนางชี
วัดนางชีเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่โบราณ สืบไม่ได้ความชัดเจนนักว่าสร้างมาแต่เมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง แต่ก็พอสรุปได้ว่าเป็นวัดเก่ามีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดเล็กๆ สันนิษฐานว่าพุทธศาสนิกชน พ่อค้าคหบดี หรือนางชีเป็นผู้สร้างวัด จึงมีชื่อว่าวัดนางชี ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์สืบทอดต่อๆ กันมา และมีการซ่อมครั้งใหญ่เป็นการเปลี่ยนโฉมวัดนางชีในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

โดยมอบให้เจ้า พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เป็นแม่งานซ่อมสร้างจึงปรากฏฝีมือเป็นศิลปะแบบอย่างช่างจีน เช่นที่พระอุโบสถวิหาร ส่วนประกอบเครื่องบน ไม่นิยมทำช่อฟ้าใบระกาอย่างสถาปัตยกรรมไทย หลังคามักจะมุงกระเบื้องสีเหลืองกับสีเขียว บานประตูพระอุโบสถจำหลักเป็นลวดลายเชิงศิลปะช่างจีน ทำนองเดียวกับพระอุโบสถวัดเทพธิดาฯ เป็นต้น

ที่หน้าพระอุโบสถ มีเจดีย์ราย แบบย่อไม้สิบสองขนาดใหญ่อยู่ 4 องค์ อันเป็นที่บรรจุกรุพระปิดตาพิมพ์ต่างๆ ไว้ การเปิดกรุที่วัดนางชีมีอยู่หลายครั้งหลายหน แต่การเปิดกรุในครั้งแรกอยู่ระหว่างสงครามอินโดจีน ราวๆ ปี พ.ศ. 2484-2487 โดยได้มีคนร้ายได้เข้าเจาะพระเจดีย์ค้นหาสมบัติเป็นการเริ่มแรกก่อน ทางวัดเห็นว่าหากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นช่องทางให้คนร้ายย้อนกลับมากระทำการอีก จึงได้เปิดกรุต่อและขุดพบพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่วมากมายหลายสิบพิมพ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นพระภควัมปติ (พระปิดตา) พิมพ์ต่างๆ และพิมพ์อื่นๆ อีกสองสามพิมพ์

พระปิดตาที่พบและเป็นที่นิยมกันนั้นได้แก่ พระปิดตาพิมพ์ประกบสองหน้า พระปิดตาพิมพ์ต้อ พระปิดตาพิมพ์เกศแหลม ชั้นเดียวและสองชั้น พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตก คล้ายๆ กับของวัดหนัง และพระปิดตาพิมพ์คล้ายๆ กับพิมพ์นะหัวเข่าแต่ไม่มียันต์ตัวนะ และยังมีพระพิมพ์นาคปรก และพิมพ์ปรกโพธิ์อีกด้วย เนื้อพระที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่ว พระทั้งหมดที่พบได้มีความนิยมเล่นหากันมานานแล้ว แต่สนนราคาย่อมเยากว่าพระของวัดหนัง

พระทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในกรุนี้เข้าใจว่า หลวงปู่เอี่ยม (ท่านเจ้าคุณภาวนาโกศลเถระ) เป็นผู้สร้างพระเครื่องเหล่านี้ไว้ โดยอาจจะมีพิธีพุทธาภิเษกของทางวัดและได้นิมนต์ท่านหลวงปู่เอี่ยมเป็นเจ้าพิธี เนื่องจากพิมพ์หลายๆ พิมพ์ก็ละม้ายเหมือนกับพระของวัดหนังมาก และพระเครื่องอีกหลายๆ วัดที่สร้างในสมัยนั้นก็มักจะนิมนต์หลวงปู่เอี่ยมท่านช่วยสร้างให้แทบทั้งสิ้น ขอบคุณข้อมูล Cr.Mussmee

โทร: 0928732628

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกรุ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ