จำนวนคนอ่านล่าสุด 1055 คน

พระยอดธง อยุธยา เปียกทองคำแท้ โบราณ


พระยอดธง อยุธยา เปียกทองคำแท้ โบราณ

พระยอดธง อยุธยา เปียกทองคำแท้ โบราณ

พระยอดธง อยุธยา เปียกทองคำแท้ โบราณ


รายละเอียด :

3470

ขอขอบคุณ เจ้าของบทความ

---------------------------------

พระเครื่องเมืองชัยนาท กำลังรู้สึกเยี่ยมที่ พระเครื่องเมืองชัยนาท

27 กันยายน 2016 · อำเภอสรรคบุรี · 

"เปียกทอง กะไหล่ทอง ชุบทอง"

จุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่คุณลักษณะและวิธีการรวมถึงผลลัพธ์ ที่ออกมาแตกต่างกัน

วันนี้ พระเครื่องเมืองชัยนาท ขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับความรู้เรื่องพระเครื่องตามความเข้าใจในการศึกษาพระเครื่องเพื่อเป็นแนวทางให้เพื่อนๆ ในวงการที่เริ่มศึกษาหรือศึกษามานานแต่ยังไม่ทราบได้รู้กัน

ทองคำ ทรงคุณค่าเสมอและมีราคาสูงมาแต่โบราณ พระทองคำจึงมีราคาแพงมาก ดังนั้นการทำพระให้เหมือนทองคำโดยการเคลือบผิวทองคำจึงนิยมทำมาตั้งแต่การเริ่มมีสร้างพระเหรียญ เข้าใจว่าราวๆ ปี 2450 เป็นต้นมา (เฉพาะพระเหรียญคณาจารย์)

เทคนิคการนำทองคำมาปิดผิวเหรียญเพื่อให้พระมีสีทองจึงมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาราวๆ 3 ยุค กรรมวิธียุคแรกๆ มีความยุ่งยากใช้ทองคำปริมาณมากจึงมีราคาสูงกว่าผิวทองแดงธรรมดาเรียกว่าการ

"เปียกทอง" 
เป็นกรรมวิธีที่ใช้ ตะกั่ว ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำและใช้ความร้อนทำให้มีสถานะเป็นของเหลวง่าย มาผสมกับทองคำที่ตะไบให้เป็นผงละเอียด จากนั้นนำมาทาเข้ากับผิวพระเครื่องที่ต้องการทำผิวให้เป็นทองคำ เมื่อทางเสร็จแล้วใช้ไฟเป่าไล่โลหะตะกั่วออกเนื้อทองคำจึงติดที่ผิวพระอย่างแน่นหนาด้วยกรรมวิธีดังกล่าวจึงเรียกว่าการ "เปียกทอง" ประมาณยุคปี 2450 ถึง 2480 และเหลื่อมสลับปีมาเรื่อยๆกับยุค "กะไหล่ทอง" จนปี 2500 ก็ไม่ค่อยพบเจอวิธีการเปียกทองอีก
“กะไหล่ทอง”
คุ้นหูติดปากกับนักสะสมพระเครื่องเป็นอย่างมากโดยอาศัยเรียกรวมๆ พระที่มีสีทองทั้งหมดว่า “กะไหล่ทอง” ซึ่งกรรมวิธีการทำจริงๆ แล้วมาจากการพัฒนาวิธีการเปียกทอง โดยลดปริมาณทองคำลงเพื่อให้มีราคาถูกลงแต่ยังคงผิวทองคำไว้เช่นเดิมนั่นเอง
กรรมวิธีการทำ “กะไหล่ทอง” นั้น เปลี่ยนจากการใช้ผงทองคำผสมลงในตะกั่วแบบเปียกทอง มาเป็นใช้ตะกั่วหลอมทาหรือชุบไปที่องค์พระก่อน จากนั้นจึงใช้แผ่นทองคำบางๆ ปิดองค์พระแล้วใช้ความร้อนเป่าไล่ให้ทองคำให้ละลายติดกับองค์พระวิธีนี้ให้สังเกต จุดที่พระสึก หรือถูกสัมผัสจะเห็นเป็นผิวสีขาวๆ หลายๆคนคิดว่าชุบนิ้กเกิ้ลขาวก่อนแล้วชุบทองซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดแท้จริงแล้วคือตะกั่วที่ทาผิวพระเพื่อให้ทองคำติดนั่นเอง วิธีการกะไหล่ทอง เริ่มมีราวๆ ปี 2480-90 เรื่อยมาจนถึงปี 2530 กว่าๆ 
“ชุบทอง” 
การพัฒนาทำผิวทองคำมีขึ้นเรื่อยๆ จนถึงยุคที่เทคโนโลยีการใช้ไฟฟ้าแพร่หลาย รวมถึงความต้องการพระผิวทองคำเพิ่มมากขึ้นจึงมาสู่การ “ชุบทอง” ด้วยไฟฟ้านั่นเอง และอีกทั้งพิษจากสารตะกั่ว เมื่อถูกไฟเผาเป็นอันตรายต่อร้างกายช่างที่ทำกะไหล่ ภายหลังปี 2530 – 2540 โรงงานต่างๆจึงเลิกใช้วิธีการ “เปียกทอง” และ “กะไหล่ทอง” หันมาใช้การ ชุบทอง แทน 
แต่ความรู้ที่ติดตัวช่างมานั้น ปัจจุบันที่มีอายุมากแล้วยังคงมีอยู่แต่ไม่ได้ถ่ายทอดออกไป (บางทีก็เป็นช่องทางให้พวกลักลอบทำกะไหล่ใหม่ได้) 
การ “ชุบทอง”ใช้หลักการง่ายๆ ของฟิสิกซ์ คือการนำไฟฟ้าต่างขั้วของโลหะต่างชนิดกัน โดยโลหะทองคำน้น นำกระแสไฟฟ้าขั้วลบ ซึ่งให้สามารถชุบพระครั้งละมากๆ ซึ่งมีทั้งการชุบทองคำบริสุทธิ์ (แพง) และการชุบทองผสม (อัลลอยด์) ราคาถูกนั่นเอง ได้จึงเป็นที่นิยมชุบทองในพระเหรียญยุคหลังๆ เริ่มแพร่หลายราวปี 2530 เป็นต้นมา หลังมีไฟฟ้าใช้โดยทั่วไป

ความแตกต่างระหว่าง “เปียกทอง” “กะไหล่ทอง” “ชุบทอง”

พระเปียกทอง จะมีลักษณะของทองคำเข้มข้นและติดแน่นทั่วองค์ มีสีขาวของตะกั่วอยู่น้อยหรือไม่มีปรากฎอยู่เลยตามองค์พระเนื่องจากขั้นตอนการผสมตะกั่วกับผงทองคำทาไปที่องค์พระแล้วเป่าไฟออก

พระกะไหล่ทอง จะมีลักษณะผิวทองบางๆ และมักติดไม่ทั่วพระ ส่วนที่ถูกสัมผัสจะเห็นผิวสีขาวจากตะกั่วที่ทาก่อนเป่าแผ่นทองติดลงไป

พระชุบทอง จะมีลักษณะสีทองเคลือบหนา ติดทั่วทุกซอกส่วนของพระ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าเป็นตัวนำทองมาติดทั่วพระ สีพระเข้มมาก หรืออ่อนกว่าสีทองคำ เนื่องมาจากการใช้ไฟฟ้าแรงไป หรือผสมกรดทองมากเกินไป จุดสัมผัสจะไม่มีปรากฎผิวสีขาว และหลุดลอกเป็นแผ่นๆได้ง่ายกว่าการเปียกทอง หรือกะไหล่ทอง

จบเรื่องราวความรู้ดีๆ ของพระผิวทองไว้แต่เพียงเท่านี้ ท่านที่ศีกษาก็จะแยกแยะพระที่มีสีทองได้พอคร่าวๆ ตามยุคสมัยของการสร้างและลักษณะของกะไหล่ใหม่ กะไหล่เก่าได้บ้างนะครับ /อนุญาตเผยเพร่และแชร์ได้เซฟได้ครับ Cr. พระเครื่องเมืองชัยนาท

โทร: 0953395801

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกรุ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ