จำนวนคนอ่านล่าสุด 5 คน

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก


พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก


รายละเอียด :

6453

6453

*********

องค์พระในรูปมิใช่องค์ในบทความ

*****************************

ธรรมมณีแห่งเสน่ห์Amulet

ถูกใจเพจแล้ว · 30 กรกฎาคม 2017 · 

พระปิดตาหลวงปู่นาค เนื้อผงคลุกรัก จารยันต์ วัด ห้วยจรเข้ นครปฐม
วัดห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นที่อุบัติของสุดยอดพระปิดตาสายหนึ่ง อันเป็นที่แสวงหาของผู้คนทุกผู้ทุกนาม อีกทั้งสนนราคาก็แพงลิบลิ่ว ทราบกันแต่ว่าผู้สร้างได้แก่ "หลวงปู่นาค" แต่จะหาประวัติยืนยันถึงความเป็นมาของท่านก็ยากเย็นเหลือเกิน ด้วยผ่านเวลามาเนิ่นนาน ทราบความแต่จากคำบอกเล่าของท่านพระเลขานุการวัดห้วยจระเข้ คือ ท่านพระภิกษุพิทยา ปริญญาโณ ว่า
เท่าที่ทราบนามเดิมของหลวงปู่ชื่อ "นาค" ไม่ทราบนามสกุล รวมทั้งไม่ทราบนามผู้ให้กำเนิด ท่านได้อุปสมบทที่วัดพระปฐมเจดีย์ ได้รับฉายา "โชติโก" ไม่สามารถสืบนามพระอุปัชฌาย์และนามพระกรรมวาจาจารย์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเถระขึ้น 4 รูป เพื่อพิทักษ์รักษาองค์พระปฐมเจดีย์ตามธรรมเนียมโบราณ เฉกเดียวกับการตั้งพระเถระพิทักษ์พระบรมธาตุทั้ง 4 ทิศ สำหรับ "พระปฐมเจดีย์" นั้น ทรงแต่งตั้ง พระครูอุตตรการบดี ประจำทิศเหนือ พระครูปุริมานุรักษ์ ประจำทิศตะวันออก พระครูทักษิณานุกิจ ประจำทิศใต้ พระครูปัจจิมทิศบริหาร ประจำทิศตะวันตก ซึ่งหลวงปู่นาคได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรทางทิศตะวันตก ในขณะที่จำวัดอยู่ ณ วัดพระปฐมเจดีย์
ภายหลังหลวงปู่นาคได้ย้ายมาหาความสงบวิเวก และสร้างวัดขึ้นใหม่ในลำห้วยที่แยกตัวออกจากคลองเจดีย์พุทธบูชา พื้นที่ ต.บ่อพลับ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น ต.นครปฐม) โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2441 จนถึงปี พ.ศ.2443 จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีชื่อเป็นทางการว่า "วัดนาคโชติการาม" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดใหม่ห้วยจระเข้" โดยหลวงปู่นาคเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านมีสหธรรมิกที่อายุอ่อนกว่าหลายปี ได้แก่ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก และ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่นาค ครองวัดอยู่ 11 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2441 จนมรณภาพด้วยโรคชราภาพในปี พ.ศ.2452
หลวงปู่นาคได้เริ่มสร้าง "พระปิดตามหาอุตม์ เนื้อเมฆพัด" ซึ่ง "เมฆพัด" เป็นโลหะที่ได้จากการเล่นแร่แปรธาตุตามตำราของไทยโบราณ เชื่อว่าเป็นธาตุกายสิทธิ์มีฤทธานุภาพในตัวเอง "เมฆพัด" เป็นส่วนผสมของตะกั่วและทองแดง มีกรรมวิธีการสร้างที่ซับซ้อน ในระหว่างหลอมต้องผสมตัวยาหลายชนิด อาทิ กำมะถัน ปรอท และว่านยา ได้แก่ไพลดำ ต้นหิงหาย ไม้โมกผา ขิงดำ กระชายดำ สบู่แดง และสบู่เลือด เป็นต้น ซัดเข้าไปในเบ้าหลอม พอสำเร็จ จะได้โลหะสีดำเป็นมันเงาเลื่อมพราย แต่เปราะและแตกง่าย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พระเกจิ อาจารย์มักนิยมสร้างพระปิดตา อาจเกิดจากการเล่นแร่แปรธาตุที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกหนึ่ง และเป็นการแสดงออกถึงการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกหนึ่ง
การสร้างพระปิดตาของหลวงปู่นาคนั้น ปรากฏหลักฐานว่าท่านเริ่มสร้างปี พ.ศ.2432-2435 ในขณะที่อยู่ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ ปรากฏมีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทอง เนื้อชินเงิน เนื้อชินเขียว ในระยะแรกพิมพ์ยังไม่มีมาตรฐาน จนภายหลังสามารถสรุปได้ว่านิยมเล่นกัน 3 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ท้องแฟบ พิมพ์ท้องป่อง และ พิมพ์หูกระต่าย โดยยัง ไม่นับพิมพ์อื่นๆ ที่ท่านอาจจะสร้างไว้อีกต่างหาก
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราที่พระองค์เสด็จพักแรม ณ พระราชวังสนามจันทร์ พร้อมสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็จะเสด็จกราบนมัสการหลวงปู่นาคเป็นประจำ ซึ่งมีตำนานกล่าวว่า หลวงปู่ได้ถวายพระปิดตาไว้บูชาคู่พระวรกาย อีกทั้งหลวงยกกระบัตรเจ้าเมืองราชบุรีในสมัยนั้น ก็มีเสียงร่ำลือว่าท่านพกพระปิดตาหลวงปู่คู่กายเช่นกัน
นอกจากนี้ สหายสหธรรมิกรุ่นน้องที่มีอายุน้อยกว่าถึง 35 ปี อันได้แก่ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วก็พก "พระปิดตาหลวงปู่นาค" ติดตัว เมื่อหลวงปู่บุญถึงแก่กรรม หลวงปู่เพิ่มได้เก็บรักษาบูชาต่อมาจนท่านมรณภาพ พระครูสิริชัยคณารักษ์ เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วรูปต่อมาก็ได้เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์วัดกลางบางแก้ว มาจนถึงทุกวันนี้
พระปิดตาหลวงปู่นาคได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แฝงเร้นด้วยพลังพุทธคุณและกระบวนการเล่นแร่แปรธาตุตามตำรับโบราณ ผู้ใดบูชาติดตัวก็จะแคล้วคลาดจากอันตรายและมีเสน่ห์เมตตา มหานิยม พระปิดตาที่ท่านสร้างขึ้น มีพุทธลักษณะงดงาม ด้านศีรษะจะใหญ่ มือใหญ่ โยงก้นแต่ไม่ทะลุไปด้านหลัง มักปรากฏรอยจารของท่าน ราคาสูงเป็นหลักหลายแสน
หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรอีก
หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ของวัดห้วยจระเข้ เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต ผู้มีอาคมเข้มขลังแก่กล้าในทางแคล้วคลาด, คงกระพัน, มหาอุด ชื่อเสียงหลวงปู่นาคเป็นอมตะ จากอดีตถึงปัจจุบันก็ยังมิเสื่อมคลาย
หลวงปู่นาคเริ่มสร้างพระปิดตาวัดห้วยจระเข้ประมาณปี 2432-2435 สมัยที่อยู่ วัดพระปฐมเจดีย์ และสร้างต่อมาตอนอยู่วัดห้วยจระเข้ หลวงปู่นาคจะปลุกเสกเดี่ยว โดยระเบิดน้ำลงไปปลุกเสกใต้น้ำหน้าวัด โดยใต้น้ำจะสร้างแคร่ไม้ไว้ หลวงปู่นาคจะนั่งบนแคร่ไม้ ปลุกเสกและจารอักขระเสร็จเรียบร้อย แล้วปล่อยให้ลอยขึ้นมาข้างบนผิวน้ำ ลูกศิษย์ที่พายเรืออยู่ด้านบนก็จะช้อนเก็บให้หลวงปู่นาคนำไปปลุกเสกต่อที่วัดอีกครั้งหนึ่ง
หลวงปู่นาค เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดห้วยจระเข้จนถึงปี 2452 ก็มรณภาพด้วยโรคชรา
หลักการพิจารณาปิดตาวัดห้วยจระเข้
1. ปิดตาหลวงปู่นาควัดห้วยจระเข้มี 2 พิมพ์ คือ
พิมพ์หูกระต่ายและ
พิมพ์สะดือจุ่น
ทั้งสองแม่พิมพ์ จะมีแม่พิมพ์อีกหลายตัว ซึ่งศิลปะการแกะแม่พิมพ์จะใกล้เคียงกัน
2. ปิดตาหลวงปู่นาควัดห้วยจระเข้ สร้างจากแม่พิมพ์ประกบ ดังนั้นด้านข้างของพระปิดตาจึงมีตะเข็บเมื่อหล่อเสร็จแล้วช่างจะใช้ตะไบแต่งให้เรียบร้อย
3. รูปทรงของปิดตาหลวงปู่นาควัดห้วยจระเข้ทั้งสองพิมพ์
ทั้งพิมพ์หูกระต่ายและ
พิมพ์สะดือจุ่น
ลักษณะรูปทรงค่อนข้างกลมทั้งองค์เลย
4. ขนาดของปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ ขนาดความสูงประมาณ 2.2 เซนติเมตร ถึง 2.3 เซนติเมตร หน้าตัก คือหัวเข่าถึงหัวเข่า 1.6 เซนติเมตร
5. ด้านหน้าพระ ให้ดูแขนซ้ายพระทั้งสองพิมพ์ แขนซ้ายพระทั้งสองพิมพ์จะยกสูงกว่าเล็กน้อย ส่วนแขนขวาจะห้อยต่ำกว่าและที่สำคัญข้อศอกทั้งซ้ายและขวาจะโค้งมนและโค้งกว้าง ไม่เป็นมุมแหลมหรือมุมหักศอก
6. การแต่งนิ้วมือ พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ มี 2 รูปแบบ แบบแรกคือ ไม่แต่งนิ้วปล่อยไว้เป็นแผ่นเรียบ ๆ แบบที่สอง คือแบบแต่งนิ้ว ให้สังเกตทั้งสองพิมพ์ ช่างจะแต่งนิ้วเฉพาะปลาย ๆ นิ้วเท่านั้น ไม่ใช่แต่งนิ้วยาวลงมาเป็นเส้นตรง
7. ส่วนพิมพ์สะดือจุ่นต่างกันที่สะดือเท่านั้น นอกนั้นดูเหมือนกันหมด ให้สังเกตว่าจะเป็นสะดือที่ไม่กลม (ถ้าสะดือไม่สึก) สะดือจะลาดจากด้านบนลงมานูนสูงด้านล่าง
8. ด้านหลังพระ ส่วนใหญ่แต่งเป็น 2 แบบ คือหลังลอนและหลังเรียบ
หลังลอน ช่างได้แต่งกลางหลังเป็น 2 ลอน
หลังเรียบ ช่างได้แต่งกลางหลังให้เรียบและเว้าตรงเอวเท่านั้น
9. เหล็กจารอักขระที่หลวงปู่นาคจารบนองค์พระประมาณ 30-34 ตัว และที่จาร มากที่สุดคือ 30 ตัว ลายมือจารค่อนข้างสวยเป็นระเบียบ เส้นค่อนข้างลึก บางเส้นมีรอยปริแตก ให้สังเกตในร่องเส้นยันต์ จะมีความเก่าไม่มีความเงา และอยากจะให้ผู้อ่านหรือผู้สนใจควรจะจดจำลายมือให้ได้ จำได้บางตัวก็ยังดีเพราะลายมือของหลวงปู่นาคคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการชี้ขาดว่าเก๊หรือแท้
10. ปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ สร้างด้วยเนื้อเมฆพัด เป็นเนื้อหลัก เนื้อเมฆพัดของหลวงปู่นาคจะผสมกับโลหะอื่น ๆ ด้วย เช่น ตะกั่ว จึงทำให้มีน้ำหนักมากกว่าเมฆพัดล้วน ๆ และเมื่อวางไว้บนมือ จะมีความรู้สึกหน่วง ๆ มือ และบางองค์จะพบเม็ดทองแดงอยู่บนพื้นผิวพระ ลักษณะจะเป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ เหล็กจารอักขระที่หลวงปู่นาคจารบนองค์พระประมาณ 30-34 ตัว และที่จาร มากที่สุดคือ 30 ตัว ลายมือจารค่อนข้างสวยเป็นระเบียบ เส้นค่อนข้างลึก บางเส้นมีรอยปริแตก ให้สังเกตในร่องเส้นยันต์ จะมีความเก่าไม่มีความเงา และอยากจะให้ผู้อ่านหรือผู้สนใจควรจะจดจำลายมือให้ได้ จำได้บางตัวก็ยังดีเพราะลายมือของหลวงปู่นาคคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการชี้ขาดว่าเก๊หรือแท้
11. พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ นอกจากจะสร้างด้วยเนื้อเมฆพัดแล้วยังมีสร้างด้วยเนื้อตะกั่วล้วน ๆ ก็มี คิดว่าเป็นเนื้อลองพิมพ์ ส่วนที่สร้างเป็นเนื้อสัมริดมีน้อย และค่อนข้างหายากมาก
หลักการพิจารณาปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ คงเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้มีบุญที่สนใจสายพระปิดตาในการประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
https://plus.google.com/107096423686116093823/posts/3efWpPjep8i
https://plus.google.com/107096423686116093823/posts/iDThQMJVnqu

โทร: 0971297060

โทร: 0984734410

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระปิดตา-พระขุนแผน

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ