พระกริ่ง วัดบวร เนื้อสำริด กริ่งดัง
รายละเอียด :
7/0446
พระกริ่ง วัดบวร เนื้อสำริดกริ่งดัง โค๊ต เมล็ดข้าว/เรือขุด พบเห็นน้อยองค์ ต้นแบบ พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวร หลาย พิมพ์ทรง
--เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
พระกริ่งปวเรศฯ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร นวะโลหะ ( สัมฤทธิ์เดช ) สร้างเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416
( ชัยพร , มหาโพธิ์ 2535 , สนามพระ 2536 )
-------------------------------------
ขอขอบคุณเจ้าของ บทความ
-------------------
สัมฤทธิ์ คืออะไร
สัมฤทธิ์ คืออะไร ทำไมต้องสัมฤทธิ์ชาวบ้านเราๆท่านคงไม่เข้าใจหรือเข้าใจแต่อาจจะไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงที่มาที่ไป ดังนั้นจะขอกล่าวถึงสัมฤทธิ์พอสังเขปถึงที่มาที่ไปโดยมีข้อความที่ “ตรียัมปวาย” เคยเขียนไว้ว่า
คำว่าสัมฤทธิ์ตามพจนานุกรม หมายความว่า น. ความสำเร็จ ถ้าหมายถึงโลหะก็จะหมายถึงโลหะเจือชนิดหนึ่งประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก
ทองสัมฤทธิ์หรือสัมฤทธิ์ ก็เรียก เขียนว่า สำริด ก็มี โลหะผสมที่นำมาสร้างพระพุทธรูปหรือพระรูปหล่อลอยองค์ โดยมากใช้โลหะธาตุทองแดงผสมกับดีบุกและโลหะธาตุอื่นๆ แล้วแต่จะผสมกันไปตามสูตรของใครของมัน และในปัจจุบันเรียกกันว่า "เนื้อสัมฤทธิ์" แต่ถ้าจะพูดถึงโลหะสัมฤทธิ์ตามสูตรโบราณแท้ๆ นั้นเขามีหลักมีเกณฑ์ในการผสมโลหะ และเพื่อให้เป็นสิริมงคล จึงได้ใช้คำเรียกโลหะผสมชนิดนี้ว่า "สัมฤทธิ์" ซึ่งหมายถึงการสัมฤทธิ์ผล หรือสัมฤทธิ์ประโยชน์ตามความปรารถนา ทั้งนี้หมายความถึง ความสำเร็จนับแต่เริ่มต้นในการผสมโลหะตามสูตร การลงอักขระเลขยันต์ให้สำเร็จเป็นอิทธิวัตถุ บังเกิดเป็นมงคลและความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และในประการสุดท้ายเมื่อนำอิทธิวัตถุสำเร็จไปใช้แล้ว ก็ย่อมจะอำนวยให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ปรารถนาได้ อาจสรุปได้ว่า แม้เพียงแต่การผสมโลหะต่างๆ ตามมูลสูตร แผ่เป็นแผ่นลงอักขระเลขยันต์ แล้วหล่อหลอมรวมกัน ก็ถือได้ว่าเป็นของวิเศษสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องรางของขลังได้ทันที ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า โลหะสัมฤทธิ์เป็นมงคลโลหะที่เหมาะสมที่สุดแก่การที่จะนำมาสร้างเป็นองค์พระปฏิมาโลหะสัมฤทธิ์ตามโบราณ ซึ่งใช้โลหะธาตุบริสุทธิ์ต่างๆ ตั้งแต่ ๓ ชนิดขึ้นไปและอย่างมากที่สุดจะไม่เกิน ๙ ชนิด หล่อหลอมผสมกันตามอัตราส่วนสำเร็จขึ้นมาเป็นโลหะชนิดใหม่เรียกว่า "สัมฤทธิ์" อย่างไรก็ดีโลหะสัมฤทธิ์จะต้องใช้โลหะตระกูลสูง ๒ ชนิด คือ ทองคำและเงิน เป็นส่วนผสมหลักอยู่ด้วยเสมอ มิฉะนั้นจะไม่ถือว่าเป็นโลหะสัมฤทธิ์ นอกจากนี้จะต้องมีโลหะยืนโรง อีกชนิดหนึ่ง คือทองแดง ซึ่งจะต้องใช้มากเพื่อให้ได้ปริมาณ
ตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณมีอยู่ ๕ ตระกูล คือ สัมฤทธิ์ผล สัมฤทธิ์โชค สัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช รวมเป็นสัมฤทธิ์ ๕ ตระกูล อันมีความพิสดารดังต่อไปนี้
๑. สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตรีโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ ๓ ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยมพระพุทธรูปสมัยอู่ทองโดยเฉพาะพระพุทธรูปอู่ทองหน้าแก่มักสร้างด้วยเนื้อนี้
๒. สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ พระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยบางยุคและพระเชียงแสน พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ บางรุ่น และพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์บางรุ่นก็สร้างด้วยเนื้อนี้
๓. สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ ๗ คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด
๔. สัมฤทธิ์คุณ คือสัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลหะ หมายถึงนัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ
๕. สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้องไอเหงื่อ จะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง ๒ ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (มา) ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยมุนี วัดจักรวรรดิราชาวาส และสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม ครั้งยังเป็นพระเทพโมลี ตามลำดับ เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง ๙ชนิด มีดังนี้
๑. ชิน หนัก ๑ บาท ๒. จ้าวน้ำเงิน หนัก ๒ บาท
๓. เหล็กละลายตัว หนัก ๓ บาท ๔. ตะกั่วเถื่อน หนัก ๔ บาท
๕. ปรอท หนัก ๕ บาท ๖. สังกะสี หนัก ๖ บาท
๗. บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก ๗ บาท ๘. เงิน หนัก ๘ บาท
๙. ทองคำ หนัก ๙ บาท
โทร: 097-129-7060
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ