จำนวนคนอ่านล่าสุด 350 คน

พระกริ่ง ใต้ฐานรามสูรขว้างขวาน เนื้อสัมฤทธิ์ กริ่งดัง//2องค์2ขนาด2พิมพ์


พระกริ่ง ใต้ฐานรามสูรขว้างขวาน เนื้อสัมฤทธิ์ กริ่งดัง//2องค์2ขนาด2พิมพ์

พระกริ่ง ใต้ฐานรามสูรขว้างขวาน เนื้อสัมฤทธิ์ กริ่งดัง//2องค์2ขนาด2พิมพ์

พระกริ่ง ใต้ฐานรามสูรขว้างขวาน เนื้อสัมฤทธิ์ กริ่งดัง//2องค์2ขนาด2พิมพ์

พระกริ่ง ใต้ฐานรามสูรขว้างขวาน เนื้อสัมฤทธิ์ กริ่งดัง//2องค์2ขนาด2พิมพ์

พระกริ่ง ใต้ฐานรามสูรขว้างขวาน เนื้อสัมฤทธิ์ กริ่งดัง//2องค์2ขนาด2พิมพ์

พระกริ่ง ใต้ฐานรามสูรขว้างขวาน เนื้อสัมฤทธิ์ กริ่งดัง//2องค์2ขนาด2พิมพ์

พระกริ่ง ใต้ฐานรามสูรขว้างขวาน เนื้อสัมฤทธิ์ กริ่งดัง//2องค์2ขนาด2พิมพ์


รายละเอียด :

15340

  เรื่องฟ้าคะนองนี้มีอีกว่า เป็นเพราะรามสูร เมขลา และพระประชุนมาชุมนุมรื่นเริงกัน พระประชุนคือพระอินทร์ในสมัยพระเวทที่มีหน้าที่ทำให้เกิดพายุฝน พระอินทร์ในหน้าที่นี้เรียกว่า ปรรชันยะ หรือ ปรรชัยนวาต ไทยเรียกเป็นพระประชุน เมื่อมีการชุมนุมรื่นเริงกันของเทพแห่งฝน เมขลาผู้มีดวงแก้วและรามสูรผู้มีขวานจึงทำให้เกิด ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นเรื่องเอานิยายไทยมาปนกับอินเดีย

--------------------------------------------------------------------

  เมขลาของจีนมีชื่อว่า เง็กนิ้ง แปลว่า นางหยก บางทีก็ชื่อ เตียนบ๊อ แปลว่าเจ้าแห่งสายฟ้า แต่ไม่ได้ถือดวงแก้ว หากถือธงหรือกระจกเงาทำให้เกิดแสงแวบวับ (อุทัย สินธุสาร 2520:3500-3501)

   ------------------------------------------------------------------

ในรามเกียรติ์ว่า รามสูรเป็นอสูรเทพบุตร มีขวานเพชรเป็นอาวุธมีฤทธิ์มาก ในเทศกาลวสันต์ เทวดาและอัปสรเล่นนักษัตรฤกษ์จับระบำกัน รามสูรเข้าไปไล่จับนางเมขลาพบพระอรชุน เกิดรบกัน รามสูรจับสองขาอรชุนฟาดเหลี่ยมเขาพระสุเมรุตาย คราวหนึ่งได้พบพระรามที่กลับจากอภิเษกสมรส จะไปกรุงอโยธยาเกิดรบกับพระราม แต่ยอมแพ้เมื่อรู้ว่าเป็นพระนารายณ์ แล้วถวายศรที่พระอิศวรประทานแก่ยักษ์ตรีเมฆผู้เป็นอัยกาตน

-----------------------------------------------------------------------

   รามสูร เป็นยักษ์ถือขวานเป็นอาวุธ เป็นผู้ทำให้ฟ้าร้อง เรื่องรามสูรมักมีคู่กับเมขลา (ดูเมขลา) บางแห่งว่า รามสูร เลือนมาจากปรศุราม ในนารายณ์สิบปาง ปางที่ 6 กล่าวว่าปรศุรามเป็นพราหมณ์ ลูกฤษีชมทัศนีกับนางเรณุกา มีขวานเป็นอาวุธ ปรศุรามได้บำเพ็ญตบะจนบรรลุอริยผลหลายชั้นเหลือแต่ชั้นสูงสุดคือ ปรพรหม ปรศุรามโทโสร้ายจึงมีฉายาว่า “นยักษ์” แปลว่า ต่ำ เมื่อพบกับพระรามก็ท้ารบแล้วรบแพ้พระราม ๆ ไม่ฆ่าด้วยเห็นว่าเป็นพราหมณ์ แต่ให้เลือกว่าจะให้แผลงศรไปทำลายมรรค (ทางดำเนินสู่อริยภูมิ) หรือ ผล (อริยภูมิที่จะบรรลุด้วยบำเพ็ญตบะ) ปรศุรามเลือกให้ทำลายผล

---------------------------------------------------------------------

        นิยายชาวบ้านว่า รามสูรเป็นยักษ์ถือขวานเพชรเป็นอาวุธ เป็นเพื่อนกับพระราหู เมื่อพระราหูไปดื่มน้ำอมฤตที่พระนารายณ์ชักชวนไปกวน แล้วถูกพระนายรายณ์เอาจักรขว้างตัดร่างขาดครึ่งตัวแต่ไม่ตายเพราะดื่มน้ำทิพย์ รามสูรก็คิดจะขอพรพระอินทร์ให้พระราหูกลับมีร่างดังเดิม บังเอิญนางเมขลาไปลักดวงแก้วพระอินทร์จึงจะจับนางไปถวายเพื่อได้ความชอบก่อน แต่เมขลาก็หลบหลีกโยนแก้วล่อหลอกรามสูร รามสูรจึงขว้างขวานเพชรไป แต่อำนาจดวงแก้ววิเศษคุ้มครองนางเมขลาไว้ ต่างวนเวียนไล่ล่อกันจนเกิดเป็นฟ้าแลบเพราะแสงแก้วของเมขลา และมีเสียงฟ้าร้องเพราะรามสูรขว้างขวาน

--------------------------------------------------------------------------------

อุทัย สินธุสาร. สารานุกรมไทย. กรุงเทพฯ:อาศรมแห่งศิลป์และศาสตร์,2520.

ภาพจากพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก"

    พิทักษ์ สายัณห์. ลายไทย. กรุงเทพฯ:อักษรวัฒนา.

--------------------------------------------------------------------------------

****************************************************************************

       รามสูรจีนชื่อ ลุ่ยกง หน้าตาน่าเกลียดหัวมีผมพนมขึ้นไปเหมือนลิง หน้าเหมือนครุฑ ผิวเนื้อดำหรือเขียว มีปีกอย่างค้างคาว ที่ตีนมีเล็บอย่างเหยี่ยว เอากลองมาร้อยกันสวมคอเป็นสร้อยสังวาลย์ เสียงฟ้าร้องนั้นเกิดจากลุ่ยกงรัวกลอง บ้างว่ามือหนึ่งของลุ่ยกงถือสิ่ว อีกมือหนึ่งถือขวานและฆ้อน ลุ่ยกงมีหน้าที่ลงโทษผู้มีใจชั่วโดยให้ฟ้าผ่า ครั้งหนึ่งไปผ่าคนผิดโดยผ่าชายคนหนึ่งซึ่งโยนเปลือกแตงโมทิ้ง โดยเข้าใจว่าโยนข้าวที่มีประโยชน์แก่มนุษย์ทิ้ง เรื่องรู้ถึงลุ่ยโจ๊วหัวหน้าใหญ่จึงบัญชาให้เง็กนิ้ง (แปลว่านางหยก) หรือบางทีเรียกว่าเตียนบ๊อ ซึ่งเป็นนางเมขลาของจีนนำกระจกมาคอยฉาย และคอยโบกธงให้ลุ่ยกงรู้ก่อนว่าผู้ใดมีใจชั่วควรลงโทษ คราวหนึ่งลุ่ยกงทำให้ฟ้าผ่าถูกลูกชาวนาตาย พ่อเด็กจึงทำพิธีบวงสรวงลุ่ยกงเพราะเชื่อว่าลูกตนไม่มีความผิด ลุ่ยกงพิจารณาแล้วเห็นว่าเด็กไม่ผิดจึงทำให้ฟ้าผ่าอีกครั้ง ให้เด็กนั้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ และอีกครั้งหนึ่งลุ่ยกงทำงานพลาดแล้วตนเองไปติดอยู่ในง่ามไม้ที่ตนให้ฟ้าผ่า ถูกไม้หนีบออกไม่ได้ ต้องขอให้คนตัดฟืนช่วย คนตัดฟืนต้องเอาหินทำเป็นลิ่มตอกตรงรอยแยกให้ไม้ถ่างช่วยลุ่ยกงออกมาได้ ลุ่ยกงจึงมอบตำราศักดิ์สิทธิ์เรียกฝน และรักษาโรคภัยความเดือดร้อนต่าง ๆ ได้ คนตัดฟืนได้อาศัยตำรานั้นช่วยผู้คนจนร่ำรวย วันหนึ่งคนตัดฟืนกินเหล้าเมาไปนอนในศาลเจ้า เจ้าเมืองจับตัวไป ชายนั้นก็ขอให้ลุ่ยกงช่วย ลุ่ยกงจึงบันดาลให้ฟ้าผ่า เจ้าเมืองจึงต้องปล่อยตัวไป (อุทัย สินธุสาร 2520:3500-3501)

----------------------------------------------------------------------

   เมขลา เป็นเทพธิดาผู้รักษาน่านน้ำ และนางผู้ถือดวงแก้วล่อให้รามสูรขว้างขวานทำให้เกิดฟ้าแลบและฟ้าร้อง (ดูรามสูร) นิยายพื้นบ้านของไทยยกเรื่องฟ้าคะนองขึ้นมาเล่าว่า นางเมขลาหรือมณีเมขลามีดวงแก้วประจำตัว รามสูร พอใจในดวงแก้วและความงามของเมขลา จึงเที่ยววิ่งไล่จับนาง เมื่อจับไม่ทันก็ใช้ขวานขว้าง แต่ไม่ถูก เพราะเมขลาใช้แก้วล่อจนเป็นฟ้าแลบ แสงแก้วทำให้ตารามสูรมัวจึงขว้างขวานไม่ถูก

   เรื่องเมขลารามสูรนี้ในวรรณคดีเก่า ๆ เช่น เฉลิมไตรภพ ว่า มีพระยามังกรการตนหนึ่งอมแก้วไว้เสมอ จะไปไหนก็เอาดวงแก้วทูนศีรษะไว้ มังกรการได้แปลงเป็นเทวดาไปสมสู่กับนางฟ้ามีบุตรีชื่อ เมขลา เมื่อเจริญวัยขึ้นมีความงามยิ่ง มังกรการได้นำบุตรีและดวงแก้วไปมอบแก่พระอิศวร ครั้งหนึ่งเมขลาได้ขโมยดวงแก้ววิเศษนั้นไป ราหูผู้มีครึ่งตัวเพราะถูกจักรพระนารายณ์เมื่อครั้งแปลงเป็นเทวดาไปดื่มน้ำอมฤต ได้อาสาไปจับเมขลา และได้ชวนรามสูรผู้เพื่อนไปด้วย รามสูรได้ขว้างขวานจนกลายเป็นฟ้าลั่น

     เรื่องรามสูรเมขลาในวรรณคดีสันสกฤตไม่มี แต่ในรามเกียรติ์กล่าวถึงรามสูร (เพี้ยนมาจากปรศุราม) ว่าเป็นอสูรเทพบุตร มีขวานเพชร ในเทศกาลวสันต์ เทวดาและอัปสรเล่นจับระบำกัน รามสูรเจ้าไปไขว่คว้านางอัปสร และไล่ตามนางเมขลาไปพบพระอรชุน ได้ท้ารบกัน รามสูรจับอรชุนสองขาฟาดเหลี่ยมพระสุเมรุตาย นางเมขลาฝ่ายบาลีนั้นว่ามีหน้าที่รักษาน่านน้ำมหาสมุทร คอยช่วยเหลือผู้มีบุญที่ตกน้ำ เช่น ช่วยพระชนกและพระสมุทรโฆษ เมขลาของอินเดียมีคำว่ามณีอยู่ด้วยรวมเป็นมณีเมขลา จึงรวมเป็นองค์เดียวกับเมขลาที่ถือแก้วในนิยายพื้นบ้านไทย

โทร: 0971297060

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ