พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์อุ้มบาตร ยันต์อุณาโลม สร้างวาระ 2411 ถวาย ร.๕
รายละเอียด :
3661
ขอขอบคุณ เจ้าของบทความ
------------------------
Chok Permpool
21 ชม.
พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์อุ้มบาตร เส้นกรอบทรงน้ำเต้า ยันต์อุณาโลม สร้างวาระ 2411 ถวาย ร.๕ งานแกะแม่พิมพ์ช่างหลวง "พระองค์เจ้าลดาวัลย์" ทรงรับราชการกำกับกรมช่างสิบหมู่ (พิมพ์ช่างหลวง "พระองค์เจ้าลดาวัลย์" ทรงรับราชการกำกับกรมช่างสิบหมู่)
หลวงพ่อเงิน อุ้มบาตร เนื้อทองผสม
รูปแบบพิมพ์เป็นฝีมือจัดสร้างโดยช่างสิบหมู่ ช่างหลวง
หลายท่านอาจสงสัยว่าจัดสร้างด้วยความเชื่อเรื่องใด พิมพ์อุ้มบาตรหรือปางอุ้มบาตรเป็นชื่อเรียกของพุทธลักษณะของพระพุทธรูปทำนั่งขัดสมาธิอย่างปางสมาธิทั่วไปแต่พระหัตถ์ทั้งสองประคองถือ "บาตร" โปรดสัตว์
ทรงเป็นผู้กำกับการก่อสร้างพระพุทธไสยาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นกรมหมื่นภูมินทรภักดี
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 บูรพาษาฒ ปีจอ ตรงกับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2417)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 15 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเอมน้อย ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2358
กรมช่างสิบหมู่
กรมช่างสิบหมู่ เป็นกรมช่างหลวงกรมใหญ่กรมหนึ่งมาแต่สมัยโบราณ ลักษณะและความสำคัญของช่าง สิบหมู่และกรมช่างสิบหมู่นี้พึงทราบได้จากพระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลง พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๐ ทรงมีพระราชดำรัสเรื่อง "กรมช่างสิบหมู่" ขึ้นไว้ให้ทราบดังนี้
"ส่วนซึ่งแบ่งปันฝ่ายทหารแต่ทำการฝ่ายพลเรือนนั้น คือ กรมช่างสิบหมู่ ซึ่งแบ่งไว้ในฝ่ายทหารนั้น ก็คงจะ เป็นด้วยช่างเกิดขึ้นในหมู่ทหารเหมือนทหารอินเยอเนีย แต่ภายหลังมาเมื่อทำการต่างมากขึ้นจนถึงเป็นการละเอียด เช่น เขียน ปั้น แกะสลัก ก็เลยติดอยู่ในฝ่ายทหารแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องอันใดในราชการทหาร ไม่ได้ขึ้นกรมพระกลาโหม มีแต่กองต่างหาก แม่กองนั้นมักจะเป็นเจ้านายโดยมาก เมื่อเกิดช่างอื่นๆ ขึ้นอีกก็คงอยู่ในกรมเดิม ฝ่ายพลเรือนบ้าง ทหารบ้าง ไม่เฉพาะว่ากรมช่างจะต้องเป็นทหาร"
อนึ่ง การช่างต่างๆ ในกรมช่างสิบหมู่นี้มีช่างทำการร่วมอยู่ด้วยกันหลายประเภทนับเป็นกรมช่างใหญ่ และเป็นส่วนราชการแต่โบราณที่ได้จัดการรวบรวมคนที่เป็นช่างประเภทต่างๆ มาประจำทำราชการทางการช่าง สนองราชกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นช่างที่ชำนาญการเฉพาะประเภทมีอยู่จำนวนมากกว่าในกรมอื่นๆ
"ช่างหลวง" คือผู้ที่มีฝีมือและความสามารถทำการช่างต่างเป็นราชการของในหลวงแต่สมัยโบราณ ยังมีอยู่ อีกหลายหมู่ หลายพวกซึ่งจะได้นำมาอธิบายเป็นพวกๆ ต่อไปนี้
เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีแห่งสยามราชอาณาจักรนั้น มีรายการแสดง "ช่างหลวง" ประเภทต่างๆ ปรากฏอยู่ในทำเนียบตำแหน่งนาพลเรือนแต่สมัยนั้น โดยสรุปคือ
กองช่างเลื่อย เป็นช่างทำการเลื่อยไม้ต่างๆ ทำเสา ทำกระดาน เป็นต้น
กองช่างก่อ เป็นช่างทำการก่ออิฐ ก่อศิลาแลง ถือปูนหรือฉาบปูน ก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ
กรมช่างดอกไม้เพลิง เป็นช่างทำดอกไม้เพลิงต่างๆ สำหรับใช้ในราชการของหลวง
กรมช่างเงิน เป็นช่างทำเงินตรา คือเงินที่รัฐกำหนดขึ้นไว้เป็นวัตถุที่มีตราของทางราชการใช้ชำระหนี้ได้ ตามกฎหมายหรือใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน
กรมช่างปืน เป็นช่างทำอาวุธสำหรับราชการในกองทัพ
กรมช่างสนะ คำว่า "สนะ" แปลว่า "เย็บ ปัก หรือชุน" ช่างสนะเป็นช่างตัดเสื้อผ้า หรือช่างตัดเย็บฉลอง พระองค์สำหรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"ช่างเชลย" เป็นคนเชลยที่ทางราชการกวาดต้อนมาได้จากการทำสงครามชนะ เชลยคนใดที่มีฝีมือ และ ความสามารถเป็นช่างอย่างใดอย่างหนึ่ง จะได้รับการคัดเลือกแยกออกมาจากหมู่เชลย นำมาเข้าประจำทำราชการ ทางการช่างตามความรู้ความสามารถและฝีมือที่คนผู้นั้นถนัด ช่างเชลยนี้ ทางราชการมักจัดให้อยู่เป็นหมู่เป็นพวก ตามย่านที่กำหนดให้อยู่อาศัย ไม่ควบคุมเข้มงวดดังเชลยทั่วไป เหตุด้วยมีคุณสมบัติเป็นช่าง ซึ่งทางราชการต้องการ ใช้งาน ช่างเชลยต้องทำงานให้แก่หลวง แต่ทางราชการก็ให้โอกาสประกอบอาชีพด้วยการรับจ้างทำการช่างเลี้ยง ตัวได้ด้วย
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกและไม่เป็นที่ผู้คนจะอาศัยอยู่เป็นปกติได้ ภายหลัง พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงลงมา สถาปนาเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี สร้างพระราชวังขึ้นเป็นที่ประทับบริหารราชการปกครองบ้านเมืองสืบมาสมัย หนึ่งนานเกิน ๑๐ ปี ในช่วงเวลานี้ ทางราชการจัดให้มีกรมช่างต่างๆ ตามขนบนิยม กล่าวเฉพาะช่างหลวงที่นอกไป จากกรมช่างต่างๆ เช่น กรมช่างมหาดเล็ก กรมช่างทหารใน และกรมช่างสิบหมู่ แล้วยังมีช่างอื่นๆ ที่ควรอ้างขึ้นไว้ให้ทราบในที่นี้ ดังนี้
ช่างดอกไม้เพลิง ช่างจำพวกนี้ปรากฏเป็นเนื้อความอยู่ในหมายรับสั่งเรื่อง พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระ บรมศพสมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย์ พระราชชนนี ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อจุลศักราช ๑๑๓๘ ความว่า
"แลดอกไม้เพลิง ระทาใหญ่ ๑๖ ระทา นอกระทา ๕ สิ่งนั้น ดินมาศ ของหลวง ช่างทำดอกไม้ทำดอกไม้น้อย คิดเอาเงินของหลวง ช่างไทย ๖ ชั่ง ช่างจีน ๒ ชั่ง ๖ ตำลึง ๓ บาท รวม ๘ ชั่ง ๖ ตำลึง ๓ บาท"
อนึ่ง ช่างดอกไม้เพลิงนี้ ยังมีความในหมายรับสั่งเรื่องงานพระศพกรมขุนอนิทรพิทักษ์ ระบุให้ทราบเรื่องช่าง จำพวกนี้เพิ่มเติมขึ้นอีกพอสมควร ดังความต่อไปนี้
"เครื่องเล่น ๗ วัน ๗ คืนเป็นเงิน กลางวัน ๙ ชั่ง ๒ ตำลึง ๒ บาท กลางคืน ๒ ชั่ง ๒ ตำลึง รวม ๑๑ ชั่ง ๔ ตำลึง ๒ บาท
ให้ช่างดอกไม้เพลิง นาย ๔ คน คนละ ๓ ตำลึง เงิน ๑๒ บาท ช่างดี ๑๓ คน คนละ ๑ ตำลึง เงิน ๑๓ ตำลึง ช่างกลาง ๑๑ คน คนละ ๓ บาท เงิน ๘ ตำลึง ๑ บาท ช่างเลว ๒๗ คน คนละ ๒ บาท เงิน ๑๓ ตำลึง ๒ บาท ๕๕ คน เงิน ๓ ชั่ง ๖ ตำลึง ๓ บาท"
ช่างทองพระคลังมหาสมบัติ ช่งจำพวกนี้คือช่างทองรูปพรรณ ได้ทำการประเภทเครื่องราชูปโภค ราชภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งของมีค่าทางวัตถุและคุณค่าทางรูปแบบซึ่งประกอบขึ้นด้วยฝีมืออันวิจิตร ประณีต
ช่างกลึง เป็นช่างอีกจำพวกหนึ่ง จัดเป็นช่างรวมอยู่ในกรมช่างสิบหมู่
ช่างสลักกระดาษ ช่างจำพวกนี้จัดเป็นช่างประเภทหนึ่งในกรมช่างสิบหมู่ ทำการช่างด้านสลัก ปรุกระดาษ ชนิดต่างๆ ทำเป็นลวดลายหรือรูปภาพสำหรับประดับ ปิด บุ เพื่อการตกแต่งสิ่งต่างๆ
ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับมาจนกระทั่งถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "ช่างหลวง" เกิดมีเพิ่มขึ้นตามความต้องการของทางราชการ บรรดา ช่างหลวงซึ่งทางราชการระบุขึ้นไว้ในพระราชบัญญัติเรื่องการไถ่ตัวไพร่หลวงเป็นทาส เป็นหลักฐานส่วนหนึ่งให้ ทราบว่า ช่างหลวง เมื่อรัชกาลที่ ๔ นั้น มีช่างต่างๆ ลำดับดังต่อไปนี้
"หมู่ไพร่หลวงซึ่งเป็นช่างคฤหัสช่างทหารใน ช่างเขียน ช่างปั้น ช่างรัก ช่างปูน ช่างแกะ ช่างกลึง ช่างหุ่น ช่างหุงกระจก ช่างบุ ช่างหล่อ ช่างแผ่ดีบุก ช่างเหล็ก ช่างเรือ ช่างดอกไม้เพลิง ช่างสลักหนัง ช่างชาดสีสุก ช่างฉลองพระบาท ช่างเลื่อยงา ช่างฟอก ช่างทำยอนพระกรรณ์ ช่างบาตร ช่างประดับกระจก ช่างปิดกระจก ช่างดัดต้นไม้ ช่างเหลารางปืน ช่างเงิน ช่างทอง ช่างมุก ช่างย้อมผ้าสีขี้ผึ้ง ช่งต่อฝาบาตร ช่างเขียนน้ำกาว ช่างสาน ช่างคร่ำ ช่างทอสายคัมภีร์ ช่างทำฝักพระแสง ช่างสานพระมาลา ช่างทำกรรไกร ช่างชำระพระแสง ช่างฟันช่อฟ้าหางหงส์"
ช่างหลวง หลายหมู่หลายพวกเป็นข้าราชการประจำอยู่ตามหมู่กองต่างๆ สำหรับการช่างสนองความต้องการ ที่เป็นราชกิจของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในราชการของหลวงที่เป็นมาโดยลำดับแต่โบราณโดยระเบียบอันเป็น โบราณประเพณีของราชสำนัก มาจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ไขการปก ครองแผ่นดินใหม่ ครั้งนั้นโปรดให้จัดระเบียบ "ช่างหลวง" ที่แยกกันอยู่คนละหมวดละกองหรือต่างกรมกันเป็นต้นว่า "ช่างประดับกระจกขึ้นกรมวัง" หรือ "ช่างสนะขึ้นกับกรมภูษามาลา" มาแต่โบราณนั้นเสียใหม่ ให้เป็นไปตามพระ ราชดำริที่ทรงพระราชดำรัสแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินในสมัยนั้นให้ทราบดังนี้
"อนึ่ง กรมต่างๆ แยกกันอยู่ไม่มีใครบังคับบัญชาใครเป็นลำดับ แลไม่มีการสโมสรพร้อมเพียงกัน เมื่อมีราชการอันใดขึ้นก็ซัดทอดกันโยเยไป กว่าจะเดินได้ตลอดทุกกรม บรรดาที่เกี่ยวข้องเป็นการเนิ่นนานช้าเสีย เวลา เมื่อจะพรรณนาถึงโทษที่เป็นอยู่เช่นนี้ก็ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ จึงต้องขอรวมความลงว่าในการซึ่งจะให้ราชการทั้ง ปวงเรียบร้อยเป็นแบบอย่างคล่อง สะดวกได้ตามสมควรที่จะปกครองบ้านเมืองในเวลานี้ จำจะต้องแบ่งราชการให้มี ผู้เป็นหน้าที่รับผิดชอบเป็นส่วนไปพอแก่กำลังที่จะรักษาการได้นั้นอย่างหนึ่งจะต้องเลิกการที่กรมทั้งปวงแสวงหาผล ประโยชน์ได้โดยลำพังตัว ไปมีกำหนดเงินกำหนดการให้ กลับเป็นเงินจ่ายให้ตามสมควรแก่การที่ได้ทำนั้นอย่าง หนึ่ง การจึงจะเป็นไปสะดวกได้ตลอด"
ภายหลังการแก้ไขการปกครองแผ่นดินใหม่นี้แล้ว บรรดาช่างหลวงนานาประเภทได้ถูกจัดเข้าสังกัดและขึ้น กับ "กรมวัง" เป็นต้นมา
https://thamasenapakdee.blogspot.com/2011/09/41.html
https://th.wikipedia.org/…/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B…
โทร: 0614901584
ราคา: 0 บาท
โทร: 0953395801
ราคา: 0 บาท
หมวดพระ: หลวงพ่อ-หลวงพ่อเงิน