พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500
รายละเอียด :
14673
-----------------------------
บทความจาก
วิถีมีเดี่ย
--------------------------------
เมขลา หรือ มณีเมขลา เป็นเทพธิดาประจำทะเล และเป็นนางผู้ถือดวงแก้วล่อให้รามสูรขว้างขวานจนทำให้เกิดฟ้าร้อง แต่นางก็โยนแก้วล่อไปล่อมาทำให้เกิดฟ้าแลบแสบตา[1] ทั้งนี้ท้าวโลกบาลทั้งสี่ได้มอบหมายให้คอยช่วยเหลือผู้มีบุญญาที่ตกน้ำ[2] โดยปรากฏในชาดกเรื่อง พระมหาชนก ซึ่งเมขลาเข้าช่วยเหลือเจ้าชายมหาชนกจากเรืออัปปาง[3] และปรากฏใน สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ก็มีการกล่าวถึงเมขลาเข้าช่วยพระสมุทรโฆษที่ลอยคออยู่กลางทะเลเจ็ดวัน[4][5]
ทั้งนี้ฉากรามสูรไล่จับเมขลาไม่ปรากฏในวรรณคดีอินเดียใด ๆ[6] แต่ในประเทศไทยมีการประดิษฐ์ฉากดังกล่าวให้เป็นท่าระบำที่มีลักษณะสนุกสนานสำหรับการแสดงเบิกโรง[7][8]
--------------------------------------------------------------
ที่มาของชื่อ
เมขลา เป็นภาษาบาลี แปลว่า "สายรัดเอว" หรือ "เข็มขัดสตรี" บ้างว่าหมายถึงจับปิ้ง อันเป็นเครื่องประดับอวัยวะเพศหญิง[6] ประเทศไทยใช้ชื่อ "เมขลา" มาตั้งเป็นชื่อของพายุหมุนเขตร้อนในปี พ.ศ. 2548 และ 2551 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังใช้เป็นชื่อรางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ และศูนย์ป้องกันวิกฤตน้ำ
ประวัติ
ในอรรถกถาสังขชาดกระบุว่าเมขลาเป็นเทพธิดาที่ได้รับมอบหมายจากท้าวโลกบาลทั้ง 4 เพื่ออารักขาทะเล โดยสั่งว่าถ้าเรือมาแตกลง มนุษย์ที่ถือไตรสรณคมน์ก็ดี มีศีลสมบูรณ์ก็ดี ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาก็ดี มาตกทุกข์ในสมุทรนี้ พึงพิทักษ์รักษาเขาไว้[9]
ตามนิยายพื้นบ้านของไทย ได้ยกเรื่องเมขลามาอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง โดยเล่าว่าเมขลามีแก้ววิเศษประจำตัว รามสูรเห็นดังนั้นก็พอใจในดวงแก้วและความงามของเมขลาจึงเที่ยวไล่จับ เมื่อจับไม่ทันก็เอาขวานขว้างแต่ไม่ถูก เนื่องจากนางใช้แก้วล่อจนมีแสงเป็นฟ้าแลบทำให้รามสูรตาพร่ามัวขว้างขวานไม่ถูก[10] บ้างว่าเป็นเพราะรามสูร เมขลา และพระประชุนมาชุมนุมรื่นเริงกัน พระประชุนคือพระอินทร์ในสมัยพระเวทที่มีหน้าที่ทำให้เกิดพายุฝน พระอินทร์ในหน้าที่นี้เรียกว่า ปรรชันยะ หรือ ปรรชัยนวาต ไทยเรียกเป็นพระประชุน เมื่อมีการชุมนุมรื่นเริงกันของเทพแห่งฝน เมขลาผู้มีดวงแก้วและรามสูรผู้มีขวานจึงทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า[10] เข้าใจว่าเดิมคงเป็นมุขปาฐะเล่าเรื่องดินฟ้าอากาศของคนสมัยก่อน โดยให้เสียงฟ้าร้องเป็นยักษ์ถือขวาน นางฟ้าถือดวงมณี และให้สภาพอากาศเป็นเทวดา ภายหลังจึงแผลงให้เป็นอินเดียด้วยการใส่ชื่อเทวดาที่มีลักษณะคล้ายกันคือ รามสูร เมขลา และอรชุน ตามลำดับ[7]
ขณะที่เสฐียรโกเศศและนาคะประทีปกล่าวถึงเมขลาว่านางสมุทรเทวี คือเทพธิดารักษาสมุทรไท และเทพธิดาสำหรับฝน[11] ในวรรณคดี เฉลิมไตรภพ ได้อธิบายว่า มีพระยามังกรการตนหนึ่งอมแก้วไว้เสมอ จะไปไหนก็เอาดวงแก้วทูนศีรษะไว้ มังกรการได้แปลงเป็นเทวดาไปสมสู่กับนางฟ้ามีบุตรีชื่อ เมขลา[12] เมื่อเจริญวัยขึ้นมีความงามยิ่ง มังกรการได้นำบุตรีและดวงแก้วไปมอบแก่พระอิศวร ครั้งหนึ่งเมขลาได้ขโมยดวงแก้ววิเศษนั้นไป ราหูผู้มีครึ่งตัวเพราะถูกจักรพระนารายณ์เมื่อครั้งแปลงเป็นเทวดาไปดื่มน้ำอมฤต ได้อาสาไปจับเมขลา และได้ชวนรามสูรผู้เพื่อนไปด้วย รามสูรได้ขว้างขวานจนกลายเป็นฟ้าลั่น[10] ดังที่สุนทรภู่ได้แต่งกลอนอธิบายการล่อแก้วของเมขลาและการขว้างขวานของรามสูรไว้ ความว่า[13]
๏ เมขลากล้าแกล้ว
ล่อแก้วแววไวโยนสว่างเหมือนอย่างไฟ
ปลาบไนยเนตรมาร๏ หน้ามืดฮืดฮาด
เกรี้ยวกราดโกรธทยานแค้นนางขว้างขวาน
เปรี้ยงสท้านโลกา๏ ฤทธิ์แก้วแคล้วคลาศ
ยิ่งกริ้วกราดโกรธาโลดไล่ไขว่คว้า
เมขลาล่อเวียน๏ ยักษ์โถมโจมโจน
นางก็โยนวิเชียรหลีกลัดฉวัดเฉวียน
ล่อเวียนวงวล๏ เปรี้ยงเปรี้ยงเสียงขวาน
ก้องสท้านสากลไล่นางกลางฝน
มืดมนท์ในเมฆา๏ นวลนางนั้นช่างล่อ
รั้งรอร่อนราเวียนรไวไปมา
ในจักรราศีเอย ๚
ในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า เทศกาลวสันต์คราวหนึ่งนางอัปสรและเทวดาต่าง ๆ มาร่วมจับระบำกัน เมขลาเองก็ถือแก้วมณีไปร่วมจับระบำด้วย รามสูรเห็นดังนั้นจึงไล่จับนางเมขลา แต่พระอรชุนเหาะมาพอดี ด้วยความโกรธรามสูรจึงจับสองขาพระอรชุนไปฟาดเหลี่ยมเขาพระสุเมรุจนตาย[10]
ลักษณะ
ในบทเห่กล่อมพระบรรทม เห่เรื่อง "จับระบำ" ที่แต่งโดยสุนทรภู่ ได้พรรณนาเกี่ยวกับลักษณะของเมขลาที่กำลังล่อแก้วอยู่บนท้องฟ้า และมีความงามดุจกินรี ความว่า
เห่เอยนางเอก
มณีเมขลาลอยเร่ในเมฆา
ถือจินดาดั่งดวงดาวโยนเล่นเห็นแก้ว
สว่างแวววามวาวลอยฟ้าเวหาหาว
รูปราวกับกินรีทรงเครื่องเรืองจำรัส
อร่ามรัศมีฉวีชูช่วงดวงมณี
เลื่อนลอยลีลามาเลียบรอบขอบทวีป
อยู่กลางกลีบเมฆาเชยชมยมนา
เฝ้ารักษาสินธุ
เมขลาในประเทศต่าง ๆ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมขลาขณะช่วยพระมหาชนกจากเรืออัปปาง
เรื่องราวของเมขลา มักปรากฏตามจิตกรรมฝาผนังของวัดในประเทศอุษาคเนย์ที่นับถือพุทธศาสนาโดยภาพมาจากฉากในเรื่อง พระมหาชนก[3] โดยในไทยและกัมพูชาได้มีการแสดง "เมขลาล่อแก้ว" ทั้งนี้ในราชสำนักกัมพูชาได้มีพิธีกรรมขอฝนด้วยการเต้นดังกล่าวเพื่อเป็นการบวงสรวงเทวดาเพื่อบังคับฝน ถือเป็นเรื่องสวัสดิมงคล[6][14] โดยชาวเขมรเชื่อว่าแก้วของเมขลาคือไฟแลบ แต่ตามหลักปรณัมศาสตร์ ควรเป็นสัญลักษณ์ของพระจันทร์เสียมากกว่า[15] ส่วนในไทยโดยมากเชื่อว่าเมขลาคือเทพธิดารักษาสมุทรไท[4][11]
ในอดีตชนชั้นสูงในไทยมักระบำเบิกโรงเมขลารามสูรโดยถือเป็นมงคล มีหลักฐานว่ามีอยู่ในราชสำนักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นต้นตำรับของละครใน ซึ่งตกทอดมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์[16] ส่วนโรงละครเองก็ประดับประดารูปสลักหรือภาพวาดเมขลารามสูรล่อแก้วถือเป็นมงคลอีกเช่นกัน[6]
ประเทศจีน
ตามคติจีน มีเทพที่ใกล้เคียงกับเมขลาอีกสององค์คือเง็กนึ้ง (จีน: 玉女; พินอิน: yùnǚ; แปลว่า "นางหยก") และอีกองค์คือเตียนบ๊อ (จีน: 電母; พินอิน: diàn mǔ; แปลว่า "เจ้าแห่งสายฟ้า") ต่างกับเมขลาคือถือธงหรือกระจกเงาให้มีแสงแวบวับเป็นสัญญาณให้ลุ่ยกง (จีน: 雷公; พินอิน: léi gōng; แปลว่า "เจ้าแห่งฟ้าร้อง") รู้ก่อนว่าผู้ใดมีใจชั่วควรลงโทษด้วยการใช้ฟ้าผ่า[17]
ประเทศศรีลังกา
ปรากฏในกาพย์ของชาวทมิฬ เรื่อง มณิเมกะไล (ทมิฬ: மணிமேகலை)[18][19] เป็นเทพธิดาแห่งท้องทะเล โดยถือเป็นเทพสตรีที่นอนหลับไหลอยู่บนเกาะมณีปัลลาวัม (ปัจจุบันคือ เกาะนยิณาตีวู) รจนาขึ้นโดยจิตตาไล จัตตานาร์ ถือเป็นมหากาพย์หนึ่งในห้าที่มีชื่อเสียงของชาวทมิฬ[20]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
เรื่องราวของเมขลา ได้รับการประพันธ์เป็นเพลง "เมขลาล่อแก้ว" ซึ่งเป็นจังหวะรำวง ขับร้องโดยเบญจมินทร์[21] โดยพรรณนาถึงฉากที่เมขลาล่อแก้วกับรามสูร ส่วนในเพลง "ปักตะไคร้" ของวงบุดดาเบลส ในมิวสิกวีดิโอมีฉากที่เมขลาล่อแก้วจนก่อให้เกิดฟ้าผ่า ส่วนเนื้อหาของเพลงมิได้กล่าวถึงเมขลา[22]
นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมคือ พระมหาชนก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีฉากนางมณีเมขลาเหาะลงมาช่วยพระมหาชนก ในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดการแสดง มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระมหาชนก เพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว โดยนำเค้าโครงจากพระราชนิพนธ์ดังกล่าวมาจัดแสดงในรูปแบบนาฏกรรม[23]
อ้างอิง
↑ กิเลน ประลองเชิง (24 มกราคม 2557). "เมขลาล่อแก้ว". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
↑ G.P. Malalasekera. Dictionary of Pali Proper Names: Pali-English. Asian Educational Services, 2003
↑ กระโดดขึ้นไป:3.0 3.1 Anne Elizabeth Monius. Imagining a place for Buddhism: literary culture and religious community in Tamil-speaking South India. Oxford University Press US, 2001, pages 111-112
↑ กระโดดขึ้นไป:4.0 4.1 นาค ใจอารีย์. อันเนื่องมาแต่วรรณคดี. พระนคร : คุรุสภา, 2507, หน้า 250-251
↑ สุมาลี วีระวงศ์. "สมุทรโฆษคำฉันท์". นามานุกรรมวรรณคดีไทย. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
↑ กระโดดขึ้นไป:6.0 6.1 6.2 6.3 "เมขลาล่อแก้ว ให้รามสูรขว้างขวาน". สุจิตต์ วงษ์เทศ. 8 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
↑ กระโดดขึ้นไป:7.0 7.1 "ระบำชุด เมขลารามสูร". นาฏศิลป์สัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
↑ เอนก นาวิกมูล (12 พฤษภาคม 2563). "เมขลา-รามสูร กับ "ขวานรามสูร" ที่ "สนามหลวง 2"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
↑ อรรถกถาสังขชาดก, ชาตกัฏฐกถา
↑ กระโดดขึ้นไป:10.0 10.1 10.2 10.3 "เมขลา รามสูร". Thai folk. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
↑ กระโดดขึ้นไป:11.0 11.1 เสฐียรโกเศศ และนาคะประทีป. เมขลา-รามสูร. พระนคร : กรมศิลปากร, 2507, หน้า 18
↑ ชานันท์ ยอดหงษ์. "รามเกียรติ์ : sex, ผู้หญิง, รัฐ และ อุษาคเนย์". The Southeast Asian Consortium on Gender, Sexual and Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
↑ พระสุนทรโวหาร (ภู่). "ลำนำเห่กล่อมเรื่องจับระบำ". ประชุมบทลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม. 2469, หน้า 15-16
↑ Cravath, Paul. Asian Theatre Journal, Vol. 3, No. 2 (Autumn, 1986), pp. 179-203 (The Ritual Origins of the Classical Dance Drama of Cambodia) University of Hawai'i Press
↑ ไมเคิล ไรท์. ฝรั่งคลั่งผี. กรุงเทพฯ : มติชน. 2550, หน้า 250
↑ ประเสริฐ สันติพงษ์ (2545). "กระบวนท่ารำของรามสูรในการแสดงเบิกโรงละครใน". Chulalongkorn University Intellectual Repository. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
↑ อุทัย สินธุสาร. สารานุกรมไทย. กรุงเทพฯ : อาศรมแห่งศิลป์และศาสตร์, 2520. หน้า 3500-3501
↑ Manimekalai - Original Text in Tamil
↑ Manimekalai - English transliteration of Tamil original
↑ Mukherjee, Sujit (1999). A Dictionary of Indian Literature: Beginnings-1850. New Delhi: Orient Longman Limited, p. 277
↑ ลูกทุ่งร้องมากว่า50 ปีแล้ว/ "เปิดปูมเพลงไทย-เกาหลี ลูกทุ่งร้องมากว่า 50 ปีแล้ว". สนุกดอตคอม. 9 มีนาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
↑ "6 เพลงปัง! "Buddha Bless" ที่มาพร้อมแง่คิดศีลธรรมสุดลึกซึ้ง!". สนุกดอตคอม. 27 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
↑ จานีน ยโสวันต์. "มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระมหาชนก". Scene4Magazine. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
โทร: 0614901584
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ