จำนวนคนอ่านล่าสุด 1107 คน

พระยอดธง บางกะจะ วัดพลับ จ.จันทบุรี พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อชินเงิน


พระยอดธง บางกะจะ วัดพลับ จ.จันทบุรี พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อชินเงิน

พระยอดธง บางกะจะ วัดพลับ จ.จันทบุรี พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อชินเงิน

พระยอดธง บางกะจะ วัดพลับ จ.จันทบุรี พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อชินเงิน

พระยอดธง บางกะจะ วัดพลับ จ.จันทบุรี พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อชินเงิน

พระยอดธง บางกะจะ วัดพลับ จ.จันทบุรี พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อชินเงิน

พระยอดธง บางกะจะ วัดพลับ จ.จันทบุรี พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อชินเงิน

พระยอดธง บางกะจะ วัดพลับ จ.จันทบุรี พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อชินเงิน


รายละเอียด :

3136

พระยอดธงกรุวัดพลับ บางกะจะ จังหวัดจันทบุรี พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อชินเงิน สมัยพระเจ้าตากสินสร้างไว้เรียกว่าพระกู้ชาติ 

************************

พระยอดธง(รัตนมาลา) และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

  "ต.บางกะจะ จ.จันทบุรี" ถือเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย ก่อน พ.ศ.2300 บางกะจะเป็นถิ่นที่ชาวจีนแต้จิ๋วมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่

       ปี พ.ศ.2309 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ขณะนั้นเป็น พระยาวชิรปราการ) ได้รวบรวมทหารไทยจำนวนหนึ่งตีฝ่าทหารพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา ผ่านมาทางระยองมุ่งสู่จันทบุรี และได้หยุดประทับพักแรมที่บ้านบางกะจะหัวแหวน (ปัจจุบันคือ ต.บางกะจะและ ต.พลอยแหวน) ก่อนที่จะยกทัพเข้าตีเมืองจันทบุรี พระองค์และบรรดาทหารได้รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์และรับการถวายพระยอดธงจากเจ้าอาวาสวัดพลับ

       ความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกเหตุการณ์หนึ่งของบางกะจะ คือ เมื่อ พ.ศ.2377 บางกะจะเคยเป็น "เมืองจันทบุรี"มาก่อน สมัยแผ่นดินแห่งสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้าง"เมืองจันทบุรีใหม่"ที่บ้านเนินวง (ตำบลบางกะจะ ปัจจุบัน) ตัวเมืองมีลักษณะเป็นเมืองป้อมปราการตามหลักยุทธศาสตร์ ภายในเมืองมีอาคารก่ออิฐถือปูนเป็นคลังอาวุธ (ปัจจุบันรื้อถอนแล้ว) มีศาลหลักเมืองและวัดโยธานิมิต ซึ่งเป็นวัดประจำเมืองสมัยนั้น ปัจจุบันภายในเป็นที่ตั้งของ "สำนักงานโบราณคดีใต้น้ำ" และ "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี"

       นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2419 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จประพาสบางกะจะ ซึ่งพระองค์ได้พระราชนิพนธ์ถึงบางกะจะเมื่อครั้นเสด็จประพาสจันทบุรีไว้ด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 พ.ย. 2551

**********************

วัดพลับ ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี

**วัดพลับ เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เดิมชื่อ วัดสุวรรณติมรุธาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราวปีพุทธศักราช 2300 มีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ภายในบริเวณวัด

จากตำนานคำบอกเล่า กล่าวว่า วัดพลับ แห่งนี้ สร้างโดย ชาวจีนแต้จิ๋ว เพราะในสมัยนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่หนาแน่น จนกลายเป็นชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดของทางภาคตะวันออก ได้นิมนต์ พระอาจารย์ทอง จากวัดแห่งหนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อ) อยู่ใกล้ วัดโบสถ์พลอยแหวน ร่วมกับ พระธุดงค์ จาก กรุงศรีอยุธยา ช่วยกันสร้าง เดิมชื่อ วัดสุวรรณติมรุธาราม แปลว่า วัดพลับทอง ด้วยใกล้วัดมี ต้นพลับ อยู่จำนวนมาก ชาวบ้านจึงพากันเรียก วัดพลับ บ้างก็เรียก วัดพลับบางกะจะ เพราะวัดตั้งอยู่ใกล้ ตลาดเก่าบางกะจะ

จากตำนานคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ก่อนกองทัพ พระเจ้าตากสิน จะเข้าตี เมืองจันทบูร ได้มีการทำพิธีทางพระพุทธศาสนา ณ วัดพลับ (วัดพลับ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี) สร้าง พระยอดธง และประพรมน้ำมนต์ให้กับทหารทุกคนในกองทัพ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจทหารให้เกิดความฮึกเหิม กล้ารบเพื่อชาติมากขึ้น ด้วยพุทธคุณทำให้ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดตลอดกาล นอกเหนือจากนี้แล้ว ยังให้พุทธคุณด้าน โชคลาภ เมตตามหานิยม อีกด้วย

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดพลับ

ตู้พระไตรปิฎก เป็นตู้ไม้ลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำศิลปะแบบ อยุธยาตอนปลาย

หอพระไตรกลางน้ำ โครงสร้างเป็นเรือนไม้ทรงไทยขนาดกลาง หลังคาสองชั้นทรงจั่วมีระเบียงรอบหอ ตกแต่งอย่างประณีตทั้งหลัง สร้างอยู่ในสระน้ำ มีเสารองรับหลังคาเป็นของเดิม เขียนลายรดน้ำปิดทอง ได้มีการบูรณะซ่อมแซม เมื่อปีพุทธศักราช 2518 และได้ปรับปรุงบูรณะเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

พระเจดีย์กลางน้ำ เป็นพระเจดีย์ระฆังทรงกลม ก่ออิฐหินปูน สูงประมาณ 8 เมตร ไม่ประดับกระเบื้อง ยกฐานสูง ตัวองค์ระฆังขนาดเล็กมีส่วนประกอบทั้ง 4 ด้าน ลักษณะศิลปะแบบอยุธยาตอนกลาง ได้รับการบูรณะ เมื่อปีพุทธศักราช 2481 และมีการบูรณะมาจนถึงปัจจุบัน

สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ตามตำนานกล่าวว่า ได้นำน้ำบริเวณ พระเจดีย์กลางน้ำ ณ วัดพลับ แห่งนี้ มาใช้ประกอบในการทำน้ำพระพุทธมนต์ เนื่องในงานพิธีมงคลต่าง ๆ ในครั้ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ทำการกอบกู้ชาติแผ่นดิน กล่าวคือ ก่อน พระยาวชิรปรากร (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช) จะเข้าตี เมืองจันทบูร (จันทบุรี) นั้น ได้มาทำพิธีทางพระพุทธศาสนา พาเหล่าบรรดาทหารหาญมาประพรมน้ำมนต์ที่ วัดพลับ ก่อนออกสู้รบ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจนอกจากนี้ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี นับแต่ต้นราชวงศ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ลุถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช พ่อหลวงองค์ปัจจุบันของปวงชนชาวไทย น้ำพระพุทธมนต์ วัดพลับ ได้รวบรวมน้ำมาจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ใน เมืองจันท์ ได้แก่ น้ำจากถ้ำพระนารายณ์ ตำบลคลองนารายณ์ น้ำที่สระแก้ว ตำบลพลอยแหวน มารวมกัน แล้วทำพิธีนำน้ำพระพุทธมนต์พุทธาภิเษกตลอด 3 วัน 3 คืน ณ พระอุโบสถวัดพลับ แห่งนี้

วิหารไม้ ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ตัววิหารตั้งอยู่ทางทิศเหนือหน้าวัด รูปทรงเป็นเรือนไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีฐานปูนวางพื้น หลังคาทรงจตุรมุข ตรงส่วนยอดประดับด้วยพระเจดีย์ขนาดเล็ก เครื่องลำยองหรือปั้นลม เป็นไม้แกะสลักสวยงาม ช่องลมทั้ง 4 ด้าน ถูกประดับด้วยฉลุลวดลายไม้ ภายในวิหารไม้สร้างด้วย ไม้ตะเคียน ทั้งหลัง มีขนาดกว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 7 เมตร ฝาผนังสูงประมาณ 3.50 เมตร กับส่วนยอดจัตุรมุข 3.50 เมตร วิหารไม้แห่งนี้ ภายในมี ภาพวาดพุทธประวัติ เป็นงานฝีมือช่างท้องถิ่น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ภาพวาดสีบนฝาผนัง ชำรุดเกือบหมด เพราะกระเบื้อง หลังคาวิหารแตก ทำให้ฝนตกรั่วซึม ภาพวาดสีจึงลบเลือนเกือบหมด กรมศิลปากร ได้ปฏิสังขรณ์วิหารไม้แห่งนี้ครั้งหนึ่ง ด้วยการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา บูรณะเมื่อเดือนเมษายน พุทธศักราช 2546                         

พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา หรือเรียกทั่วไปว่า ปางทรมาร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ประดิษฐานภายใน วิหารไม้ หล่อด้วย สำริดลงยาปิดทองคำเปลว องค์พระพุทธรูป มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 120 เซนติเมตร สูงประ มาณ 2 เมตร สร้างใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ภายหลังจากสร้าง วัดพลับ ได้ราว 10 ปีเศษ มีอายุไล่เลี่ยกับ พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูป ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ตั้งประดิษฐานบนแท่นปูน ติดหินอ่อน หลังจากประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปีพุทธศักราช 2532 มีเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของ พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดพลับ หากใครที่มีความประสงค์จะบันทึกภาพพระพุทธรูปองค์นี้ ควรต้องจุดธูปบอกกล่าวเสียก่อน ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว จะไม่สามารถบันทึกภาพได้เลย

พระปรางค์ สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2441 องค์พระปรางค์ สูงประมาณ 20 เมตร ประกอบด้วยซุ้มประตู 4 ทิศ เหนือประตูเป็นรูปราหูอมจันทร์ ตัวพระปรางค์ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ 2 ชั้น มีบันไดทางขึ้น 4 ทาง ส่วนของยอดพระปรางค์ซ้อนขั้น มีเชิงบาตรรองรับตัวพระปรางค์ขนาดเล็ก ประดับประดาด้วยเศียรช้างทั้ง 4 ทิศ ยอดพระปรางค์เป็นตรีศูร

สำซ่าง เป็นที่สำหรับเผาศพแบบโบราณ ซึ่งเหลืออยู่ที่ วัดพลับ เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย มีลักษณะเป็นหลังคาลดหลั่น 5 ชั้น ยอดแหลมมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่า (กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้านสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคา โบสถ์ วิหาร) ด้วยผ่ายฤดูกาลมาอย่างยาวนาน ลำซ่าง เดิม ได้หักพังลง แต่ปัจจุบันได้ซ่อมแซมบูรณะสมบูรณ์แล้ว แต่ยังคงรูปลักษณะเดิมไว้

วัดพลับได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรตั้งแต่ปี 2523

*แต่ละเมือง แต่ละจังหวัดที่มี ประวัติศาสตร์อันยาวนาน มักจะมีการสร้างพระเครื่องอันมี ศิลปะและเอกลักษณ์ของแต่ละเมืองไว้ เป็นพุทธานุสรณ์ อาทิ เมืองลำพูนก็มี พระรอด พระคง ศิลปะสกุลช่างหริภุญไชย, พระซุ้มกอ เมืองกำแพงเพชร, พระหูยาน ลพบุรี หรือ พระร่วง เมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย เป็นต้น

มูลเหตุที่เรียก พระยอดธง นี้ว่า พระยอดธงพระเจ้าตาก มีดังนี้ 

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน พำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เข้ารับราชการทาง หัวเมืองเหนือ มีความดีความชอบจนได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าเมืองตาก 

พุทธศักราช ๒๓๐๙ พม่ากรีฑาทัพ มาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก ถูกเกณฑ์ลงมาช่วยรักษาพระนคร ได้เป็นผู้นำต่อสู้กับพม่า อย่างเข้มแข็ง รักษาพระนคร ไม่ให้พม่าบุกเข้ากรุงได้ มีความดีความชอบ ได้เลื่อนยศเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร 

ถึงคราวชะตา บ้านเมืองถึงกาลวิบัติ จึงดลบันดาลให้ พระเจ้าเอกทัศน์ เกรงสนมกรม ในแก้วหูแตกมากกว่ากลัวจะเสียกรุง จึงออกคำสั่งว่า ผู้ใดจะยิงปืนใหญ่ต้อง ขออนุญาตจากศาลาลูกขุนเสียก่อน 

พระยาวชิรปราการ ซึ่งบัญชาการอยู่ทางด้านตะวันออก เห็นพม่ารุกไล่เข้ามา ก็ยิงปืนใหญ่ต่อสู้โดยพละการ ไม่ได้ขออนุญาต จากศาลาลูกขุน มีโจทย์ฟ้องแทบถูกลงโทษ แต่ด้วยเคยมีความดีความชอบมาก่อน จึงโดนภาคทัณฑ์ไว้ นับเป็นความโง่เขลาเบา ปัญญาของชนชั้นปกครองในขณะนั้น 

ด้วยเหตุนี้ ทำให้พระยาวชิรปราการ เกิดความท้อแท้ และเล็งเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาคงจะแตกในไม่ช้า อยู่ต่อไปก็ไร้ประโยชน์ จึงได้รวบรวมสมัครพรรค พวกรวม ๕๐๐ คน ตีฝ่าทัพพม่าออกไป ทางด้านตะวันออก 

พม่าได้ส่งทหารจำนวน ๒,๐๐๐ คน ออกติดตามไปทันกัน ที่บ้านโพธิสังหาร พระยาตากและ พรรคพวกก็ต่อสู้เป็นสามารถ ฆ่าฟันทหารพม่าล้มตาย เป็นจำนวนมาก จากนั้นได้พาไพร่พลไปตั้งมั่นอยู่ที่บ้านพรานนก และได้รบกับพม่าที่ดงศรีมหาโพธิ์ จนได้รับชัยชนะอีกครั้ง และออกเดินทางไปจนถึงเมืองปราจีนบุรี ตลอดทางที่ผ่านราษฎรที่ทราบข่าว จึงพากันมาขอเป็นสมัครพรรคพวกจำนวนมาก 

พระยาตาก ยกทัพลงไปถึงเมืองจันทบุรี แต่ พระยาจันทบุรี ไม่ยอมอ่อนน้อม กลับปิดประตูเมืองสั่งทหารเข้าประจำหน้าที่ ทำการป้องกันอย่างเข้มแข็ง 

พระยาตากได้ล้อมเมืองจันทบุรี อยู่เป็นเวลานานยังไม่สามารถหักเอาเมืองได้ ทางฝ่ายพระยาจันทบุรีถึงแม้จะมีไพร่พลมากกว่า แต่ก็มิกล้านำพลออกรบ เพราะครั่นคร้ามต่อ กิตติศัพท์ด้านการรบของทัพพระยาตาก 

สืบต่อมาวันหนึ่ง หลังจากทหารหุงข้าวเย็นกินกันเป็นที่เรียบร้อย จึงมีบัญชาให้ทหารทุบหม้อข้าวและ เทอาหารที่เหลืออยู่ทั้งหมดทิ้งเสีย แล้วกล่าวว่า ถ้าไม่สามารถบุกเข้ายึด เมืองจันทบุรีในคืนนี้ให้ได้ ก็มีหวังอดตายด้วยกัน ...นับเป็นกุศโลบายอันลึกล้ำและ เลื่องลือมาจนกระทั่งทุกวันนี้ 

พอย่ำค่ำ พระยาตากจึงให้ทหารเข้าประจำหน้าที่คอยฟังสัญญาณปืน ทำการเข้าปล้นเมืองเมื่อได้เวลายามสาม พระยาตากขี่ช้างชื่อ ช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนเป็นสัญญาณเข้าปล้นเมืองพร้อมกัน 

พระยาตากขับช้างเข้าพังประตูเมือง ข้าศึกยิงกระสุนต่อต้าน ท้ายช้างกลัวพระยาตาก จะเป็นอันตรายจึงบังคับช้างให้ถอยออกมา พระยาตากโกรธมากชักดาบ จะฆ่าท้ายช้างให้ตาย แต่ท้ายช้างขอชีวิตไว้ จึงขับช้างเข้าพังประตูทลายลง ทหารก็กรูเข้าเมืองได้ ชาวเมืองพากันแตกตื่นตกใจ ไม่คิดต่อสู้ขัดขืน ... พระยาตากจึงสามารถตีเมืองจันทบุรีได้ในคืนนั้น 

หลังจากนั้น พระยาตากจึงเกลี้ยกล่อมให้ผู้คนที่แตกตื่นหนีภัย ให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม ทำการจัดเมืองจันทบุรีให้สงบเรียบร้อย จึงได้รวบรวมไพร่พล ฝึกกองทัพให้กล้าแข็ง และต่อเรือไว้ใช้ในการศึกเตรียมการกู้อิสรภาพ 

พระยาตาก เป็นผู้ที่เลื่อมใสและ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะมีภาระในการปกครองบ้านเมือง ก็มิได้ลืมทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา โดยจะเห็นได้จากการไปปราบก๊ก พระยานครศรีธรรมราช เวลากลับได้สั่งให้นำ พระไตรปิฎก มาคัดลอกไว้ แล้วส่งต้นฉบับคืน 

ณ ตำบลบางกะจะ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี อันเป็นบริเวณที่พระยาตาก ส้องสุมรี้พลต่อเรือรบ ปัจจุบันยังปรากฏหลักฐานป้อมค่ายต่างๆ ใต้บริเวณดังกล่าว เป็นที่ตั้งวัดสำคัญ เรียกกันว่า วัดพลับ กล่าวกันว่า เป็นวัดที่พระยาตากได้สร้างพระเจดีย์และ บรรจุพระเครื่องชนิดหนึ่งไว้เป็นพุทธานุสรณ์ ในการที่รบได้ชัยชนะพระเครื่องดังกล่าวนิยมเรียกว่า "พระยอดธงพระเจ้าตาก"

พระยอดธงพระเจ้าตาก เป็นพระหล่อแบบโบราณ พุทธลักษณะองค์พระเป็น แบบลอยองค์ประทับนั่งไม่มีอาสนะหรือฐาน มีทั้งแบบปางมารวิชัยและปางสมาธิ ที่ใต้องค์พระจะปรากฏเดือย ลักษณะเป็นแท่งกลมยื่นออกมาพอประมาณ รายละเอียดขององค์พระไม่ค่อยจะมี ความประณีตงดงามนัก พระเนตร (ตา) พระนาสิก (จมูก) ไม่ค่อยติดชัดเจน พอเห็นเป็นเค้าเท่านั้น ส่วนพระโอษฐ์จะเป็นเหมือน รอยเส้นเว้าลึกลงไปในเนื้อ เท่าที่พบมี ๒ ขนาดด้วยกันคือ พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก 

ในด้านเนื้อหาของ พระยอดธงพระเจ้าตาก นี้ เป็นพระที่สร้างด้วยเนื้อชินเงิน แต่ส่วนมากผิวพระ จะเกิดสนิมขุมกัดกร่อน มีรอยร้าวระเบิดแตกปริ สนิมจัดที่เรียกกันว่า สนิมตีนกานับเป็นพระเครื่องที่น่าภาคภูมิใจ ของจังหวัดจันทบุรีอีกพิมพ์หนึ่ง ที่มีสนนราคาเช่าหาไม่สูงเกินไปนัก 

โดย อมตะ immortal amata 3กพ. 2552

โทร: 0971297060

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกรุ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ